posttoday

เขมรหัวร้อนบุกเพจยูเนสโก ย้ำโขนไม่ใช่ของไทย

31 สิงหาคม 2561

ส่องดราม่าผ่านแว่นตาประวัติศาสตร์ เมื่อชาวเน็ตเขมรจวกไทย ก็อปปี้การแสดง ‘โขน’ ระบุเป็นของกัมพูชา

ส่องดราม่าผ่านแว่นตาประวัติศาสตร์ เมื่อชาวเน็ตเขมรจวกไทย ก็อปปี้การแสดง ‘โขน’ ระบุเป็นของกัมพูชา

หลังจากที่กระทรวงวัฒนธรรม เสนอการแสดง “โขน” ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก เพื่อพิจารณาขึ้นบัญชีมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติในปีนี้ ด้านชาวเขมรจำนวนมากก็ออกมาลุกฮือ และยกพวกไปถล่มเพจยูเนสโกพร้อมไล่คอมเม้นท์ทุกโพสต์จากเพจดังกล่าว

 

เขมรหัวร้อนบุกเพจยูเนสโก ย้ำโขนไม่ใช่ของไทย

 

เรียกได้ว่าตอนนี้เพจยูเนสโกถูกชาวเขมรจำนวนมากปักธงยึดอย่างเป็นทางการแล้ว เพราะตอนนี้ไม่ว่าทางเพจจะโพสต์อะไรขึ้นมา ไม่กี่นาทีหลังจากที่โพสต์เสร็จ ความเห็นเกี่ยวกับแต่ละเรื่องจะมีแต่ข้อความของชาวเขมรที่แสดงความคิดเห็นกันแบบเดิมๆ หรือก๊อบปี้กันมาวางเต็มเพจ จนคนทั่วไปไม่สามารถแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ได้

 

เขมรหัวร้อนบุกเพจยูเนสโก ย้ำโขนไม่ใช่ของไทย

 

โดยเนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวว่า ให้ยูเนสโกพิจารณาการขึ้นบัญชีมรกดกทางวัฒนธรรมใหม่เสีย เพราะโขนไม่ใช่ของไทย แต่เป็นศิลปะเขมร ซึ่งเรียกกันว่า ละโคนโขล ที่ถูกคนไทยลอกและขโมยมา และโขนมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งมีหลักฐานสลักอยู่ที่นครวัด ขณะที่ชาวไทยอพยพมาจากจีนและไร้ซึ่งวัฒนธรรมของตนเอง จนต้องมาขโมยศิลปะของเขมรไป ทั้งนี้ หลายคนก็ยังติดแฮชแท็ก #Lakhon_Khol_Not_Thailand_Culture เพื่อตอกย้ำเจตนารมณ์ด้วย

 

เขมรหัวร้อนบุกเพจยูเนสโก ย้ำโขนไม่ใช่ของไทย ภาพ : คลังภาพบางกอกโพสต์

 

หากใครเคยไปเยือนปราสาทนครวัด หรือเคยศึกษามาก่อน ก็จะทราบว่ามีเรื่องราวรามเกียรติ์สลักอยู่ที่นครวัดจริง แต่ไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้ว่า ภาพสลักดังกล่าวเป็นภาพการแสดงโขน และถึงแม้ชาวไทยจะได้รับอิทธิพลในการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์มาจากเขมรในช่วงกรุงศรีอยุธยา แต่ชาวไทยได้นำมาดัดแปลง ผนวกเข้ากับกระบี่กระบองและหนังใหญ่จนกลายเป็นโขนที่ตกทอดมาถึงสมัยปัจจุบัน ซึ่งในบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ได้มีการบันทึกเกี่ยวกับการแสดงโขนในสมัยอยุธยาไว้ด้วย

 

เขมรหัวร้อนบุกเพจยูเนสโก ย้ำโขนไม่ใช่ของไทย ภาพ : คลังภาพบางกอกโพสต์

 

หากมองในมุมชาวโลกแบบไม่ลำเอียง เราแทบหาหลักฐานไม่เจอเลยว่าโขนมีที่มาจากเขมร อย่างไรก็ตาม ศ.ซาซากาว่า ฮิเดโอะ ผู้สอนวิชาเอเชียศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยโซเฟีย ประเทศญี่ปุ่น ได้เขียนเกี่ยวกับการแสดงในราชสำนักเขมรหลังถูกยึดอาณานิคมว่า กระแสรักชาติที่ถูกปลุกในระยะหลังของเขมรมีรากฐานอยู่บนการมองความจริงที่บิดเบือนและความทรงจำบางส่วน ทำให้คนเขมรนำเรื่องราวต่างๆ ไปผูกกับความภาคภูมิใจในช่วงจักรวรรดิอังกอร์ และก็มีสื่อเขมรมากมายที่ทำออกมาเพื่อตอกย้ำความภาคภูมิใจนี้ เป็นเหตุให้คนเขมรเลือกจะลบความทรงจำช่วงถูกฝรั่งเศสยึดครอง รวมถึงอิทธิพลจากไทยด้วย

 

เขมรหัวร้อนบุกเพจยูเนสโก ย้ำโขนไม่ใช่ของไทย นางรำเขมรในงานเฉลิมฉลองปีใหม่ของชาวเขมร ที่วัดเบย์สัน ในจังหวัดเสียมราฐ

 

แม้ว่าเราไม่สามารถฟันธงได้แน่นอนว่าโขนมาจากไหนกันแน่ แต่โขนก็เป็นศิลปะที่สวยงามละเอียดลออและมีรากฐานมากจากมหากาพย์ภารตของอินเดีย อย่างไรก็ตาม การกระทำที่ไปแสดงความคิดเห็นสแปมจนกลายเป็นข้อความขยะในเพจระดับนานาชาติเช่นนี้ ก็ไม่ใช่พฤติกรรมที่น่ากระทำ หรือเป็นที่ยอมรับในสายตาทั่วโลก คงจะเป็นการดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและวงการการศึกษามากกว่านี้ หากไทยและเขมรสามารถจับเข่านั่งคุยและแลกเปลี่ยนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้อย่างผู้มีอารยะพึงกระทำ

ที่มา : หนังสือพิมพ์M2F