posttoday

“ดาต้า-เอไอ”ยกระดับองค์กรสู่ระดับโลก

21 มิถุนายน 2566

สมาคมการตลาด ชี้นวัตกรรมและการตลาดดันธุรกิจโต ปรับตัวก่อนย่อมเป็นผู้ชนะ มั่นใจ ‘มาร์เทค-ดาต้า’ ปลดล็อกศักยภาพธุรกิจ “ฮั่วเซ่งเฮง” มั่นใจเทคโนโลยีหนุนธุรกิจ ‘พีทีจี’ ชูระบบคลาวด์ หนุนบริการลูกค้าตรงดีมานด์ “เซ็นทรัลรีเทล” ใช้ดาต้า เอไอ เสริมทัพองค์กรระดับโลก

“กรุงเทพธุรกิจ” และบริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน CxO Coffee Club Series: Digital Empowerment - Turning Challenges into Opportunities เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2566 เพื่อนำเสนอทิศทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาศักยภาพธุรกิจ

นายบุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย บรรยายในหัวข้อ Thriving in the Post-Pandemic Era: A New Business Journey through Digital Empowerment ว่า การตลาดมีความสำคัญในยุคปัจจุบัน โดยในมุมการตลาดนั้นหน้าที่หลัก คือ ทำให้ประเทศและธุรกิจเติบโต

ทั้งนี้ การเติบโตสมัยใหม่ต้องผสานพลังดิจิทัลจากความท้าทายของนักการตลาด โดยวิกฤติโควิด-19 จะไม่อยู่แค่ตอนเกิดโควิดแต่เกิดเป็นความท้าทายหลังโควิดคลี่คลาย ซึ่งต้องใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวามาวิเคราะห์ข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นกลยุทธ์ จากการวิเคราะห์แนวโน้วพฤติกรรมลูกค้าและคู่แข่ง เพื่อให้ทราบความต้องการของผู้บริโภค และเมื่อลูกค้าได้รับสินค้าแล้วเกิดความรู้สึกอย่างไร ดังนั้น ผู้ที่เรียนการตลาดต้องให้ความสำคัญกับ Analyze Strategize Execute Right (ASE)

สำหรับการทำตลาดรูปแบบใหม่ New Business Journey จะต้องมองเป็น 360 องศา โดยวิเคราะห์เพื่อกำหนดกลยุทธ์และนำลูกค้าหรือ Customer อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยเทคโนโลยีหลากหลาย อาทิ เอไอ, ไอโอที, ดาต้า อนาลิติกส์, Strategize, Analyze, เออาร์/วีอาร์และโรโบติกส์ เพื่อให้ไปอยู่ในโลกเสมือน

“ดาต้า-เอไอ”ยกระดับองค์กรสู่ระดับโลก

“โควิดทำให้เราเคลื่อนในเรื่องของแอคชั่น และทรานฟอร์มทำให้เกิดสิ่งที่เราไม่คาดว่าจะทำได้ เช่น เราจะเห็นการบริการออนไลน์รูปแบบใหม่จำนวนมาก แต่ก็ทำให้เรารู้สึกเปราะบางมากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าเศรษฐกิจจะดาวน์ขนาดไหน เพราะมีทั้งเรื่องของเงินเฟ้อ การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และการแบ่งขั้วทางการเมืองต่างประเทศ”

อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศจะล็อคดาวด์หรือเปิดประเทศจะเกิดประชากรใหม่หลังจากโควิด จะเห็นว่าในออนไลน์จะเกิดบอทขึ้นอีกที่มาอยู่ร่วมกับมนุษย์ เกิดประชากรใหม่ที่เป็นโรบอท ดังนั้น ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้เห็นว่าธุรกิจไหนจะเกิดและสร้างใหม่ เพราะเมื่อหมดโควิดผู้บริโภคต้องหาเรื่องใหม่โดยเฉพาะเทคโนโลยี ซึ่งจะเกิดการแข่งขัน เกิดการเลือกค่าย การแอคชั่นคือกุญแจที่ธุรกิจต้องเตรียมตัว

