posttoday

"บุระคุมิน" ชนชั้นที่ถูกเหยียดในสังคมญี่ปุ่น

09 พฤษภาคม 2564

การเหยียดเชื้อชาติและชนชั้นในญี่ปุ่นมีรูปแบบที่ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ แต่โดยเนื้อหามันก็ยังเป็นการแสดงอคติต่อชนชั้นและเชื้อชาติเหมือนที่อื่นๆ อยู่ดี

น้อยคนจะทราบว่า ญี่ปุ่นมีปัญหาเหยียดเชื้อชาติในประเทศเหมือนกัน มีการแบ่งชนชั้นที่เป็นซากเดนจากยุคศักดินา ชนชั้นที่ถูกเหยียดหยามเรียกว่า "บุระคุมิน" หรือ "เอะตะ/ฮินิง" เดิมเป็นกลุ่มคนทำอาชีพที่สังคมรังเกียจ เช่น สัปเหร่อ คนเชือดสัตว์ พ่อค้าเนื้อ (สังคมโบราณของญี่ปุ่นรังเกียจการกินเนื้อสัตว์ใหญ่) เป็นต้น คนอาชีพนี้มักอยู่รวมกันเป็นชุมชนเดียวกัน ซึ่งทำให้ง่ายที่จะถูกกีดกันและโจมตีด้วย

คำว่า "บุระคุมิน" (Burakumin) แปลว่าคน (มิน) หมู่บ้าน (บุระคุ) หมู่บ้านนี้หมายถึงชุมชนของคนที่ทำงานสกปรกและถือว่ามีมลทินต่อสังคมโดยรวม สอดคล้องกับคำว่า "ฮินิง" ที่แปลว่า "คนไม่ดี"

สังคมญี่ปุ่นศักดินากดขี่บุระคุมินอย่างมาก ถึงขนาดบอกว่า พวกนี้มีความเป็นคนแค่ 1 ใน 7 และยังห้ามเปลี่ยนชนชั้น ต่างจากคนกลุ่มอื่นที่สามารถเปลี่ยนได้หากมีเหตุปัจจัย เช่น ชาวนากลายเป็นพ่อค้า ต่อมาในสมัยปฏิรูปและหลังสงคราม มีการยกระดับบุระคุมินให้มีสิทธิในฐานะประชาชนทั่วไป หลังจากการปฏิรุปการปกครองสมัยเมจิล้ว "ฮินิง" ไม่มีอีกต่อไป มีแต่ "เฮมิน" หรือสามัญชนคนเท่ากันหมด

แต่ในทางปฏิบัติการกีดกันยังคงมีอยู่ เพราะระบบทะเบียนบ้านของญี่ปุ่นระบุถิ่นฐานบรรพชนทำให้ง่ายต่อการชี้ตัวว่าใครเป็นใครมาจากกลุ่มบุระคุมิน ปัจจุบันนี้บริษัทหลายแห่งก็ยังไม่อยากจะรับบุระคุมินเข้าทำงาน ส่วนบริษัทใหญ่ๆ เลิกกีดกันแล้ว นอกจากนี้ ยังยากที่บุระคุมินจะแต่งงานนอกกลุ่มของตน

วิธีการเหยียดที่นิยมใช้กันตามบริษัทคือ แอบตรวจวงศ์สกุลว่ามาจากคนกลุ่มนี้หรือไม่ บางครอบครัวยังสอบประวัติเบื้องหลังว่าที่ลูกเขยลูสะใภ้เหมือนกัน บางรายต้องเปลี่ยนนามสกุล เพราะมันฟ้องว่ามาจาก "คนที่สังคมไม่พึงปรารถนา"

มีกรณีอื้อฉาวหลายครั้งเกี่ยวกับบริษัทใหญ่ที่กีดกันบุระคุมิน เช่น ในปี 1975 มีการเปิดเผยโดยกลุ่มสิทธิชาวบุระคุมินว่าบริษัทหลายแห่งเก็บรายชื่อและที่อยู่ชุมชนของชาวบุระคุมินเอาไว้ ทำเป็นหนังสือที่ชื่อ "รายชื่อพื้นที่บุระคุแบบครอบคลุม" มีบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นมากกว่า 200 แห่งรวมถึง โตโยต้า, นิสสัน, ฮอนด้า และไดฮัทสุ พร้อมด้วยบุคคลหลายพันคนที่ซื้อสำเนาหนังสือเล่มนี้

ข้อมูลจาก Japan Focus ระบุว่า กรณีของการเลือกปฏิบัติส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภาคตะวันตกของญี่ปุ่น (คันไซ) โดยเฉพาะในภูมิภาคโอซาก้า, เกียวโต, เฮียวโงะ และฮิโรชิม่าโดยเฉพาะคนรุ่นเก่าแถบนั้นมักมองว่าชาวบุระคุมินเป็นพวกว่างงานและทำงานผิดกฎหมาย

