posttoday

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

24 พฤศจิกายน 2564

Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art : WOMEN are FOREVER – A vintage Cartier Collection หนึ่งในนิทรรศการห้ามพลาดประจำปี ที่รวบรวมเรือนเวลาสุภาพสตรีระดับตำนานจากทั่วทุกมุมโลก พร้อมโชว์ที่สุดของล้ำค่าที่หาดูชมได้ยากมากกว่า 34 เรือน คาร์เทียร์เลิฟเวอร์และนักสะสมของวินเทจชาวไทยไปชมแบบเอ็กซ์คลูซีฟได้ตั้งแต่ 25 พ.ย. – 10 ธ.ค. 2564

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

นิกกี้ วอน บูเรน ประธานกรรมการบริหาร Lotus Arts de Vivre (โลตัส อาร์ต เดอร์ วีฟว์) แบรนด์จิวเวลรี่และของตกแต่งบ้านระดับโลกที่รวบรวมผลงานมาสเตอร์พีซโดยช่างฝีมือชั้นสูงตั้งแต่ปี 2525 จับมือกับ มร.แฮรี่ เฟน นักสะสมและผู้เชี่ยวชาญด้าน “คาร์เทียร์ วินเทจ” ระดับโลก อีกทั้งยังเป็นเจ้าของ แบรนด์ Obsidian Objets d’ Art (ออบซิเดียน ออบเจคท์ เดออาร์ต) แห่งกรุงลอนดอน อันโดดเด่นในเรื่องนาฬิกา จิวเวลรี่ และงานศิลป์ชั้นสูงที่นักสะสมทั่วโลกต่างรู้จักเป็นอย่างดี จัดนิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม ในชื่อ Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art : WOMEN are FOREVER – A vintage Cartier Collection หนึ่งในนิทรรศการห้ามพลาดประจำปีอันรวบรวมเรือนเวลาสุภาพสตรีระดับตำนานที่ใช้เวลาเสาะหามาอย่างยาวนานจากทั่วทุกมุมโลก และเรียกได้ว่าหาดูชมได้ยากกว่า 34 เรือน มาให้เหล่าคาร์เทียร์เลิฟเวอร์และนักสะสมของวินเทจชาวไทยได้ชมแบบเอ็กซ์คลูซีฟ รวมถึงมีโอกาสได้ครอบครองอีกด้วย เพื่อตอบสนองกระแสความนิยมของนาฬิกาวินเทจคาร์เทียร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในยุคปัจจุบัน ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละชิ้นถูกเก็บรักษาและคัดเลือกอย่างพิถีพิถันโดย มร.แฮรี่ เฟน นั่นเอง ร่วมด้วย ฟรานเชสกา คาร์เทียร์ บริคเคล ทายาทคาร์เทียร์รุ่นที่ 6 และนักเขียนเจ้าของผลงาน The Cartiers: The Untold Story of the Family Behind the Jewelry Empire ที่มาเผยเบื้องหลังเกี่ยวกับ คาร์เทียร์ แฟมิลี่ และถ่ายทอดเรื่องราวของคาร์เทียร์วินเทจในแง่มุมของผู้หญิงที่คุณอาจไม่เคยสัมผัสมาก่อน

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

ช่วงศตวรรษที่ 20 ถือเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวิถีชีวิตของผู้คนจำนวนมาก คงไม่มีใครคาดคิดว่าตอนปี 1900 ช่วงเวลาที่โลกไม่มีแม้แต่ไฟฟ้า โทรศัพท์ หรือรถยนต์ แต่อีก 100 ปีต่อมากลับเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปรากฏการณ์ขั้นสุดในหลาย ๆ ด้าน โดยหนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นภูมิทัศน์วงการแฟชั่นของเหล่าสุภาพสตรีที่หลุดพ้นจากพันธนาการและค่านิยมในแบบดั้งเดิม เช่นเมื่อคุณหวนคิดถึงวงการแฟชั่นในปี 1900 ดีไซน์ในยุคนั้นมักมาในรูปแบบกระโปรงยาวเข้ารูป เน้นเรือนร่างและปิดถึงช่วงคอ ก่อนเข้าสู่ยุครุ่งโรจน์ทางการออกแบบในปี 1920 เมื่ออิทธิพลของแบรนด์ Chanel มอบอิสรภาพและปรับเปลี่ยนดีไซน์เครื่องแต่งกายให้สาว ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ขณะที่ปัจจุบันแฟชั่นเต็มไปด้วยความหลากหลาย บ้างก็นำมาตีความใหม่ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น แต่เชื่อหรือไม่? สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนนับตั้งแต่วันแรก ๆ ของศตวรรษที่ 20 ไปจนถึงต้นศตวรรษที่ 21 นั่นก็คือ สุภาพสตรีมักสวมใส่นาฬิกาข้อมือเสมอ ทั้งที่ความเป็นจริงในยุคก่อนเพียงแค่สุภาพสตรีเหลือบมองดูเวลาบนข้อมือ ก็ถือว่าเป็นการเสียมารยาทเป็นอย่างมากแล้วก็ตาม

