posttoday

6 เหตุผลที่ทุกคนต้องมีเงินสำรองฉุกเฉิน

12 สิงหาคม 2562

เงินสำรองฉุกเฉิน "6 เท่า" ของรายจ่ายประจำต่อเดือน ประโยคประจำของที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคล วลีบังคับแทบจะในทุกบทความ ไม่ว่าจะกำลังแนะนำให้เริ่มต้นลงทุน จัดการเงินเพื่อลดภาษี จัดการหนี้ วางแผนซื้อบ้าน ซื้อรถ วางแผนการศึกษาบุตร หรือแม้แต่วางแผนหลังเกษียณ

เงินสำรองฉุกเฉิน "6 เท่า" ของรายจ่ายประจำต่อเดือน ประโยคประจำของที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคล วลีบังคับแทบจะในทุกบทความ ไม่ว่าจะกำลังแนะนำให้เริ่มต้นลงทุน จัดการเงินเพื่อลดภาษี จัดการหนี้ วางแผนซื้อบ้าน ซื้อรถ วางแผนการศึกษาบุตร หรือแม้แต่วางแผนหลังเกษียณ

6 เหตุผลที่ทุกคนต้องมีเงินสำรองฉุกเฉิน

6 เหตุผลที่ทุกคนต้องมีเงินสำรองฉุกเฉิน

1.สภาวะขาดรายได้ชั่วคราว เพราะอยู่ดีๆ คุณก็ตกงานและไม่สามารถหาใหม่ได้ง่ายๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือน หรือการหยุดพักผ่อนไปเที่ยวกับครอบครัว หรือการเติมพลัง ความรู้ ประสบการณ์สำหรับฟรีแลนซ์ หรือผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ในระยะเวลาสั้นๆ สภาวะรายได้ขาดหายแบบนี้ ถ้าเกิดขึ้นภายในไม่เกิน 6 เดือน ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่เงินสำรองฉุกเฉิน น่าจะเพียงพอใช้แก้ปัญหาได้ชนิดเบ็ดเสร็จ

2.สภาวะขาดรายได้ระยะยาว คุณประสบอุบัติเหตุจนไม่สามารถทำงานได้เป็นเวลานาน เกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี หรือไม่ใช่สภาวะที่จะเกิดถาวร เหตุการณ์เช่นนี้การมีเงินสำรองฉุกเฉินตามตัวเลขที่เปิดหัวบทความไว้ที่ 6 เดือน ดูแล้วอาจไม่เพียงพอ แต่อย่างน้อยเงินสำรองก้อนนี้ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาทางการเงินระยะสั้นได้ ช่วยให้การใช้สินเชื่อเพื่อแก้ปัญหาฉุกเฉินไม่สร้างภาระหนี้สินที่มากเกินไป

3.ความฉุกเฉินด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ความเจ็บป่วยต้องการการรักษาตัวแบบที่ต้องใช้เงินก้อน หรือแบบที่ต้องเพิ่มรายจ่ายประจำประเภทยา วิตามิน หรืออุปกรณ์ช่วยเหลือทางการแพทย์ ถือว่ามีความจำเป็นสูงและคาดเดามูลค่าความจำเป็นได้ยาก เงินสำรองอาจพอ หรืออาจไม่พอได้เสมอ ซึ่งหัวข้อนี้ตัวช่วยด้านความฉุกเฉินยังมีประกันสุขภาพที่ใช้ร่วมได้อีกแรงหนึ่ง

4.ความฉุกเฉินด้านซ่อมบำรุงที่รอไม่ได้ คุณทำงานเป็นหัวหน้าทีมขาย หรือเป็นเจ้าของ Food Truck ขายอาหาร ตื่นเช้ามาสตาร์ทรถแล้วต้องตามช่างมาพาไปซ่อมที่อู่ แบบนี้เรียกว่าฉุกเฉินที่มีความเร่งด่วน และมีผลต่อรายได้ มูลค่าอาจสูงจนเกินกว่าเงินสำรองที่มีได้ ในทางปฏิบัติเพื่อรองรับกับเหตุการณ์ต่างๆ เราสามารถแยกสำรองเงินซ่อมบำรุงไว้ต่างหากจากเงินสำรองฉุกเฉินทั่วไปได้อีก

