posttoday

เผยโฉมไครโอดรากอน สัตว์บินได้ที่ใหญ่สุดเท่าที่เคยพบมาบนโลก

13 กันยายน 2562

ไครโอดรากอน มีปีกกว้าง 10 เมตรและหนัก 250 กิโลกรัม จึงเป็นไดโนเสาร์มีปีกที่ใหญ่ที่สุด

นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยการค้นพบสัตว์ไดโนเสาร์มีปีก หรือเทอโรซอร์ (Pterosaur) สายพันธุ์ใหม่ ขนาดใหญ่เท่ากับเครื่องบิน ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียส โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ไครโอดรากอน บอเรียส (Cryodrakon boreas)

นักวิจัยรายงานผลการค้นพบในวารสาร Journal of Vertebrate Paleontology ระบุว่า ไครโอดรากอน มีปีกกว้าง 10 เมตรและหนัก 250 กิโลกรัม จึงเป็นไดโนเสาร์มีปีกที่ใหญ่ที่สุด และยังเป็นสัตว์บินได้ที่ใหญ่ที่สุดตลอดกาลเท่าที่เคยพบมาบนโลกของเรา

เผยโฉมไครโอดรากอน สัตว์บินได้ที่ใหญ่สุดเท่าที่เคยพบมาบนโลก

เดวิด ฮอน หัวหน้านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนแมรี่ ในลอนดอนกล่าวว่า การค้นพบไครโอดรากอนเป็นการค้นพบที่ยอดเยี่ยม และทีมนักวิจัยยังสามารถระบุความตแกต่างระหว่างไครโอดรากอน (Cryodrakon) กับ เควตซัลโคอัทลัส (Quetzalcoatlus) ได้สำเร็จ จากที่ก่อนหน้าเข้าใจผิดว่าทั้ง 2 ประเภทเป็นพันธุ์เดียวกัน

การค้นพบ ไครโอดรากอน (ชื่อย่อทางวิทยาศาสตร์คือ C. boreas) นับเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ เพราะ ซากของมันถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้วในมณฑลอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดามันถูกจำแนกประเภทผิดพลาด ทำให้ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเควตซัลโคอัทลัส ดังนั้นมันจึงเป็นการค้นพบครั้งสำคัญที่ถูกมองข้ามไป ทั้งๆ ที่หลักฐานอยู่ต่อหน้าต่อตานักวิจัยแท้ๆ

เผยโฉมไครโอดรากอน สัตว์บินได้ที่ใหญ่สุดเท่าที่เคยพบมาบนโลก

ต่อมาเมื่อนักวิจัยได้ตรวจสอบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์รุ่นลูก และกระดูกคอที่สมบูรณ์ของตัวโตเต็มที่ ก็พบว่าพวกเขาได้ค้นพบสายพันธุ์ใหม่เข้าแล้ว

เช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานมีปีกอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อประมาณ 77 ล้านปีก่อน ไครโอดรากอนเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร และอาจกินกิ้งก่า กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก หรือแม้แต่ลูกไดโนเสาร์

ไครโอดรากอน มีขนาดใหญ่และมีการกระจายสายพันธุ์อย่างกว้างขวางทั่วอเมริกาเหนือและใต้, เอเชีย, แอฟริกาและยุโรป แต่มีการค้นพบซากของมันในลักษณะเป็นเศษเล็กเศษน้อยเท่านั้น

เผยโฉมไครโอดรากอน สัตว์บินได้ที่ใหญ่สุดเท่าที่เคยพบมาบนโลก