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

กิมมิคของนิทรรศการครั้งนี้จึงต่างไปจาก 2 ครั้งก่อน โดยโฟกัสไปที่เรื่องราวการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 20 ผ่านเรือนเวลาสุภาพสตรี ที่สร้างสรรค์โดยแบรนด์เครื่องประดับระดับตำนานอย่าง Cartier ลองจินตนาการดูว่า มันน่าตื่นเต้นแค่ไหนที่คุณจะได้สัมผัสมุมมองด้านแฟชั่นบนเรือนเวลาผ่านสายตาของ “ผู้ผลิตเครื่องประดับให้ราชา และเป็นราชาแห่งเครื่องประดับ”

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

โดยช่วงแรกเราจะพาคุณไปสำรวจนาฬิกาข้อมือประดับเพชรของช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เรื่อยมา จนถึงช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือราวยุค 1915-1930 ซึ่งถือเป็นยุคทองแห่งการสวมใส่เครื่องประดับเลยก็ว่าได้ - ทุกวันนี้ ต้องยอมรับว่าแม้จะมีผู้ผลิตเครื่องประดับสวยหรู ราคาแพงมากขึ้นกว่ายุคก่อน แต่กลับเป็นเรื่องยากมากที่จะเห็นผู้คนเฉิดฉายด้วยเครื่องประดับเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน ขณะที่กรอบของสังคมในยุค 1920 และ 1930 กลับสวนกระแส เพราะหากคุณไม่มีเครื่องประดับติดตัวสักชิ้น อาจตีความได้ตรงตัวว่า คุณยังไม่พร้อมออกจากบ้าน หรือ เข้าร่วมสังคม

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

ซึ่งภายในนิทรรศการ เรือนเวลาที่นำมาจัดแสดงในช่วงยุคดังกล่าวมีครอบคลุมกว่า 14 แบบ ตั้งแต่เรือนเวลาขนาดจิ๋ว ไปจนถึงนาฬิกาข้อมือไซส์ใหญ่ล้อมรอบด้วยเพชร หรือแม้แต่จับคู่ตัวเรือนกับสร้อยข้อมือไข่มุก นอกจากนี้สิ่งที่เราต้องการสะท้อนให้เห็นก็คือ จินตนาการของนักออกแบบในการสร้างสรรค์ชิ้นงานแต่ละชิ้นช่างแฝงไปด้วยเรื่องราวอันแสนพิเศษเหลือเกิน

และนี่คือ 8 ชิ้นเด่น พร้อมด้วย Crash ราชาแห่งเรือนเวลาประดับเพชรที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในปัจจุบัน

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

1. Diamond Set Wristwatch, 1920 (B.8897)

นาฬิกาข้อมือประดับเพชรปี ค.ศ 1920 โดดเด่นด้วยรูปลักษณ์ที่โค้งมนพร้อมตัวเรือนสี่เหลี่ยมแบบโปร่งประดับเพชรโรสคัท ขาตัวเรือนมาในดีไซน์ฉลุพร้อมกับหัวเข็มขัดแบบบานพับประดับเพชรดั้งเดิม ที่สำคัญมาพร้อมกลไกไขลานที่บางมากและเคสที่ออกแบบให้สวมใส่สบาย เรียกได้ว่าเป็นโมเดลที่ดึงดูดความสนใจของเหล่าสุภาพสตรียุคนั้นได้ไม่ยาก เพราะหลอมรวมความหรูหรา ประณีต และมีดีไซน์ ไว้ในเรือนเดียว

