posttoday

เปิดนโยบาย “สิทธิชัย แดงประเสริฐ” ดันสมุนไพรไทยสู่ซอฟต์เพาเวอร์

20 กุมภาพันธ์ 2567

เปิดวิสัยทัศน์ “สิทธิชัย แดงประเสริฐ” ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรคนใหม่ ผ่านกลยุทธ์ “Economy Sharing” ผนึกรัฐ-เอกชน หนุน SME เข้าถึงงานวิจัย -โรงงานผลิตขนาดใหญ่ สู่มาตรฐานสากล คว้าโอกาสซอฟต์พาวเวอร์ ขึ้นแท่นมาร์เก็ตแชร์ 1 ใน 3 ของเอเชีย ภายใน 5 ปี

นายสิทธิชัย แดงประเสริฐ  ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร ในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยหลังรับตำแหน่งคนที่ 5 ว่า ภารกิจสำคัญคือการเดินหน้าผลักดันสมุนไพรไทยเป็นซอฟต์เพาเวอร์ และสร้างโอกาสให้กับทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมสมุนไพร เช่น เกษตรกรผู้ปลูกที่จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น และยั่งยืนขึ้น สร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งต่อเศรษฐกิจฐานราก และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยโดยรวมได้อย่างยั่งยืน

เปิดนโยบาย “สิทธิชัย แดงประเสริฐ” ดันสมุนไพรไทยสู่ซอฟต์เพาเวอร์

โดยสมุนไพรไทยมีศักยภาพสูงในตลาดโลก เพราะมีความหลากหลายของสายพันธุ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เข้มแข็ง จากข้อมูลตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่า 60,165.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่ในภูมิภาคเอเชียถึง 57.6 % อเมริกา 22.1 % ยุโรป 22.1  % ยุโรป 18 % ตะวันออกกลาง 1.5% ออสเตรเลีย 0.9% 

สำหรับประเทศไทยมีการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพร ติดอันดับ 7 ของของโลก ส่วนภูมิภาคเอเชียประเทศไทยมีขนาดตลาดสมุนไพรเป็นอันดับ 4 รองจากประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ในขณะที่ไทยเป็นผู้นำการส่งออกสมุนไพรอันดับ 1 ของอาเซียน แต่ในตลาดโลกยังไม่ติด 1 ใน 10 เนื่องจากยังมีข้อจำกัดด้านมาตรฐานการผลิต อย่างไรก็ดียังพบมูลค่าการส่งออกสมุนไพรยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสมุนไพร มีแนวโน้มลดลง

เปิดนโยบาย “สิทธิชัย แดงประเสริฐ” ดันสมุนไพรไทยสู่ซอฟต์เพาเวอร์

ส่วนประเภทของสมุนไพรที่มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุด ได้แก่ พรรณไม้และส่วนของพรรณไม้ ประเภทของสมุนไพรที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงที่สุด ได้แก่ สารสกัด  จากคาดการณ์ตลาดสมุนไพรในประเทศ ในปี 2570 มีมูลค่า 100,000 ล้านบาท กลุ่มผลิตภัณฑ์ ยาอาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางเครื่องดื่มสมุนไพรที่ได้รับความนิยม ขมิ้นชัน กระชายขาว ตะไคร้หอม บัวบก ในขณะที่ตลาดสมุนไพรโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คาดการณ์ปี 2573 ทะลุ 2.7 ล้านล้านบาท เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สุขภาพยา เครื่องสำอาง สมุนไพรที่ได้รับความนิยม ขิง กระเทียม โสม และคาโมมายล์

ทั้งนี้ กลยุทธ์สำคัญวางไว้คือการเพิ่มการบริโภคสมุนไพรภายในประเทศ และการส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรมูลค่าสูง อาทิ สารสกัด สมุนไพรแปรรูป ยาและอาหารเสริม ส่งออกไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะภูมิภาคที่มีความต้องการสูงในการบริโภคสมุนไพร อย่าง ตลาดอาเซียน และ CLMV ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการเร่งเดินหน้าสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ เข้าถึงการวิจัยและพัฒนาในห้องแล็บที่มีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อสร้างมาตรฐานรองรับสินค้า การสร้างแบรนด์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดทั่วโลก

เปิดนโยบาย “สิทธิชัย แดงประเสริฐ” ดันสมุนไพรไทยสู่ซอฟต์เพาเวอร์ ไปพร้อมกับการสื่อสารเรื่องราวและคุณค่า เพื่อดึงดูดและเข้าผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในการโปรโมทเข้าถึงผู้บริโภคและการเก็บฐานข้อมูลไว้ต่อยอดในการวางกลยุทธ์ผลักดันสมุนไพรไทยได้แม่นยำมากขึ้น โดยเชื่อมโยงความร่วมมือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ตลอดห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสมุนไพร

เปิดนโยบาย “สิทธิชัย แดงประเสริฐ” ดันสมุนไพรไทยสู่ซอฟต์เพาเวอร์

สำหรับกลยุทธ์ในการยกระดับสมุนไพรไทยที่จะนำมาขับเคลื่อนคือ “Economy Sharing” ผนึกความร่วมมือ รัฐ-เอกชน มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เช่น การสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็กเข้าถึงการวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษา และสร้างพันธมิตรเพื่อรวมกลุ่มเข้าถึงโรงงานการผลิตขนาดใหญ่ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากปัจจุบันการส่งออกสมุนไพรไทยยังมีข้อจำกัดจากบางประเทศที่ไม่สามารถส่งออกไปได้

ปัจจุบัน ภาครัฐและเอกชนไทยได้เกิดความร่วมมือภาครัฐและเอกชน เช่น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ และเครือข่าย TOPT เพื่อพัฒนายาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพรไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้จะส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงการผลิตในโรงงานที่ได้มาตรฐานด้วยการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เปิดนโยบาย “สิทธิชัย แดงประเสริฐ” ดันสมุนไพรไทยสู่ซอฟต์เพาเวอร์

นายเมธา สิมะวรา อดีตประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร  กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ประธานกลุ่มสมุนไพรคนใหม่สานต่อภารกิจและต่อยอดแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2567 ที่วางเป้าประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ที่ได้มาตรฐาน และมีการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร เชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ต่อยอดด้วยนวัตกรรมให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล 6 ด้านได้แก่ 

1.การส่งเสริมสมุนไพรผ่านอาหารไทย จากครัวไทยสู่ครัวโลก 

2.การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของ SME ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม 

3. เน้นตลาดในประเทศ และ CLMV

4. ยกระดับการผลิตด้วยเทคโนโลยี (SMART) 

5.ส่งเสริมให้ส่วนภูมิภาคใช้สมุนไพรเป็นกลไกการพัฒนา และ

6. ส่งเสริมอุตสาหกรรมสารสกัด เพิ่มมูลค่าและความสามารถในการแข่งขัน โดยจะเน้นผลักดันให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

โดยที่ผ่านมา อัตราการขยายตัวเฉลี่ย (CAGR) ของประเทศไทยในช่วงที่มีการประกาศใช้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 (ช่วงปี 2560-2566) สูงกว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ในช่วงเวลาเดียวกันแล้ว