posttoday

"ประชาชนฉลาดกว่าที่คนวิจารณ์คิด!" อดีตกรธ.ไขคำตอบเลือกตั้งไม่ใช้เบอร์เดียวทั้งประเทศ

06 กุมภาพันธ์ 2562

"ประพันธ์ นัยโกวิท" อดีตกรธ.ให้คำตอบ การเลือกตั้งที่ไม่ใช้เบอร์เดียวทั้งประเทศเป็นปัญหาของใครกันแน่ "พรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือประชาชนผู้เลือกตั้ง?"

"ประพันธ์ นัยโกวิท" อดีตกรธ.ให้คำตอบ การเลือกตั้งที่ไม่ใช้เบอร์เดียวทั้งประเทศเป็นปัญหาของใครกันแน่ "พรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือประชาชนผู้เลือกตั้ง?"

เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 62 นายประพันธ์ นัยโกวิท อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ระบุผ่านเพจเฟซบุ๊ก คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ถึงสาเหตุของการเลือกตั้งในปีนี้ที่ไม่ใช้เบอร์เดียวทั้งประเทศและการไม่กำหนดให้เบอร์ผู้สมัครเป็นหมายเลขเดียวทั้งประเทศ โดยมีเนื้อหาดังนี้

เหตุที่ไม่ใช้เบอร์เดียวทั้งประเทศและการไม่กำหนดให้เบอร์ผู้สมัครเป็นหมายเลขเดียวทั้งประเทศ เป็นปัญหาของใครกันแน่ : พรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือประชาชนผู้เลือกตั้ง ?

มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า การ เลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาใช้เบอร์ส.ส.เขตเป็นเบอร์เดียวกับเบอร์พรรคทั้งประเทศ ประชาชนจำง่ายไม่สับสนแต่การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560ให้มีส.ส.350 เขตส.ส.พรรคเดียวกันแต่อยู่คนละเขตคนละจังหวัด หมายเลขสมัครรับเลือกตั้งไม่เหมือนกันทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ต้องพิมพ์บัตรเลือกตั้ง 350เขต 350 แบบ ทำให้การเลือกตั้งยุ่งยาก

มันเป็นอย่างนั้นหรือ?

ความจริงคือ วิธีการลงคะแนนไม่ได้มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพราะ รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 85 วรรค3 บัญญัติให้วิธีการออกเสียงลงคะแนนและเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการ เลือกตั้ง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นกฎหมายลูกซึ่งกฎหมายดังกล่าวมาตรา 48 ให้ผู้สมัครได้รับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเรียงตามลำดับเลขท่ีของหลักฐานการรับสมัคร พูดง่ายๆคือได้เบอร์ตามลำดับที่มาสมัคร

เหตุที่ไม่ใช้เบอร์เดียวทั้งประเทศ ของทุกพรรคก็เพราะการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 เป็ นการเลือกส.ส.เขตอย่างเดียวและนำคะแนน ส.ส. เขตไปคำนวณส.ส.บัญชีรายช่ือ เบอร์ ส.ส. เขตทั่วโลกก็เป็นแบบเขตใครเขตมันอยู่แล้ว และที่เกรงว่า จะทำให้ประชาชนจำเบอร์ผู้สมัครไม่ได้ หารู้ไม่ว่า ประชาชนฉลาดกว่าผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์คิด

ในการเลือกตั้งส.ส. เมื่อปีพ.ศ.2550 ซึ่งเป็นการเลือกส.ส.เขตแบบเขตเดียว3เบอร์ ที่เรียกว่าเลือกแบบพวงใหญ่ เบอร์ส.ส.เขต แต่ละเขตก็แตกต่างกันไป อาจไม่ตรงกับเบอร์พรรคหรือส.ส.บัญชีรายช่ือทั้งบัตรเลือกตั้ง ส.ส.เขตปีพ.ศ.2550 ก็เป็นบัตรเลือกตั้งที่มีแต่เบอร์อย่างเดียว หรือที่เรียกว่า บัตรโหล แต่ประชาชนก็ฉลาดสามารถเลือก ส.ส.เขตที่ตนต้องการได้อย่างไม่มีปัญหา ในการเลือกตั้งครั้งนั้นมีผู้มาใช้สิทธิส.ส.แบบแบ่งเขตถึง 74.49% สูงกว่าการเลือกตั้งที่ใช้บัตรเลือกตั้งส.ส.เขตซึ่งเป็นเบอร์เดียวกับ ส.ส.บัญชีรายชื่อในการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อปี พ.ศ. 2544 พ.ศ .2548 และการที่ กกต. พิมพ์บัตรเลือกตั้งซึ่งมีทั้งเบอร์ผู้สมัคร โลโก้พรรค และชื่อพรรคก็นับว่า เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนดีกว่าการใช้บัตรโหลเหมือนดังที่ผ่านมา

นอกจากนี้ การใช้เบอร์ส.ส.เขตเป็นเบอร์เดียวกับเบอร์พรรคทั่วประเทศ ก็มีผู้เห็นว่าอาจทำให้เกิด การซื้อเสียงในวงกว้าง ได้ง่ายทั่วประเทศ และอาจเกิดการทุจริตเก่ียวกับบัตรเลือกตั้งได้ง่ายกว่าบัตรเลือกตั้งที่ได้เบอร์แตกต่างกันไปตามเขต

อย่างไรก็ตาม หากพรรคการเมืองทุกพรรคเข้าใจสอดคล้องต้องกันว่า อยากให้เบอร์ ส.ส. เขตของทุกพรรคเป็นเบอร์เดียวกันทั้งประเทศพรรคการเมืองก็สามารถทำได้โดยการตกลงกันได้แต่ในทางปฏิบัติคง ทำได้ยากเพราะยังมีพรรคการเมืองบางพรรคเช่นกันยังไม่เห็นด้วยที่จะให้เบอร์ส.ส.เขตของทุกพรรคเป็นเบอร์เดียวกันทั่วประเทศนั่นเอง