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

2. Cartier Diamond and Natural Pearl Lady’s Wristwatch, 1919 (B.8995)

แม้ขนบแบบดั้งเดิม ผู้หญิงไม่สามารถแม้แต่ชำเลืองมองดูนาฬิกาข้อมือของพวกเธอได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เสียมารยาท แต่การวางตำแหน่งหน้าปัดเข็มนาฬิกาเยื้องศูนย์ของเรือนเวลารุ่นนี้ กลับทำให้สาว ๆ หลายคนบอกเวลาได้ทันทีเพียงแค่เหลือบตามองผ่านอย่างรวดเร็ว โดยโมเดลที่นำมาจัดแสดงถือเป็นหนึ่งในนาฬิกาข้อมือประดับเพชรที่ยอดเยี่ยมและหายากที่สุดของ คาร์เทียร์ ในยุค ค.ศ. 1920 มาในดีไซน์หน้าปัดโปร่ง ทรงรูปไข่ เข็มนาฬิกาแบบเยื้องศูนย์ ประดับรอบ ๆ ด้วยเพชรโรสคัท มาพร้อมรูปทรงหน้าปัดแบบดั้งเดิมจาก คาร์เทียร์ ทั้งยังผสานลูกเล่นด้วยสายนาฬิกาถักทอด้วยไข่มุกสีเทาบริสุทธิ์และเพชรโรสคัทน้ำงาม

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

3. Cartier Diamond and Black Onyx Set Wristwatch, 1921 (B.8996)

ถือเป็นนาฬิกาคาร์เทียร์ที่เข้าใจความต้องการของสุภาพสตรียุคก่อนที่อยากใส่นาฬิกาข้อมือวิบวับราวดั่งสร้อยเพชร โดยแบรนด์สร้างความสะดุดตาด้วยการหยิบเอาอัญมณีแห่งมนต์เสน่ห์อย่าง โอนิคส์ (Onyx) หรือนิลดำ มาตัดกับความแวววาวของเพชรเจียระไนทรงโรสคัทบนดีไซน์หน้าปัดสี่เหลี่ยมได้อย่างลงตัว ขาตัวเรือนประดับเพชรในรูปแบบของศิลปะแนวอาร์ตเดโค (Art Deco) มาพร้อมหลักชั่วโมงโรมันและเข็มทรงเบรเกต์ (Breguet) รวมถึงมาตรนาทีรอบหน้าปัดรูปรางรถไฟหรือ chemin de fer ผลิตขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1921

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

4. Antique Diamond Set Cocktail Watch, 1919 (B.8553)

ในยุคของเรือนเวลาประดับเพชร แม้จินตนาการต่าง ๆ จะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่คาร์เทียร์กลับสร้างสรรค์เรือนเวลาออกมาได้อย่างน่าทึ่ง ตั้งแต่เรือนเวลาขนาดจิ๋วที่ต้องอาศัยทักษะและความประณีตเป็นอย่างมาก ไปจนถึงนาฬิกาขนาดใหญ่ที่สร้างตัวตนได้อย่างน่าจดจำ เรือนเวลาขนาดจิ๋วนี้ถือเป็นความท้าทายที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะขนาดของกลไกที่สร้างความแตกต่างจากเรือนเวลายุคเดียวกันได้อย่างเด่นชัด ทั้งยังเป็นดีไซน์ที่ไม่ว่าเพศไหนต่างจับจ้องที่จะครอบครองทั้งสิ้น ดังจะเห็นได้จากภาพถ่ายของมหาราชาแห่งเมืองอินดอร์ (ประเทศอินเดีย) ช่วงปลายยุค ค.ศ. 1920 ที่สวมใส่เรือนเวลาขนาดจิ๋วกับ dress code แบบ white tie เต็มยศ โดยโมเดลที่นำมาจัดแสดงนี้ผลิตระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน ปี ค.ศ. 1929 ถือเป็นรุ่นที่มีความพิเศษเป็นอย่างมาก เพราะตัวเรือนประดับด้วยเพชรหน้าตัดสี่เหลี่ยมแทนที่จะเป็นแบบทรงกลม ส่งผลให้ประกายงามของเพชรมีเอกลักษณ์ที่ไม่ซ้ำใคร

