posttoday

เตรียมรับยุคข้าวยากหมากแพง ชาวโลกกระอักวิกฤตน้ำมันพืชราคาพุ่ง

25 เมษายน 2565

หลังมหาอำนาจน้ำมันพืชส่งสัญญาณน่าห่วง อินโดนีเซียประกาศห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม ส่วนมาเลเซียเริ่มขยับบ้าง

ผู้บริโภคน้ำมันพืชทั่วโลกไม่มีทางเลือกนอกจากต้องจ่ายเงินจำนวนสูงสุดสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคหลังจากการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มที่สร้างความประหลาดใจไปทั่วโลกของอินโดนีเซียบังคับให้ผู้ซื้อต้องแสวงหาทางเลือกอื่น ซึ่งขาดแคลนเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยและการรุกรานยูเครนของรัสเซีย

ความเคลื่อนไหวโดยผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลกที่ห้ามส่งออกตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา จะทำให้ราคาน้ำมันเพื่อบริโภคที่สำคัญทั้งหมดมีราคาสูงขึ้นมา รวมทั้งน้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันเรพซีด ผู้สังเกตการณ์อุตสาหกรรมคาดการณ์ ซึ่งจะสร้างความเครียดเพิ่มเติมให้กับผู้บริโภคที่อ่อนไหวต่อต้นทุนในเอเชียและแอฟริกาที่ได้รับผลกระทบจากราคาเชื้อเพลิงและอาหารที่สูงขึ้น

เจมส์ ฟราย ประธานที่ปรึกษาด้านสินค้าโภคภัณฑ์ LMC International ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า "การตัดสินใจของอินโดนีเซียไม่เพียงส่งผลต่อความพร้อมใช้น้ำมันปาล์มเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อน้ำมันพืชทั่วโลกด้วย

น้ำมันปาล์ม ถูกใช้ในทุกอย่างตั้งแต่เค้กและน้ำมันทอดไปจนถึงเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด - คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 60% ของการขนส่งน้ำมันพืชทั่วโลก และผู้ผลิตชั้นนำในอินโดนีเซียมีสัดส่วนประมาณหนึ่งในสามของการส่งออกน้ำมันพืชทั้งหมด ประกาศห้ามส่งออกเมื่อวันที่ 22 เมษายน จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม เพื่อจัดการกับราคาในประเทศที่สูงขึ้น

"สิ่งนี้เกิดขึ้นในขณะที่การส่งออกของน้ำมันหลักอื่น ๆ อยู่ภายใต้แรงกดดัน น้ำมันถั่วเหลืองเจอจากภัยแล้งในอเมริกาใต้ น้ำมันเรพซีดเกิดหายนะพืชคาโนลาในแคนาดา และน้ำมันดอกทานตะวันเจอภัยสงครามของรัสเซียกับยูเครน" ฟรายกล่าว

ราคาน้ำมันพืชได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในมาเลเซีย ไปจนถึงภัยแล้งในอาร์เจนตินาและแคนาดา ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันคาโนลารายใหญ่ที่สุดตามลำดับ ทำให้อุปทานลดลง

ผู้ซื้อต่างหวังว่าพืชผลดอกทานตะวันจากผู้ส่งออกรายใหญ่ของยูเครนจะช่วยบรรเทาความตึงเครียดได้ แต่เสบียงจากยูเครนหยุดลงเนื่องจากการ "ปฏิบัติการพิเศษทางทหาร" ของรัสเซีย

เรื่องนี้ทำให้ผู้นำเข้าพุ่งพาการซื้อน้ำมันปาล์มเพื่ออุดช่องว่างอุปทานจนกว่าคำสั่งห้ามของอินโดนีเซียจะส่ง "ผลกระทบทวีคูณ" ต่อผู้ซื้อ Atul Chaturvedi ประธานกลุ่มการค้าของ Solvent Extractors Association of India (SEA) กล่าว

