posttoday

สร้างกลยุทธ์ฟิตองค์กร พร้อมเปลี่ยนสู่ธุรกิจดิจิทัล

01 มีนาคม 2561

ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่เห็นได้จากรายงานชิ้นล่าสุด โดย PWC ที่พูดถึงผลพวงของ Industry 4.0

โดย เทอร์รี่ ฮิสกี รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ กลุ่มธุรกิจภาคการผลิต Epicor Software Corporation

ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่เห็นได้จากรายงานชิ้นล่าสุด โดย PWC ที่พูดถึงผลพวงของ Industry 4.0 ที่ถูกบางคนมองว่าเป็นเพียงแค่กระแสการตลาด มาวันนี้เป็นการลงทุนและเห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว การก้าวสู่อนาคตในรูปแบบดิจิทัลนั้นไม่ใช่งานง่าย เพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนา ทักษะด้านดิจิทัล ที่ต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการภายในองค์กร

นอกจากนั้น การเปลี่ยนนำโซลูชั่นใหม่เข้ามาติดตั้งใช้งานก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายมหาศาลแก่โรงงานผลิตที่มีระบบดั้งเดิมและส่วนใหญ่ระบบเหล่านั้นไม่สามารถเพิ่ม หรืออัพเกรดฟังก์ชั่นใช้งานใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรแบบดิจิทัลที่แท้จริงได้

อย่างไรก็ตาม ภาระหนี้อันไม่เกิดประโยชน์ทางดิจิทัล (Digital Debt) ก็คือการเผาค่าใช้จ่ายด้านไอทีโดยไม่ เกิดประโยชน์ อันมาจากการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีแบบเดิมเมื่อหลายปีก่อน รวมถึงขาดการรองรับการใช้งานกับซอฟต์แวร์รุ่นเก่า หรือติดกับอยู่กับระบบที่ล้าหลัง อาจเป็นปัจจัยที่ถ่วงธุรกิจจากการเติบโต

รายงานของฟอร์เรสเตอร์ได้แนะนำ 3 ขั้นตอนสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตในการปรับเปลี่ยนจากระบบเดิม เพื่อให้ตอบรับกับโมเดลการทำงานที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ดังนี้

1.ต้องมองหาและจัดลำดับความสำคัญในการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ให้ได้ คือทำความเข้าใจในบทบาทและวิธีการของการปรับเปลี่ยนเข้าสู่องค์กรดิจิทัลว่าจะเข้ามาสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาไปจนถึงการขายและการบริการ การประเมินทั้งระบบเช่นนี้จะช่วยให้การ นำความต้องการของลูกค้าเข้ามาสู่ศูนย์กลางของการดำเนินธุรกิจ

2.ประเมินค่าใช้จ่ายทีละจุด การลงทุนในเทคโนโลยีเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่กลยุทธ์ธุรกิจ และยังเป็นการพัฒนาระดับความสามารถขององค์กรให้เป็นไปตามเป้าหมายของธุรกิจ เช่น การลงทุนกับคลาวด์ช่วยขยายในเรื่องของการทำงานร่วมกันที่ดีขึ้นทั้งระบบ ในบางระบบการเปลี่ยนที่สมบูรณ์แบบและทันทีทันใดนั้นอาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่บางกรณี เช่น การใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ยังคงใช้งานได้ดีอยู่แต่หน้าตากลับดูล้าสมัย การปรับเปลี่ยนโดย สิ้นเชิงก็อาจไม่จำเป็นเท่าใดนัก สำหรับปัญหาเช่นนี้การอัพเดทหน้าตาให้เป็นไปตามที่ต้องการอาจจะเหมาะสมกว่า ทั้งในด้านงบประมาณที่เหมาะสมและโซลูชั่นที่สามารถใช้งานได้ทันที

3.จัดทำแผนฟื้นฟูการทำงานของระบบอย่างชัดเจน จงเปลี่ยนข้อมูล เชิงลึกที่มีอยู่ไปสู่การใช้งานจริง และสร้างประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจด้วยบุคลากรที่ใช่ สร้างกระบวนการขั้นตอนทำงานและวัฒนธรรมองค์กรรองรับการเปลี่ยนแปลงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตและยังไม่มีสัญญาณชะลอตัว

โมเดลการทำงานแบบดิจิทัลนั้นเป็นตัวสร้างแรงขับเคลื่อนด้านความแตกต่างเชิงการแข่งขัน รวมถึงยังทำให้สามารถขยายการทำธุรกิจจากการทำธุรกรรมไปสู่การให้ประสบการณ์ใหม่ แถมยังสามารถเชื่อมโยงทั้งลูกค้าและซัพพลายเออร์ทุกที่ทุกเวลา และเปลี่ยนข้อมูลธรรมดาให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำมาใช้ในระดับกลยุทธ์ ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตที่เดินหน้าสู่องค์กรแบบดิจิทัล เป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเติบโตในธุรกิจในวันข้างหน้าอย่างมั่นคง

การนำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น เข้ามาปรับในองค์กรนั้น นอกจากจะสร้างโอกาสที่แข็งแกร่งเป็นช่องทางในการเติบโตทางธุรกิจในอนาคตได้อย่างดี จึงไม่ควรกังวลเทรนด์ใหม่ๆ ที่มา อย่างรวดเร็ว แต่ต้องเปิดกว้างพร้อมรับ สิ่งใหม่ๆ เสมอ