posttoday

พลังโซเชียล 3 แสนคน-รณรงค์ให้ถอดถอน กกต.

25 มีนาคม 2562

ผู้ใช้สังคมออนไลน์สร้างแคมเปญรณรงค์ร่วมลงชื่อถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้ง-มีคนเห็นด้วยแล้ว 3 แสนคน

ผู้ใช้สังคมออนไลน์สร้างแคมเปญรณรงค์ร่วมลงชื่อถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้ง-มีคนเห็นด้วยแล้ว 3 แสนคน 

เมื่อวันที่ 25 มี.ค.  มีรายงานว่าในเว็บไซต์ change.org ผู้ใช้สังคมออนไลน์บัญชีชื่อ We loveThailand ได้สร้างแคมเปญรณรงค์ให้ร่วมลงชื่อเพื่อถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

ทั้งนี้กระทู้ดังกล่าว ระบุไว้ว่า ขออำนาจพลังประชาชนร่วมกันลงชื่อสนับสนุนแคมเปญล่ารายชื่อถอดถอนกรรมการการเลือกตั้งที่ทุจริตเเละมีมลทินที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :

1) รัฐธรรมนูญ มาตรา 164 ว่าด้วยสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน

2) รัฐธรรมนูญมาตรา 270-274 ว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงอื่นๆ

3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ป.ป.ช.) มาตรา 58-65 ว่าด้วย การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงอื่นๆ

ตำแหน่งที่อาจถูกถอดถอนได้ :

1) นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี

2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

3) ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และผู้พิพากษาที่ป.ป.ช.กำหนด

4) ประธานศาลปกครองสูงสุด รองประธานศาลปกครองสูงสุด และผู้พิพากษาที่ป.ป.ช.กำหนด

5) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหลาย

6) อัยการสูงสุด รองอัยการสูงสุด และอัยการทั้งหลายที่ป.ป.ช.กำหนด

7) กรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.)

8) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

9) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

10) หัวหน้าสํานักตุลาการทหาร

11) ปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปลัดกรุงเทพมหานคร

12) หัวหน้าหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

13) กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ

 

เหตุในการถอดถอน :

1) มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

2) ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่

3) ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ / หน้าที่ในการยุติธรรม

4) ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

5) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

 

ขั้นตอน :

1) ผู้ริเริ่มไม่เกิน 100 คน ไปแสดงตนต่อประธานวุฒิสภาก่อนเริ่มต้นรวบรวมรายชื่อ

2) ผู้ริเริ่มรวบรวมลายมือชื่อประชาชน พร้อมเอกสารระบุชื่อ อายุ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน สำเนาบัตรประชาชนหรือเอกสารที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ ให้ครบ 20,000 คน ภายใน 180 วัน

3) ผู้ริเริ่มนำรายชื่อประชาชน พร้อมระบุพฤติการที่กล่าวหาผู้ที่จะถูกถอดถอน และพยานหลักฐานตามสมควรยื่นต่อประธานวุฒิสภา

4) ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไต่สวนโดยเร็ว

5) หากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เห็นว่ามีมูลให้ทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภา ระหว่างนี้ผู้ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่อไปไม่ได้ และให้ประธานวุฒิสภาจัดประชุมวุฒิสภาโดยเร็วเพื่อลงมติ

6) สมาชิกวุฒิสภาลงมติให้ถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาออกจากตำแหน่ง โดยอาศัยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด

 

ผล : ผู้ที่ถูกถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับตั้งแต่วันที่วุฒิสภาลงมติ และให้ตัดสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองและสิทธิรับราชการ 5 ปี มติของวุฒิสภาให้เป็นที่สุด ใครจะมาร้องบุคคลเดิมด้วยเหตุเดิมอีกไม่ได้

 

ผู้ที่มีบทบาทมาก : คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจจริงๆ : วุฒิสภา โดยมติ 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด

ทั้งนี้มีผู้ไปร่วมลงชื่อแล้วกว่า 3 แสนคน

ที่มา : https://www.change.org/p/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%95-%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87?pt=AVBldGl0aW9uAPxJ3AAAAAAAXJhh5DXioCpmOGJiZTc4YQ%3D%3D&source_location=discover_feed