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

5. Antique Round Diamond Set Cocktail Watch, 1919 (B.8416)

ในช่วงต้นยุคศตวรรษที่ 20 แม้ชิ้นงานส่วนใหญ่ของคาร์เทียร์มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ไปที่เรือนเวลาทรงสี่เหลี่ยม แต่ความเป็นจริงแล้วรูปทรงอื่น ๆ ก็สร้างปรากฏการณ์ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน อย่างตัวเรือนหน้าปัดกลมชิ้นนี้ ก็ถือเป็นอีกชิ้นงานหายากแห่งยุคก็ว่าได้ และหากมองย้อนไปปี 1907 ซึ่งเป็นยุคที่คาร์เทียร์เริ่มสร้างนาฬิกาข้อมืออย่างจริงจัง จนกลายเป็นสิ่งที่ชนชั้นสูงต่างถวิลหา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณสามารถพบเห็นเหล่าสุภาพสตรีสวมใส่เรือนเวลาประดับเพชรมาประชันกันขณะดื่มด่ำดินเนอร์สุดหรูที่ร้านอาหารเก่าแก่ของฝรั่งเศสอย่าง Maxims เพื่อบ่งบอกถึงฐานะและสร้างการยอมรับในแวดวงสังคม โดยนาฬิกาเรือนนี้ผลิตในปี ค.ศ. 1919 โดดเด่นด้วยดีไซน์ทรงกลม ตัวเรือนแพลตินัมประดับเพชรโรสคัท ขณะที่ขาตัวเรือน 2 ข้าง ออกแบบให้โค้งรับกับตัวเรือนได้อย่างไร้ที่ติ ประดับเพชรหน้าตัดสี่เหลี่ยมและเพชรโรสคัท ราว 3 กะรัต

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

6. Antique Tank Normale Diamond Set Cocktail Watch, 1922 (B.8420)

Tank Normale คือรุ่นบุกเบิกของตระกูล Cartier Tank เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 1919 แม้จะมาในดีไซน์สี่เหลี่ยมแสนคลาสสิกที่ถ่ายทอดแรงบันดาลใจมาจากรถถังตามชื่อรุ่น แต่โมเดลปี ค.ศ. 1922 ที่นำมาจัดแสดง กลับชวนให้รู้สึกตื่นตาไม่น้อยกับการตกแต่งตัวเรือนด้วยเพชรเจียระไนทรงโรสคัท

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

7. Cartier Platinum and Diamond Watch, 1927 (8418)

อีกเรือนเวลาที่สะท้อนถึงหัตถ์ศิลป์อันละเมียดละไมของแบรนด์ รังสรรค์ขึ้นในยุค 1920 โดยเรือนเวลาขนาดจิ๋วชิ้นนี้กลายเป็นอีกทางเลือกของหญิงสาวในยุคนั้นทันที เพราะนอกจากจะสามารถสวมใส่กับสร้อยข้อมือประดับเพชรได้อย่างกลมกลืนแล้ว ยังเป็นนวัตกรรมที่น่าจับตาอีกด้วย ซึ่งเรือนที่นำมาโชว์นี้ผลิตในปี ค.ศ. 1927 ประดับด้วยเพชรทรงบาแก็ตต์ที่โดดเด่นอยู่ท่ามกลางเพชรโรสคัทแบบกลม หน้าปัดแสดงหลักชั่วโมงแบบเลขอารบิค ซึ่งถือเป็นสไตล์ที่หายากของคาร์เทียร์ จับคู่สายรัดข้อมือผ้าไหมสีดำ

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

8. Cartier Diamond and Emerald Wristwatch (B.8729)

ชิ้นงานที่ออกแบบโดนผสมผสานเพชร โอนิคส์ และ มรกตไว้อย่างเข้ากัน ถือเป็นเรือนเวลาตัวอย่างที่สะท้อนความคิดสร้างสรรค์อันสุดขั้วของคาร์เทียร์ที่ต้องการเปลี่ยนนาฬิกาให้เป็นอัญมณีและอัญมณีเป็นนาฬิกา โดยโมเดลนี้ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1925

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

Cartier Diamond Crash, 1991 (B.8748)

แม้คาร์เทียร์จะผลิตเรือนเวลาสร้างชื่อมากมายในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ไม่มีเรือนไหนที่กลายเป็นไอคอนของยุคได้อย่าง 'Crash' อีกแล้ว

ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1967 เมื่อ มร.ฌอง-ฌาคส์ คาร์เทียร์ ได้เห็นการชนกันของรถบัสสองชั้นและแท็กซี่สีดำในกรุงลอนดอน นำไปสู่การตั้งคำถามในเวิร์คชอปว่า Cartier Tank จะหน้าตาเป็นอย่างไรหากเข้าไปอยู่ในอุบัติเหตุนั้น ซึ่งนักออกแบบได้ระดมความคิดและทำออกมา จนสุดท้ายได้ออกมาเป็นรูปแบบอย่างที่เราเห็นกัน ส่งผลให้นาฬิกาเรือนนี้กลายเป็นหนึ่งในเรือนเวลาที่น่าจดจำในลอนดอนยุค 60 ซึ่งเป็นยุคที่วงอย่าง ‘เดอะบีเทิลส์’ โด่งดังอย่างสุดขีด หรือแม้แต่รถยนต์ ‘จากัวร์ อี ไทป์’ อันโดดเด่น และการมาของแฟชั่นกระโปรงสั้น โดยคาร์เทียร์ที่กรุงลอนดอนได้สร้างสรรค์นาฬิกา ‘Crash’ เรือนทองราว ๆ 20 เรือน ในช่วงปี 1967-1987 ก่อนที่ฝ่ายผลิตจะย้ายไปปารีสในปี 1990 ตั้งแต่นั้นมา ‘Crash’ ก็กลายเป็นหนึ่งในเรือนเวลาที่มีชื่อเสียงที่สุดของ คาร์เทียร์ ทั้งยังขึ้นชื่อเรื่องดีไซน์ที่ไม่เหมือนใคร

สำหรับโมเดลที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ เป็นตัวเรือนประดับเพชร ผลิตขึ้นที่กรุงปารีสในช่วงต้นยุค 1990 ถือเป็นตัวอย่างชั้นเลิศที่สะท้อนถึงหัตถศิลป์ของ คาร์เทียร์ ณ เวลานั้น โดยนาฬิกาเรือนนี้ได้รับการระบุผลิตปีราวๆ ค.ศ. 1991

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่เป็นตำนานและหาชมได้ยากที่เหล่าสุภาพสตรีต่างเลือกมาเป็นบรรทัดฐานของแฟชั่นในยุคสมัยนั้น ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ไอเท็มเหล่านี้ยังคงความอมตะมาจนถึงปัจจุบัน เพราะไม่ว่าคุณจะสวมใส่เรือนเวลาประดับเพชรซึ่งตอนนี้มีอายุมากกว่า 100 ปีเมื่อใดหรือมิกซ์แอนด์แมตช์กับลุคไหน ก็ยังดูไม่ตกยุค และพร้อมสร้างความประหลาดใจให้คุณอยู่เสมอ เช่นเดียวกับเรือนเวลาดีไซน์คลาสสิก ที่ไม่ได้ตกแต่งด้วย อัญมณีระยิบระยับ และเป็นเพียงตัวเรือนทำจากทองคำ แต่ไม่ว่าจะผ่านกี่ความโกลาหลในช่วงที่เกิดภาวะสงครามและการปฏิวัติ เรือนเวลาอันทรงคุณค่าเหล่านี้ก็ยังสามารถครองใจคนได้ทุกยุคทุกสมัย

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

ฟรานเชสกา คาร์เทียร์ บริคเคล กล่าวว่า “Motto: Never copy, only create คือสิ่งที่ตอกย้ำให้เห็นว่า คาร์เทียร์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ผลงานในอดีตทุกชิ้นจึงถ่ายทอดแรงบันดาลใจมาจากสิ่งรอบตัว ไม่ใช่จากชิ้นงานที่มีอยู่ หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพ หลุยส์ คาร์เทียร์ หนึ่งในสามหลานชายของผู้ก่อตั้งก็เป็นเหมือน สตีฟ จ็อบส์ คือมีความครีเอทีฟสูงมาก มีวิสัยทัศน์ที่ไม่เดินตามใคร ไม่ทำตามแบบแผน พร้อมสร้างความแปลกใหม่อยู่เสมอ เช่น การว่าจ้างสถาปนิกและนักออกแบบภายในมาร่วมทีม เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจวิธีการ และมุมมองในการสร้างสรรค์ชิ้นงานจิวเวลรี่ดีไซน์ใหม่ ๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เรือนเวลายุคนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูง อีกทั้งในยุคนั้นยังเป็นที่กล่าวขานกันว่า สุภาพสตรีที่นับได้ว่าเป็นสไตล์ไอคอนของยุคสมัย มักสวมใส่เสื้อผ้า Chanel ถือกระเป๋า Hermes และสวมใส่นาฬิกา Cartier จึงเป็นที่มาว่าไม่ว่าคุณจะมาจากแวดวงไหน ทุกคนก็ต่างจับจ้องและเสาะหานาฬิกาคาร์เทียร์มาสวมใส่ เฉกเช่นเหล่าสุภาพสตรีและคนดังมากมายในอดีต นิทรรศการครั้งนี้จึงเป็นอะไรที่พิเศษมาก ที่สามารถรวบรวมเรือนเวลาสุภาพสตรีหายากจากทั่วทุกมุมโลกมาไว้มากถึง 34 เรือน ฉันเชื่อว่าคุณจะได้ซึมซับชิ้นงานที่วิจิตรตระการตา จากมุมมองอันน่าทึ่งของตระกูล Cartier อย่างแน่นอน”

