posttoday

ฟันธง 150 วัน แค่จัดเลือกตั้งให้เสร็จ

12 มกราคม 2562

เกิดข้อขัดแย้งถึงการตีความการจัดการเลือกตั้งเกี่ยวกับห้วงเวลา 150 วัน นับ2562 แต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. มีผลใช้บังคับรวมประกาศผลเลือกตั้งด้วยหรือไม่

โดย...ทีมข่าวการเมืองโพสต์ทูเดย์

เกิดข้อขัดแย้งถึงการตีความการจัดการเลือกตั้งเกี่ยวกับห้วงเวลา 150 วัน นับ2562 แต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. มีผลใช้บังคับรวมประกาศผลเลือกตั้งด้วยหรือไม่

ปมทางกฎหมายดังกล่าวกลายเป็นความขัดแย้งทางความคิดระหว่างสองฝ่ายที่เห็นไม่ตรงกัน คือ ฝ่ายที่ตีความหมายว่าการประกาศวันเลือกตั้งอยู่นอกกรอบ 150 วันได้ นั่นหมายความว่าวันสุดท้ายของการจัดการเลือกตั้งได้ต้องอยู่ระหว่างปลายเดือน มี.ค. 2562 ภายหลังผ่านพ้นช่วงงานสำคัญของประเทศไปแล้วในช่วงเดือน พ.ค. 2562

แต่ทว่าอีกฝ่ายที่ตีความว่าประเด็น 150 วัน ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เพราะมีความเห็นต่างออกไป โดยเห็นว่าการเลือกตั้งอย่างช้าสุดต้องภายในต้นเดือน มี.ค. เพราะต้องอยู่ในกรอบ 150 วัน จึงกลายเป็นประเด็นโต้เถียงจนในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดย มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธาน กรธ.ชี้ขาด

สำหรับข้อขัดแย้งดังกล่าว กรธ.อ้างถึงข้อหารือกันระหว่าง กรธ.กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถึงประเด็นดังกล่าวเกี่ยวกับเจตนารมณ์กรอบระยะเวลาการดำเนินการเลือกตั้ง สส.ตามมาตรา 268 ของรัฐธรรมนูญ ว่ามีความประสงค์ผลสำเร็จของการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จเพียงใด และให้นับระยะเวลา 60 วัน ในการประกาศผลการเลือกตั้งรวมอยู่ในระยะเวลา 150 วัน ด้วยหรือไม่

เรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะอาจเกิดปัญหาในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และจำเป็นต้องได้รับความชัดเจนเพื่อนำไปปฏิบัติ กรณีมาตรา 268 ที่บัญญัติว่าให้ดำเนินการเลือกตั้ง สส.ให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน นับแต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 267 (1) (2) (3) และ (4) มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่ง กกต.มีข้อกังวลว่า ความว่า "ให้ดำเนินการเลือกตั้ง สส.ให้แล้วเสร็จ หมายความถึงการประกาศผลการเลือกตั้งด้วยหรือไม่" หรือหมายความเฉพาะให้ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง สส.ให้แล้วเสร็จเท่านั้น ซึ่งกรณีดังกล่าวจะมีผลกับการกำหนดวันเลือกตั้ง รวมทั้งระยะเวลาที่ กกต.จะสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง) หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) ด้วย

อย่างไรก็ตาม มีชัยเห็นว่า กรธ.มิได้มีหน้าที่ในการตอบข้อหารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 210 (2) บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของ สส. และ สว. รัฐสภา คณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือองค์กรอิสระ ดังนั้นทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงนำข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวจากการประชุมครั้งที่ 185 เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2559 ระหว่าง กรธ.กับ กกต.เพื่อหารือและได้ข้อสรุปดังกล่าว

กรธ.ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวโดยหยิบยกข้อความของ สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. ที่ระบุว่า การเลือกตั้ง สส. เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 รัฐธรรมนูญกำหนดว่า เมื่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส.และ สว.มีผลใช้บังคับให้มีการเลือกตั้ง สส.ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ซึ่งในขณะนั้น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับให้มีการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ซึ่งในขณะนั้น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย สส. และ สว. มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2550 และ กกต.สามารถประกาศผลการเลือกตั้งได้ภายในวันที่ 4 ม.ค. 2551 ซึ่งเป็นการดำเนินการทุกอย่างแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. และ สว.มีผลบังคับใช้ ซึ่งหากยึดตามแนวปฏิบัติเดิม กกต.ควรประกาศผลการเลือกตั้งได้ภายใน 150 วันนั้น จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง การเลือกตั้ง สส.เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 เท่าที่ตรวจสอบได้ปรากฏว่า กกต.ประกาศผลได้ภายใน 90 วัน นับแต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 295 มีผลใช้บังคับ และ กกต.ได้ประกาศผลการเลือกตั้ง สส.แบบสัดส่วนและแบบแบ่งเขต จำนวน 11 ฉบับ ซึ่ง กกต.ประกาศผลการเลือกตั้ง สส.ได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2551 เพียงสองฉบับ ส่วนการประกาศผลการเลือกตั้ง สส.อีก 9 ฉบับ เป็นการประกาศผลการเลือกตั้ง สส. ซึ่งล่วงเลยเวลา 90 วัน ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 296 วรรคหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม มีความเห็นของ กกต. เห็นว่า "ให้ดำเนินการเลือกตั้ง สส. ตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จ หมายความว่าให้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 150 วันเท่านั้น ไม่รวมถึงการประกาศผลการเลือกตั้งด้วย เนื่องจากหากให้หมายความรวมถึงการประกาศผลการเลือกตั้งด้วย ย่อมไม่อาจกำหนดวันเวลาในการเลือกตั้งที่แน่นอนได้"

ทั้งนี้ สมชัยเคยให้ความเห็นว่า หากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้บันทึกเจตนารมณ์ไว้ว่า "ให้ดำเนินการเลือกตั้ง สส.ให้แล้วเสร็จ หมายความว่า ให้ กกต.ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 150 วันเท่านั้น เป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากจะไม่เกิดปัญหาว่า กกต.กระทำการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และไม่ส่งผลให้การเลือกตั้งตกเป็นโมฆะ"

อย่างไรก็ตาม มีความเห็นว่ากรณีดังกล่าวอาจทำให้การเลือกตั้งตกเป็นโมฆะได้ เนื่องจากระยะเวลาที่ กกต.ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง สส.ให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน ไม่ใช่เงื่อนไข ในการทำให้เกิดความเสียหายแก่ผลของการเลือกตั้ง เป็นแต่เพียงระยะ เวลาเร่งรัดให้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งเท่านั้น