ดังนั้น การตลาดบนโลกเสมือน สำหรับ Marketing Major Trands 2023 แบ่งเป็น 1.Personalize Marketing 2.Marketing on Multiverse 3.Real Marketing 4.Dynamic brand ดังนั้น การตลาดที่อยู่ในโลกมายาอาจให้ไม่ได้ในคนที่มีดาต้าขนาดใหญ่ สิ่งที่ต้องเห็นในการตลาดยุคหน้าต้องจะทำอย่างไรให้แบรนด์เป็นไดนามิกแบรนด์ เสมือนหนุมสาว เพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง จะเห็นว่ากระเป๋าแบรนด์แพงบางแบรนด์ที่ต้องดีไซด์ให้ทันสมัย บางรุ่นใบเล็กก็อาจแพงกว่า ถือเป็น Marketing Major Trands ที่จะเห็น

ทั้งนี้ สิ่งที่อยากจะแนะนำ คือ ต้องเชื่่อก่อนว่าพลังงของลูกค้าเป็นพลังสำคัญ หากเชื่อแค่ว่าพลังมาจากแบรนด์ตนเอง ไม่มีทางชนะ ผ่าน 4 กลไกลสำคัญคือ 1.Customer Empowerment 2.Personalized Marketing 3.Data Analytic Machine Learning และ 4. Build Up Ecosystem

‘มาร์เทค-ดาต้า’ปลดล็อกศักยภาพ

นายจิตติพงศ์ เลิศประดิษฐ์ นายกสมาคม MarTech Associate เปิดมุมมองต่อประเด็น “How MarTech & Data unlock your business” ว่า เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำตลาดในโลกยุคใหม่ โดยการตลาดวันนี้มีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบ ฝ่ายไอทีต้องมาช่วยการตลาดมากขึ้น ขณะเดียวกันกลายเป็นวาระสำคัญสำหรับธุรกิจทุกกลุ่มที่ต้องการเติบโตในโลกยุคใหม่

รวมทั้งปัจจุบันมาร์เก็ตติ้งเทคโนโลยีและดาต้าเป็นตัวจักรสำคัญที่ช่วยปลดล็อกศักยภาพธุรกิจ โดยวันนี้นอกจากการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เก็บข้อมูลการติดต่อ ปิดการขายให้เร็วที่สุด และรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า นักการตลาดยังมีโจทย์ที่สำคัญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลอินไซต์ การบริหารจัดการข้อมูล การผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าให้ได้มากขึ้น

“ดาต้า-เอไอ”ยกระดับองค์กรสู่ระดับโลก

รวมถึงการสร้างเข้าไปมีส่วนร่วมต่อกลยุทธ์การสร้างความคล่องตัวให้กับธุรกิจ สร้างบิสิเนสโมเดลใหม่ๆ นิวเอสเคิร์ฟและที่สำคัญการสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ ควบคู่ไปกับการใช้งานข้อมูลอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

“เทคโนโลยีอย่างเอไอมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการยกระดับศักยภาพธุรกิจ เพิ่มโอกาสการแข่งขัน การเข้าถึงลูกค้า การวัดผลแบรนด์ วิเคราะห์ข้อมูล และการเก็บข้อมูล เป็นต้น”

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะก้าวไปทางใดจะมีสิ่งสำคัญและเป็นพื้นฐาน คือ การลงทุนไอทีอินฟราสตรักเจอร์ เพื่อรองรับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ การใช้งานเอไอ คลาวด์ อีกทางหนึ่งบุคลากรในทุกภาคส่วนควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องของเทคโนโลยี โดยสรุปการสร้างความสำเร็จ องค์กรต้องมีความสามารถในการเพิ่มความเร็ว มีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้เร็ว รู้จักใช้พลังของข้อมูล และมีธรรมาภิบาลข้อมูล

“พีทีจี”ชูคลาวด์หนุนธุรกิจ

นายรังสรรค์ พวงปราง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG กล่าวในหัวข้อ Digital Next 2025: Embracing Change and Challenges with Cloud Strategy ว่า ธุรกิจน้ำมันกำลังเปลี่ยนสู่พลังงานที่สะอาดขึ้น ซึ่งบริษัทจะไม่เน้นเป็นสถานีบริการน้ำมัน แต่มองว่าเป็นบริการ ดังนั้น ธุรกิจรีเทลต้องปรับตัว โดยผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เพื่อให้บริการสมาชิกเกือบ 20 ล้านราย ปัจุบันพีทีจีมีสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ 2,200 สถานี ซึ่งตัวธุรกิจเองมองว่าอะไรก็ตามที่จะวางในจุดที่ลูกค้าจะมาใช้บริการได้จึงนำฐานข้อมูลสมาชิกมาตอบสนองความต้องการลูกค้าโดยใช้เทคโนโลยีช่วย

