posttoday

ดร.สมชาย ชี้ ทักษิณ กลับไทย สะท้อนความขัดแย้งแบ่งขั้วลดลง

22 สิงหาคม 2566

นักวิชาการ มองการเปิดโอกาสให้ “ทักษิณ” กลับไทย สะท้อนความขัดแย้งการเมือง 2 ขั้วลดลง หนุนบรรยากาศการเมือง ดันเศรษฐา ผ่านโหวตนั่งนายกฯ ทำนายรัฐบาลต้องเผชิญด่านหิน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ-ความขัดแย้งรอบใหม่ จากคนรุ่นใหม่ที่ไม่ยอมรับขั่วอำนวจเก่า-ปัญหารัฐบาลไร้เสถียรภาพ

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง กล่าวว่า การเดินทางกลับมาไทยของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สะท้อนได้ว่า ความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วการเมืองเก่าลดลง ไม่เช่นนั้นคงไม่เปิดโอกาสให้นายทักษิณ กลับมาได้ในวันนี้ เหตุผลน่าจะเป็นเรื่องของกาลเวลาที่ผ่านมายาวนาวเป็นตัวช่วย และสถานการณ์ของประเทศที่รอการแก้ไขปัญหาทำให้ต้องร่วมมือกัน อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่า ปัญหาความขัดแย้งของการเมืองของไทยยังคงมีอยู่ ไม่ได้หายไปจากสังคมไทย แต่จะมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นตามมมาจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ไม่รู้จักนายทักษิณ และไม่ยอมรับการจับมือของขั้วอำนาจเก่า รวมถึงปัญหาจากการบริหารงานของรัฐบาลผสม

 “ความขัดแย่งอันเก่าชะลอตัวลง จึงเปิดโอกาสให้คุณทักษิณกลับมาได้ แต่จะความขัดแย่งอันใหม่จะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ที่รัฐบาลต้องบริหารดี เป็นการความขัดแย้งของประชาชนหลาย กลุ่มโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ไม่ยอมรับรัฐบาลเก่า และต้องการเรียกร้องการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่ 2 กลุ่มเหมือนที่ผ่านมาแล้ว” รศ.ดร.สมชาย กล่าว 
 

 

รศ.ดร.สมชายกล่าวต่อว่า ความไม่เห็นด้วยของคนรุ่นใหม่ จะใช้กระแสโซเชียลมีเดีย ทำให้การขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้น เหมือนเช่นเดียวกับสหรัฐฯ ดังนั้น ความสำคัญภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ รัฐบาลจะต้องบริหารให้เกิดดุลภาพของกลุ่มต่างๆได้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ขยายพันธุ์ให้กลายเป็นความรุนแรง ซึ่งมองว่า ไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นโทจย์ใหม่ของรัฐบาลใหม่ 

 

อย่างไรก็ตาม จากบรรยากาศทางการเมืองดังกล่าว เอื่อต่อการเลือกนายกฯ ในรอบนี้ผ่านไปได้ เพราะสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว.ได้สิ่งที่ต้องการแล้ว คือ พรรคเพื่อไทยไม่มีการแก้ไขมาตรา 112 และสว.เองก็รู้ถึงสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ คงไม่ปล่อยให้การจัดตั้งรัฐบาลยืดเยื้อต่อไป ทางด้านพรรค 2 ลุง ก็ช่วยให้ สว.ในสาย ให้การโหวตนายกฯรอบนี้ผ่านได้ตามเสียงที่สภาฯกำหนด แต่สิ่งที่สำคัญ แม้จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ปัญหาใหม่ยังมีโจทย์หินทางเศรษฐกิจรอให้แก้ไขอยู่ นั่นคือ จะบริหารเศรษฐกิจอย่างไรให้มีดุลยภาพ คือ กระตุ้นให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดี ควบคู่กับการพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขัน โดยไม่กระทบเสถียรภาพการคลัง คู่ขนานไปกับ การลดภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง  รวมทั้งรัฐบาลที่มาจาก 11 พรรคร่วม จะทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพในการบริหารงาน ซึ่งถือเป็นโจทย์ที่ไม่ง่าย 

 


ส่วน นาย เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ที่สภาฯมีมติเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั้น ไม่สามารถบอกได้ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวนายเศรษฐาว่า จะสามารถพิสูจน์ฝีมือในการบริหารเศรษฐกิจประเทศได้มากน้อยเพียงใด และนายเศรษฐาสามารถ จับมือกับ 11 พรรคเพื่อเดินหน้าบริหารประเทศได้แนบแน่นและยาวนานเพียงใด เพราะต้องยอมรับว่า รัฐบาลผสมจะไม่มีเสถียรภาพในการบริหารงาน ถือเป็นโจทย์รัฐบาลควบคุมยาก