5.ความฉุกเฉินด้านซ่อมบำรุงที่รอได้ หลอดไฟหมดอายุ มุ้งลวดขาด ก๊อกน้ำเสีย โรงรถหลังคารั่ว ไปจนถึงน้ำท่วมบ้านจนพื้นชั้นล่างเสียหาย ไฟเลี้ยวรถแตก และอีกจิปาถะ ที่ความเร่งด่วนต่ำกว่าในข้อ 4 แต่ถ้าปล่อยระยะเวลาให้ผ่านไปความเสียหายที่เกิดอาจลุกลาม ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายเรื่องนี้ประวิงเวลาได้ แต่การไม่จ่ายอาจทำให้คุณภาพชีวิตด้อยลง หรือทำให้สร้างปัญหาด้านอื่นที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายตามมาอยู่ดี

6.ความฉุกเฉินของคนที่รัก เกิดภาวะฉุกเฉินตั้งแต่ข้อ 1-5 ข้างต้น แต่ไม่ได้เกิดกับตัวเราหรือครอบครัวเรา แต่คนที่รัก ญาติพี่น้อง มีความลำบากมาขอความช่วยเหลือ เช่นนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริงชนิดที่ความฉุกเฉินในข้อนี้สร้างปัญหาให้กับชีวิตบางคนมากกว่าความฉุกเฉินของตัวเองด้วยซ้ำ

6 เหตุผลที่ทุกคนต้องมีเงินสำรองฉุกเฉิน


หลักสำรองเงินฉุกเฉินสูง-ต่ำ

คนทั่วไปจะสำรองที่อัตราสัก "6 เท่า" ก็คงไม่แปลกอะไร แต่ถ้าเราไม่ใช่คนทั่วไปหรือเข้าข่าย 1 ใน 4 กลุ่มต่อไปนี้ อาจต้องเตรียมเงินสำรองสูงถึง "12 เท่า"

1.คนที่มีความมั่นคงด้านรายได้ต่ำ เงินสำรองต้องสูง โดยทั่วไปมนุษย์เงินเดือนรายได้เข้าสม่ำเสมอ ย่อมสำรองเงินน้อยกว่าฟรีแลนซ์ หรือผู้ประกอบกิจการส่วนตัวได้

2.ครอบครัวที่มีผู้หารายได้คนเดียว เงินสำรองต้องสูง ทั้งนี้ อาจรวมไปถึงการมีรายได้จากแหล่งเงินได้เดียวด้วย เพราะความเสี่ยงที่ตัวผู้หาเงินได้คนเดียว และความเสี่ยงที่แหล่งเงินได้ที่ใช้เป็นที่พึ่งหลักนั้นจะไม่มั่นคงหรือหายไปนั้นก็ใช่ว่าจะเกิดไม่ได้

3.คนที่มีแผนการเงินสำคัญหลายแผน เงินสำรองต้องสูง คุณเพิ่งเริ่มผ่อนบ้าน และเตรียมเกษียณเพราะอายุใกล้ 40 แถมกำลังเริ่มสร้างครอบครัวเก็บเงินให้ลูกเรียนหนังสือ ถ้ามีแผนการเงินสำคัญรอบตัวมากมาย การมีเงินสำรองให้มากพอ จะช่วยให้เป้าหมายการเงินสำคัญที่กล่าวมาได้รับผล
กระทบน้อยที่สุดเมื่อเกิดเหตุ

4.คนที่มีความเสี่ยงสูง เงินสำรองต้องสูง คนป่วยหรือมีครอบครัวป่วย หรือสูงอายุ มีคนที่เข้าข่ายภาระพึ่งพิงจำนวนมากอยู่รอบตัว ไม่ต้องรอให้เกิดเหตุเพราะมีแนวโน้มที่เหตุต่างๆ จะวิ่งเข้าหาตัวได้บ่อยอยู่แล้ว ดังนั้นการสำรองเงินฉุกเฉินจึงต้องมากกว่าคนปกติ

 

 

ภาพ freepik