หน้าที่และภารกิจสำคัญของ “ดาวเทียม THEOS-2” มีไว้เพื่อใครบ้าง?
นอกเหนือจากความคมชัดที่นับได้ว่ามีระดับสูงส่งเทียบเท่ากับกลุ่มดาวเทียมรายละเอียดสูงมากที่อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก เช่น WorldView GeoEye (ดาวเทียมเชิงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา) และ Pléiades (พลีอะดีส- ของฝรั่งเศส) THEOS-2 ของเรามีไว้ทำอะไรได้อีก ไปหาคำตอบกัน
โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดของโครงการดาวเทียม THEOS-2 กว่า 7,000 ล้านบาทกำลังส่งผลต่อพันธกิจต่างๆ ของประเทศไทยในระยะยาว นอกเหนือจากความคมชัด (ระดับส่องมือถือได้) ที่นับได้ว่ามีความชัดเจนและมีศักยภาพเทียบเท่ากับกลุ่มดาวเทียมรายละเอียดสูงมากที่อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก เช่น WorldView GeoEye (ดาวเทียมเชิงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา) และ Pléiades (พลีอะดีส- ดาวเทียมสัญชาติฝรั่งเศส) มีอะไรอีกบ้าง ไปหาคำตอบกัน
หลายคนอาจจะคุ้นเคยข้อมูลภาพถ่ายของดาวเทียมกลุ่มนี้ดีอยู่แล้วผ่านแอปพลิเคชันแผนที่ออนไลน์ที่ให้บริการภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูงผ่านมือถือของทุกคน แต่ไม่แน่ว่าอีกไม่นานเราอาจจะได้เห็นข้อมูลจากดาวเทียม THEOS-2 บนแอปพลิเคชันเหล่านี้ได้สักวัน
โครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา หรือ THEOS-2 เป็นโครงการด้านเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทยที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ เพื่อให้ประเทศไทยได้มีระบบวางแผน ระบบการตัดสินใจ ระบบการติดตาม ระบบการวิเคราะห์ และระบบการรายงานข้อมูลสถานการณ์เชิงพื้นที่ของประเทศหรือในรูปแบบแผนที่อย่างละเอียดและทันต่อเหตุการณ์
ในอนาคต ข้อมูลจากดาวเทียมและภูมิสารสนเทศของระบบ THEOS-2 จะช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถวางนโยบายพัฒนาประเทศได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ภายใต้โครงการ THEOS-2 จะมีดาวเทียม 2 ดวง
ประกอบด้วยดาวเทียม THEOS-2 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงหลัก และดาวเทียม THEOS-2A ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดเล็กที่วิศวกรไทยร่วมออกแบบและพัฒนา ซึ่งได้ดำเนินการสร้างแล้วเสร็จเช่นกัน เตรียมยิงขึ้นสู่อวกาศเดือนมกราคมปีหน้า (2567) นอกจากนั้นภายใต้โครงการ THEOS-2 ยังประกอบด้วยการพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีอวกาศอีกมากมาย
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ได้แบ่งความต้องการของผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องเป็น 3 ส่วนคือ
1. กลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงเพื่อวางแผนบริหารจัดการด้านต่างๆ ซึ่งดาวเทียมหลักของ THEOS-2 สามารถถ่ายภาพวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 เซนติเมตรที่อยู่บนพื้นโลกได้
2. กลุ่มผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน เช่น บริษัทผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ และมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศ เป็นต้น
3. ผู้ใช้ที่ต้องการข้อมูลจากแอปพลิเคชันอันเกิดจากการบูรณาการข้อมูลจากดาวเทียม THEOS-2
สู่ความเป็น Smart City
ยิ่งกว่านั้น Gistda ระบุว่า การที่สังคมเราค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็น Smart City จะช่วยขับเคลื่อนตลาดของการซื้อขายข้อมูลจากดาวเทียม เนื่องจากการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยสนับสนุนจำนวนมหาศาลเช่น Internet of Things (IoT) รวมถึงข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมที่จะมีส่วนช่วยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์และลดการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การที่ประเทศไทยมี THEOS-2 ทั้งจะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้เล่นตัวสำคัญในตลาดซื้อขายภาพถ่ายจากดาวเทียมในระดับภูมิภาค และช่วยผลักดันให้เกิดธุรกิจใหม่ๆขึ้นในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
เป้าหมายการใช้เทคโนโลยี ข้อมูลและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อการจัดการเมืองให้มีความมั่นคงและมีความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของประชากร เช่น ระบบขนส่งสาธารณะแบบอัจฉริยะที่สามารถติดตามรถแบบเรียลไทม์และแม่นยำ ระบบวางแผนเส้นทางโดยใช้ข้อมูลการจราจรและสภาพถนนในเวลาจริงเพื่อแนะนำเส้นทาง ระบบจัดการสาธารณูปโภคแบบอัตโนมัติ เป็นต้น
สรุปได้ว่า ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยจะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเมืองอัจฉริยะต่อไปในอนาคต