ไม่มีทางเลือก

ผู้นำเข้า เช่น อินเดีย บังคลาเทศ และปากีสถาน จะพยายามเพิ่มการซื้อน้ำมันปาล์มจากมาเลเซีย แต่ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่อันดับสองของโลกไม่สามารถเติมเต็มช่องว่างที่สร้างขึ้นโดยอินโดนีเซีย Chaturvedi กล่าว

โดยทั่วไปแล้ว น้ำมันปาล์มเกือบครึ่งหนึ่งของอินเดียนำเข้าจากอินโดนีเซีย ขณะที่ปากีสถานและบังคลาเทศนำเข้าเกือบ 80% ของน้ำมันปาล์มจากอินโดนีเซีย

“ไม่มีใครสามารถชดเชยการสูญเสียน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียได้ ทุกประเทศจะต้องประสบปัญหา” Rasheed JanMohd ประธานสมาคมโรงกลั่นน้ำมันเพื่อการบริโภคของปากีสถาน (PEORA) กล่าว

ในเดือนกุมภาพันธ์ ราคาน้ำมันพืชพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากอุปทานน้ำมันดอกทานตะวันถูกขัดขวางจากภูมิภาคทะเลดำ จากสงครามในยูเครน

ตัวแทนจำหน่ายในมุมไบที่มีบริษัทการค้าระดับโลกกล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของราคาส่งผลต่อต้นทุนของโรงกลั่นน้ำมันซึ่งมีสินค้าคงคลังต่ำกว่าปกติเพราะคาดว่าจะมีการลดราคาลง แต่ปรากฏว่าราคาน้ำมันทั้งหมดกลับพุ่งสูงขึ้นไปอีก

“โรงกลั่นประเมินสถานการณืผิด ตอนนี้พวกเขารอไม่ได้แล้วเป็นเวลาสองสามสัปดาห์ พวกเขาต้องซื้อน้ำมันเข้ามาเพื่อดำเนินการโรงงาน” ตัวแทนจำหน่ายกล่าว

ในขณะที่อินโดนีเซียอนุญาตให้ส่งสินค้าได้จนถึงวันที่ 28 เมษายน ประเทศผู้บริโภคจะมีอุปทานเพียงพอสำหรับครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคม แต่อาจประสบปัญหาการขาดแคลนจากครึ่งหลัง บุคคลที่ทำงานในโรงกลั่นในธากากล่าว

ผู้กลั่นน้ำมันในเอเชียใต้จะค่อยๆ ปล่อยน้ำมันออกสู่ตลาดอย่างช้าๆ เนื่องจากพวกเขาทราบดีว่าอุปทานมีจำกัด เขากล่าว

ในอินเดีย ผู้นำเข้าน้ำมันพืชรายใหญ่ที่สุดของโลก ราคาน้ำมันปาล์มพุ่งขึ้นเกือบ 5% ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากราคาอุตสาหกรรมจะขาดแคลนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ราคายังเพิ่มขึ้นในปากีสถานและบังคลาเทศ ล่าสุด คณะกรรมการน้ำมันปาล์มของมาเลเซียกล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศต่างๆ จะต้องพิจารณาลำดับความสำคัญของอาหารกับเชื้อเพลิง หลังการตัดสินใจของอินโดนีเซียในการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มได้จุดชนวน "วิกฤต" ของการขาดแคลนน้ำมันพืชที่บริโภคได้ทั่วโลก

Ahmad Parveez Ghulam Kadir ผู้อำนวยการคณะกรรมการน้ำมันปาล์มแห่งมาเลเซีย (MPOB) กล่าวว่า "เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับประเทศต่างๆ ที่จะต้องแน่ใจว่ามีน้ำมันและไขมันเป็นอาหารเพียงพอและ...หยุดหรือลดปริมาณการใช้ไบโอดีเซลชั่วคราว" ผู้อำนวยการคณะกรรมการน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย (MPOB) กล่าว

Source

- Indonesia's palm oil export ban leaves global buyers with no plan B/Reuters 

-Malaysia's palm oil board urges countries to reconsider food versus fuel priorities/Reuters 

Photo - REUTERS/Hasnoor Hussain