ด้วยเหตุที่ถูกกีดกันทางเศรษฐกิจ ทำให้บุระคุมินไม่มีทางเลือกอื่น หากไม่ทำงานที่คนรังเกียจ ก็ต้องเป็นพวกนอกกฎหมายไปเลย หลายคนจึงเลือกที่จะเป็นยากูซ่า เก็บค่าคุ้มครอง ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยโหด ทำธุรกิจมืด มีการศึกษาว่า สมาชิกถึง 70% ของแก๊งยะมะงุจิกุมิ ยากูซ่ากลุ่มใหญ่ที่สุด คือพวกบุระคุมิน ในขณะที่มิตซึฮิโร สุงะนุมะ อดีตสมาชิกหน่วยข่าวกรองความมั่นคงสาธารณะให้การว่า ชาวบุระคุมินมีสัดส่วนประมาณ 60% ของสมาชิกยากูซ่าทั้งหมด

หากไม่เป็นชาวแก๊งก็รวมตัวกันเป็นกลุ่มการเมืองเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีการชุมนุมเป็นระยะๆ และพวกเขายังเคลื่อนไหวในวงการเมืองด้วย แต่ถึงจะเข้าไปเล่นการเมืองแล้วยังวายถูกกีดกัน เช่นกรณีที่เกิดขึ้นกับ โนะนากะ ฮิโรมุ นักการเมืองของพรรครัฐบาลที่เกอบจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว

โนะนากะ ฮิโรมุ เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 1925  (พ.ศ. 2468) ในเมืองโซโนเบะจังหวัดเกียวโต (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนันทัง) ในครอบครัวบุระคุมิน หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมต้นโซโนเบะประจำจังหวัดเกียวโตในปี 1943 (หรือระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2) โนนากะทำงานให้กับการรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น (JNR) ในโอซาก้า

แต่ที่ JNR นี่เอง โนะนากะต้องเผชิญกับพบการเลือกปฏิบัติเพราะความเป็นในฐานะสมาชิกของกลุ่มบุระคุมินและต่อมากล่าวว่าการเลือกปฏิบัตินี้เป็นปัจจัยในที่ทำให้เขาตัดสินใจออกจาก JNR และเข้าสู่การเมือง

โนะนากะเจริญก้าวหน้าในวงการเมืองอย่างมากจนกระทั่งเป็นแกนนำสำคัญของพรรครัฐบาลคือพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ชะตาชีวิตของเรารุ่งเรืองมาในช่วงทศวรรษที่ 90 โดยในปี 1998 โนะนากะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใต้นายกรัฐมนตรีโอบุชิ ซึ่งเขามีอำนาจอย่างล้นเหลือ และถูกมองว่าผู้นำเงาของรัฐบาลจัดจนกระทั่งนิตยสาร TIME ฉบับเดือนธันวาคมปี 1998 เรียกเขาว่าเป็น "ชายผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของญี่ปุ่น"

ในปี 2001 โนะนากะถูกจับตาว่าเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งประธานพรรค LDP และตำแนห่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นแทนที่นายกรับมนตรีโมริ โยชิโร  โนะนากะไม่เต็มใจที่จะรับตำแหน่งเพราะมันจะทำให้คนสนใจภูมิหลังของเขาในฐานะบุราคุมินถูกขุดขึ้นมา แล้วสิ่งที่เขากังวลก็เกิดขึ้มาจริงๆ 

นระหว่างการประชุมของผู้นำพรรคซึ่งโนะนากะไม่ได้เข้าร่วม มีรายงานว่า อาโซ ทาโร หนึ่งในแกนนำพรรค (และนายกรัฐมนตรีในอนาคต) ได้โพล่งขึ้นมาว่า  "เราจะไม่ปล่อยให้ใครบางคนจากบุระคุมาเป็นนายกรัฐมนตรีใช่ไหม?"

ในภายหลังโนะนากะจึงประาสถอนตัวไป แต่เขาลั่นวาจาว่า"ไม่มีวันให้อภัย" อาโซ ซึ่งอาโซปฏิเสธว่าไม่ได้พูดเรื่องนี้

ตามกฎหมายจะไม่มีการใช้คำว่า "บุระคุมิน" เพราะถือเป็นการเหยียดเชื้อชาติ แต่จะใช้คำว่า "โดวะยูวะ" หรือการสมานฉันท์แห่งภราดรภาพ และเรียกปัญหาการเหยียดนี้ว่า "บุระคุมงได"  ที่แปลว่า "ปัญหาของคนบุระคุ" ซึ่งกรณีนี้คล้ายกับอินเดีย ที่เปลี่ยนไปเรียกวรรณะจัณฑาลว่า "ดาลิต"

อย่างไรก็ตาม แม้จะเปลี่ยนคำเรียกเพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ แต่การกดขี่ก็ยังมีอยู่เช่นเดิม

โดย กรกิจ ดิษฐาน

บทความนี้อัปเดตและเพิ่มเติมจากบทความที่เขียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2015 ในเฟซบุ๊ค Kornkit Disthan