ขณะที่ มร.แฮรี่ เฟน เสริมว่า “การแสวงหานาฬิกาคาร์เทียร์โดยเฉพาะต้นยุคศตวรรษที่ 20 ถือเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมาก เพราะทุกเรือนมีความสวยงามเฉพาะตัว ทั้งยังผลิตด้วยมือในจำนวนน้อยชิ้น ยกตัวอย่างเช่น Cartier Diamond and Natural Pearl Lady’s Wristwatch, 1919 (B.8995) ที่นำมาจัดแสดงครั้งนี้ คือหนึ่งในเรือนเวลาที่ปล่อยหลุดมือไม่ได้เด็ดขาด เพราะใครเห็นก็อยากจับจอง ด้วยรูปทรงโค้งที่ค่อนข้างสะดุดตาในยุคนั้น และสร้อยข้อมือไข่มุกจากอ่าวเปอร์เซีย - สำหรับผมนาฬิกาวินเทจของคาร์เทียร์จึงเป็นเหมือนชิ้นงานศิลปะที่จับต้องได้ และไม่ว่าคุณจะส่งต่อไปอีกกี่เจนเนอเรชั่น คุณค่าและมูลค่าของมันยังคงสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับคุณได้เสมอ”

นิกกี้ วอน บูเรน ประธานกรรมการบริหาร Lotus Arts de Vivre กล่าวทิ้งท้ายว่า “แม้จะเป็นปีที่ 3 แล้วที่ได้ร่วมจัดนิทรรศการกับ มร.แฮรี่ เฟน ในฐานะแบรนด์ที่แชร์วิสัยทัศน์ ปรัชญา ไปจนถึงความละเมียดละไมในศาสตร์แห่งศิลป์ร่วมกัน แต่เราก็ตื่นเต้นกับนิทรรศการครั้งนี้มาก เรียกได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เรือนเวลาสุภาพสตรีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ถูกนำมาจัดแสดงที่ประเทศไทยอย่างเป็นทางการพร้อมกันถึง 34 เรือน การมาเยือนในครั้งนี้จึงเป็นอีกก้าวสำคัญของทั้ง Lotus Arts de Vivre และ Obsidian Objets d’Art เพื่อแสดงความขอบคุณต่อแฟนๆ ชาวไทย ทั้งยังสะท้อนถึงการเป็นตลาดสำคัญของนาฬิกาวินเทจอีกด้วย”

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

นิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม  Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art

บทสรุปของนิทรรศการในครั้งนี้จึงเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงสิ่งที่มีอยู่ในอดีต ความเชื่อมโยงกับปัจจุบัน และการที่คุณจะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ไม่ธรรมดาอย่างที่คาร์เทียร์เคยเป็นได้อย่างไร ทั้งหมดนี้สามารถหาคำตอบได้ผ่านนิทรรศการแสดงประวัติศาสตร์เรือนเวลาซีรี่ย์ที่สาม ในชื่อ Lotus Arts de Vivre x Obsidian Objets d’Art : WOMEN are FOREVER – A vintage Cartier Collection โดยสามารถเข้าชมได้ในระหว่างวันที่ 25 พ.ย. – 10 ธ.ค. 2564 เวลา 10.30 - 19.00 น. ณ โลตัส อาร์ต เดอร์ วีฟว์ บูทีค, โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 02-250-0732