posttoday

นิด้าโพลเผยประชาชนยอมไม่เล่นสาดน้ำสงกรานต์ผวาติดโควิด-19

17 มีนาคม 2564

นิด้าโพลเผยประชาชน43.73%หนุนรัฐบาลไม่ควรอนุญาตสาดน้ำสงกรานต์ทุกพื้นที่และร้อยละ82.28ยอมหยุดเล่นสาดน้ำสงกรานต์ป้องกันโควิด-19

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณทิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อยากเล่นน้ำ สงกรานต์…กลัวเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่” ทำการสำรวจเมื่อระหว่างวันที่ 15-16มี.ค.64 จำนวน 1,315ตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.73 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้เล่นสาดน้ำในทุกพื้นที่ รองลงมา ร้อยละ 20.45ระบุว่า ควรอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์เฉพาะพื้นที่ที่ไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในรอบ 2 ร้อยละ 17.87 ระบุว่าควรอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์ได้ทุกพื้นที่อย่าง New Normal เช่น สวมเฟซชิลด์แว่นตากันน้ำ ชุดกันฝน ร้อยละ 10.80ระบุว่า ควรอนุญาตให้เล่นน้ำ สงกรานต์ได้ทุกพื้นที่อย่างอิสระและร้อยละ 7.15ระบุว่าควรอนุญาตให้เล่นน้ำ สงกรานต์เฉพาะพื้นที่ที่ไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในรอบ 14 วันที่ผ่านมา

ด้านความกังวลของประชาชนต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ถ้ารัฐบาลอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์2564 พบว่า ร้อยละ 26.54 ระบุว่า กังวลมากเพราะการกลับภูมิลำเนา การรวมตัวของประชาชนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ละเลยในการเว้นระยะห่างทางสังคม ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อและสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19ยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ ร้อยละ 38.02 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล เพราะการเดินทางเข้ามาเล่นน้ำสงกรานต์จากหลายพื้นที่ทำให้ควบคุมไม่ทั่วถึงอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนมากับน้ำ ประชาชนบางกลุ่ม ยังละเลยในการป้องกันตนเอง ถึงแม้จะมีวัคซีนแต่ก็ยังไม่ปลอดภัย 100% และอาจทำให้เกิดการแพร่ระบำดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ในรอบ 3

ร้อยละ 18.78ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล เพราะประชาชนส่วนใหญ่มีการดูแลและป้องกันตนเองอย่างดี หลีกเลี่ยงไม่ไปเล่นน้ำสงกรานต์ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ภาครัฐมีมาตรการควบคุมป้องกันที่ดีและไม่ได้อาศัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19และร้อยละ 16.66ระบุว่าไม่กังวลเลยเพราะภาครัฐมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบำดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ดีมั่นใจในการทำ งานบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนส่วนใหญ่ไม่ออกมาเล่นน้ำสงกรานต์

สำหรับวิธีป้องกันตนเองหากรัฐบาลอนุญาตให้เล่นน้ำสงกรานต์2564 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.28 ระบุว่า สวมหน้ากำกอนามัย/หน้ากากผ้า รองลงมา ร้อยละ 35.36 ระบุว่า รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร ร้อยละ 31.94ระบุว่า หลีกเลี่ยงการสัมผัสตัว ร้อยละ 26.16ระบุว่า สวมเฟซชิลด์ร้อยละ 23.12ระบุว่า ห้ามดื่มสุราและของมึนเมา ร้อยละ 19.16ระบุว่าห้ามประแป้ง ร้อยละ 13.69 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการให้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก ร้อยละ 10.80ระบุว่าห้ามสาดน้ำ ร้อยละ 10.65ระบุว่า สวมชุดกันฝน ร้อยละ 10.27ระบุว่าสวมแว่นตากันน้ำ และร้อยละ 0.15ระบุว่าวัดอุณหภูมิก่อนเข้าสถานที่เล่นน้ำ

ส่วนเรื่องที่ประชาชนกังวลมากที่สุดในช่วงเทศกาสงกรานต์ 2564 พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.95 ระบุว่าอุบัติเหตุทางถนน รองลงมาร้อยละ 38.17 ระบุว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ที่มากขึ้น ร้อยละ 15.29 ระบุว่า การท่องเที่ยวที่ไม่คึกคัก เศรษฐกิจซบเซา และร้อยละ 2.59 ระบุว่า เกิดอาชญากรรม

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการให้ความสำคัญระหว่างการเล่นน้ำสงกรานต์2564 กับการป้องกันการแพร่ระบำดเชื้อไวรัสโควิด–19 ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.28 ระบุว่า ยอมหยุดเล่นน้ำสงกรานต์2564 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ขณะที่ ร้อยละ 15.29ระบุว่า ยอมเสี่ยงกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 เพื่อให้ได้ล่นน้ำสงกรานต์2564และร้อยละ 2.43 ระบุว่าไม่แน่ใจว่าควรเลือกอะไรก่อนดี