posttoday

แพทย์สหรัฐสร้างเด็กหลอดแก้วรายแรกที่มี DNA ของคนสามคนในตัว

28 กันยายน 2559

เทคโนโลยีใหม่ทางการแพทย์ช่วยให้เด็กทารกมี DNA ของพ่อแม่ และผู้บริจาค เพื่อช่วยให้เด็กปราศจากยีนที่ก่อให้เกิดโรคทางพันธุกรรม

เทคโนโลยีใหม่ทางการแพทย์ช่วยให้เด็กทารกมี DNA ของพ่อแม่ และผู้บริจาค เพื่อช่วยให้เด็กปราศจากยีนที่ก่อให้เกิดโรคทางพันธุกรรม

หลังการเสียชีวิตของลูก 2 คน และการแท้งลูกไป 4 ครั้ง ในที่สุดคู่สามีภรรยาชาวจอร์แดนคู่หนึ่งก็สามารถมีลูกได้สมดังใจ และที่สำคัญเด็กที่เกิดมามี DNA จากคน 3 คนรวมอยู่ในตัว ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์แบบใหม่โดยคุณหมอจากสหรัฐอเมริกา

ขณะนี้เด็กชายตัวน้อยอายุได้ 6 เดือนแล้ว ทามทีมแพทย์หวังว่าวิธีการนี้จะมีส่วนช่วยเหลือบรรดาคู่สามีภรรยาที่พบว่าพวกเขามีโรคที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม เช่นเดียวกับคู่สามีภรรยาชาวจอร์แดนนี้ ที่ฝ่ายภรรยามียีนซึ่งจะนำไปสู่อาการป่วยที่เรียกกันว่า Leigh Syndrome โรคหายากที่จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท, ไต และทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่เด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้มักมีชีวิตไม่เกิน 6 - 7 ขวบ ดังเล่นที่ลูกคนก่อนหน้าของเธอเสียชีวิตเมื่อายุได้ 6 และ 8 เดือน

แพทย์สหรัฐสร้างเด็กหลอดแก้วรายแรกที่มี DNA ของคนสามคนในตัว นายแพทย์จอห์น จาง

หัวหน้าแพทย์ผู้ดำเนินการช่วยเหลือคู่สามีภรรยารายนี้คือ ด็อกเตอร์ จอห์น จาง แพทย์จากนครนิวยอร์ก แต่เนื่องจากที่สหรัฐยังไม่มีกฏหมายรองรับสำหรับกระบวนการดังกล่าว เขาจึงต้องเดินทางไปทำกระบวนการนี้ที่เม็กซิโกแทน (สหราชอาณาจักรเพิ่งจะออกกฏหมายรับรองเทคโนโลยีใหม่นี้)

แพทย์สหรัฐสร้างเด็กหลอดแก้วรายแรกที่มี DNA ของคนสามคนในตัว

สำหรับวิธีการดังกล่าว แพทย์ได้ผ่าตัดเอานิวเคลียสออกจากไข่ของแม่ และนำไปใส่แทนที่นิวเคลียสไข่ของผู้บริจาค ซึ่งจะช่วยให้เด็กที่เกิดขึ้นมานั้นปลอดจากโรคทางพันธุกรรมที่แม่มีในยีน จากนั้นก็นำไข่ไปผสมกับสเปิร์มของผู้เป็นพ่อ เท่ากับว่าเด็กคนนี้มี DNA ของพ่อและแม่ และบาง่สวนของผู้ให้บริจาคอีกนิดหน่อย ซึ่งคุณหมอจางได้เพาะตัวอ่อนขึ้นในห้องทดลองจำนวน 5 ตัวอ่อนด้วยกัน แต่เจริญเติบโตเพียงตัวอ่อนเดียว

คุณหมอจางกล่าวกับสำนักข่าว CBS ว่า สิ่งนี้เป็นการปฏิวัติทางการแพทย์อย่างแท้จริง เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างเด็กหลอดแก้วด้วยสเปิร์มจากคน 1 คน และไข่อีก 2 ใบ จากคน 2 คน

ปัจจุบันเด็กน้อยมีสุขภาพแข็งแรงดี และไม่มีวี่แววว่าจะแสดงอาการของโรคแต่อย่างใด ซึ่งคุณหมอจางกล่าวว่ามีโอกาสน้อยกว่า 1% ที่จะเกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ และเป็นโอกาสที่ต่ำเกินไปที่จะเกิดโรคได้

 

ขอบคุณภาพจาก BBC