“ดาต้า-เอไอ”ยกระดับองค์กรสู่ระดับโลก

“ก่อนส่งมอบอะไรต้องหาข้อมูลตามความต้องการลูกค้าเป็นหลัก ประสานชุมชนในจุดนั้น ซึ่งหากมองในอนาคตโดย 3 ปีต่อจากนี้ โอกาสที่เข้ามาต้องมองจากลูกค้า เรามองว่าเราสามารถดูแลลูกค้า รถที่เข้ามาในสถานีบริการคือ มาทานอาหาร เติมนำมัน มาชาร์จรถไฟฟ้า (อีวี)  หรือทำธุระหรือดิจิทัล จึงต้องเปลี่ยนไปตามสมัย ดังนั้น ข้อมูลของแต่ละช่วงสำคัญ”

ทั้งนี้ การที่สาขากระจายทั่วประเทศ แน่นอนว่าต้องเกิดความยุ่งยาก เพราะถ้าระบบเกิดล่มก็จบ ซึ่งพีทีจีได้ทำแอปพลิเคชันเพื่อสร้างความสะดวกให้กลุ่มพีทีจีเองและลูกค้า อาทิ การสะสมแต้ม หากระบบดาวน์อาจแก้ไขไม่ทันจะมีปัญหาแน่นอนโดยเฉพาะช่วงปีใหม่ หรือลองวีคเอ็นที่มีการใช้งานสูง ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีบนระบบคลาวด์จึงสำคัญ ซึ่งจะประมวลผลดาต้าโดยไม่ต้องลงทุน ซึ่งปัจจุบันคลาวด์แต่ละรายมีมาตฐาน

นอกจากนี้ กลุ่มพีทีจีเริ่มปรับระบบเซอร์วิสลูกค้าโดยใช้คลาวด์ 100% แล้ว ทั้งระบบบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า ระบบสะสมแต้มและชำระเงินภายใน รวมถึงระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นหลัก เครื่องมือที่อยู่บนควาวด์จะช่วยวิเคราะห์ได้เร็ว มีความเสถียร ซึ่งจากประสบการณ์อาจมีบ้างบางค่ายมีปัญหา บริษัทจึงกระจายไปใช้หลายพาร์ทเนอร์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเงินลูกค้าที่จะให้ระบบล่มไม่ได้ ซึ่งสิ่งสำคัญของคลาวด์ คือสร้างความสะดวก เสถียร ต้นทุนที่ต้องแข่งขันได้ ไม่ว่าจะขนาดเล็ก-กลางต้องเข้าถึงได้ง่าย

“ฮั่วเซ่งเฮง”มั่นใจเทคโนโลยี

นายธนรัตน์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มฮั่วเซ่งเฮงกล่าวในหัวข้อ Digital Next 2025 : Embracing Change and Challenges with Cloud Strategy ระบุ การนำเทคโนโลยี โดยเฉพาะระบบคลาวด์ ระบบเพย์เมนท์ และระบบการยืนยันตัวตน มาช่วยในเรื่องการซื้อขายและการลงทุน เป็นจุดที่ทำให้ธุรกิจร้านขายทองมีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตไปมาก โดยนับตั้งแต่บริษัทนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ ทำให้เราสามารถพัฒนาการให้บริการที่สะดวกและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น ทั้งนี้ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการธุรกิจสอดคล้องกับกระแสโลกดิจิทัลที่ส่งผลต่อคำสั่งในการซื้อขายที่รวดเร็ว

“ดาต้า-เอไอ”ยกระดับองค์กรสู่ระดับโลก

รวมทั้งปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้มากทำให้บริหารงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้สะดวกและประหยัดในเรื่องคน และเรื่องของความยุ่งยากในการจัดการ เมื่อธุรกิจของบริษัทมีการเติบโต ลูกค้าจะวิ่งมาเรามากขึ้น โดยนอกเหนือจากงานบริการหน้าร้านแล้วยังมีงานบริการหลังบ้านที่ต้องมีความมั่นใจว่าระบบรองรับได้ ซึ่งการบริหารจัดการระบบหลังบ้านก็เป็นเรื่องที่ท้าทาย

“อีกอันหนึ่งที่เราพยายามจะใช้เดตาในการทำเซ็กเม้นท์ให้มาก เราดูอย่างสมัยก่อนเราซื้อทองแท่ง เราต้องซื้อขั้นต่ำแท่งละ 5 บาท ก็จะยากกับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ หลายปีที่ผ่านเราออกให้มีการออมทอง โดยขั้นต่ำให้ออมได้ตั้งแต่ 1,000 บาท ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ ไม่ต้องตัดทองเป็นชิ้นเล็กๆ พอลูกค้าสะสมครบก็เข้ามารับทองแท่ง”

