posttoday

สภาฯเริ่มถกงบ2ล้านล้านบาทแล้ว

19 กันยายน 2556

สภาฯเริ่มถกเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ฝ่ายค้าน ห่วงขัดรัฐธรรมณูญปิดช่องตรวจสอบ

สภาฯเริ่มถกเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ฝ่ายค้าน ห่วงขัดรัฐธรรมณูญปิดช่องตรวจสอบ

เมื่อเวลา10.00  น.ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดพิเศษ พิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. …. (พ.ร.บ.เงินกู้2 ล้านล้าน) วาระ 2 หลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจาณาเสร็จแล้ว โดยเริ่มพิจารณาเรียงตามมาตรา เริ่มต้นที่ ชื่อร่างพ.ร.บ.  

นายบุญยอด สุขถิ่นไทย สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ได้แปรญัตติแก้ไข ในชื่อร่างพ.ร.บ. เป็น "ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินสองล้านล้านบาท เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในทุกด้านไม่เกินร้อยละห้าสิบของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ" โดยตัดคำว่าคมนาคมขนส่งออกเพราะต้องการให้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในทุกด้าน
ส่วนประเด็นเรื่องไม่เกิน 50 % ของจีดีพีนั้น เพราะในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีหนี้ 4.2 ล้านล้านบาท พอมารัฐบาลยิ่งงลักษณ์ ชินวัตร หนี้ขยับเพิ่มเป็น 5.2 ล้านล้านบาท 

ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศอยู่ที่ประเทศ  12 ล้านล้านบาท ฉะนั้นเราจะมีหนี้ได้ไม่เกิน  6 ล้านล้าน แต่ตอนนี้เรามีหนี้  5.2  เกิน ดังนั้นจึงต้องป้องกันไม่ให้เกิน 50 % ไม่กระทรวงวินัยการเงินการคลัง 

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ สส.บัญชีรายชื่อ อภิปรายว่า ได้แปรญัตติชื่อ ร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกำหนด เงินให้จ่ายเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง การสาธารณสุข และการศึกษาของประเทศ โดยสาเหตุที่เพิ่มประเด็น สาธารณสุข และ การศึกษา นั้นเพราะที่รัฐบาลอ้างผลการศึกษาของเวิรลอีโคโนมิคฟอรัม ขีดความสามารถด้านคมนาคมอยู่ที่ 46 จาก 144 ประเทศในปี 2012 จึงทำให้ต้องเร่งพัฒนาด้านคมนาคม แต่ข้อมูลด้านการศึกษา และสาธารณสุขนั้นก็อยู่ในลำดับต่ำจึงเห็นว่าควรจะ ระบุให้ชัดเจนเพื่อนำงบส่วนนี้ไปใช้พัฒนาทั้งสองด้านนี้ด้วย

นอกจากนี้ ยังเห็นว่า  พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท นี้ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ซึ่งหากสภาผ่านกฎหมายนี้ ผมก็จะแปรญัตติยื่นศาลรรัฐธรรมนูญตีความ​ อีกทั้งโครงการตามพ.ร.บ.นี้ไม่มีรายละเอียดความชัดเจน ไม่ผ่านการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสังคม  ที่สำคัญการออกเป็นพ.ร.บ. ทำให้การตรวจสอบการใช้เงินเป็นไปอย่างยากลำบาก  ​และมีมีแนวโน้มทุจริตได้ง่าย 

นายองอาจ กล่าวว่า นายกฯ ชี้แจงกับตัวแทนสมาคมธนาคารไทยถึงการออก พ.ร.บ.ฉบับนี้แยกออกจากงบประมาณปกติเพราะ ต้องการความต่อเนื่อง แต่ปัญหาสำคัญคือเรื่องความโปร่งใส  ทั้งที่โครงการต่างๆ สามารถนำเข้าสู่งบประมาณปกติได้โดย ปีละ 2-3  แสนล้านบาท ซึ่งจะไม่กระทบกับกรอบเพดานหนี้สาธารณะ.