นอกจากนี้ มีบริษัทที่สิงคโปร์ที่เราให้บริการซื้อขายทองในต่างประเทศที่ไม่ใช่ลูกค้าในคนไทย โดยที่สิงค์โปร์เป็นลูกค้าโฮเซลและส่งมอบกับร้านค้าที่เหมือนกับบ้านเรา แต่แทนที่เขาจะซื้อกับแบงก์ เขาก็มาซื้อกับเรา เราก็จัดส่งให้ออฟฟิศเขา ฉะนั้น การที่ต้องใช้คลาวน์มีประโยชน์มากกับธุรกิจที่อยู่ในต่างประเทศมาก เพราะในต่างประเทศมีลูกค้าน้อย แต่ระบบซื้อขายอยู่บนคราว์ เจ้าหน้าที่ด้านไอทีจากประเทศไทยเป็นคนดูแลระบบ โดยที่บริษัทแทบไม่ได้ใช้ทีมงานเลย

เซ็นทรัลรีเทลเติมเต็มอีโคซิสเต็ม

นายโกวินทร์ กุลฤชากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายนวัตกรรม Central Retail Digital บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ เซ็นทรัล รีเทล กล่าวว่า ที่ผ่านมา เซ็นทรัลรีเทล ถือเป็นธุรกิจที่ถูกดิสรัปมา10 ปีจากอีคอมเมิร์ซเข้ามาเขย่าตลาดค้าปลีก ทำให้ธุรกิจที่เคยมีเฉพาะการเปิดห้างสาขาเดี่ยว ได้ขยายสู่การจัดทำเซ็นทรัลออนไลน์

“ดาต้า-เอไอ”ยกระดับองค์กรสู่ระดับโลก

พร้อมกันนี้ได้จัดทำลอยัลตี้ โปรแกรม ผ่านบัตร เดอะวันการ์ด หรือปัจจุบันคือ “บัตรเดอะวัน” พัฒนาแอปพลิเคชั่น เพื่อสร้างบริการที่ดีให้ลูกค้า และได้รับสิทธิประโยชน์จากการปรับธุรกิจได้เร็ว ทำให้เมื่อเกิดสถานการณ์ต่างๆ บริษัทขยายธุรกิจได้ต่อเนื่อง รวมถึงช่วงโควิดลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์ได้ตลอด มีแพลตฟอร์มครอบคลุมทุกด้าน เชื่อมการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์

ทั้งนี้ เครือเซ็นทรัล ก้าวสู่โกลบอลคอมปะนี ลุยสร้างอีโคซิสเต็มไว้รองรับธุรกิจตามแผน3 ปีข้างหน้า จะเดินหน้าขยายธุรกิจและเปิดตลาดในอีกหลายประเทศ โดยกลุ่มเซ็นทรัลดำเนินธุรกิจค้าปลีกมายาวนานมีศักยภาพที่แข็งแกร่ง ไม่น้อยว่าประเทศอื่นๆที่ผ่านมาบริษัทได้ซื้อกิจการห้างค้าปลีกในต่างประเทศ ทำให้มีองค์ความรู้ต่อยอดการเติบโต

นอกจากนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ลูกค้าผ่านทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ โดยออนไลน์ มีการเก็บข้อมูล (DATA) ตั้งแต่ลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์หน้าแรกและการใช้บริการต่างๆ ส่วนออฟไลน์ จะติดตามได้เฉพาะจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการและอายุ รวมถึงเพศ และการเลือกซื้อสินค้า แต่จะไม่ได้ข้อมูลในเชิงลึกเหมือนออนไลน์

รวมทั้งเมื่อมีดาต้ามหาศาล การจัดเก็บข้อมูลจึงอยู่บนคลาวด์เพื่อนำมาวิเคราะห์ลูกค้า ต่อยอดสู่การวางแผนบริการ การจัดทำโปรโมชั่นต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า พร้อมใช้ AI มาร่วมบริหารจัดการ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้า

"บริษัทเน้นสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าผ่านเทคโนโลยีเอไอมานานแล้ว ทั้งการแนะนำสินค้า ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะคนหรือ Personalizeมีการเชื่อมช้อปปิงบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ สร้าง customer experience ที่ดีสุดแก่ลูกค้า"