posttoday

ทุ่มอีก1.5แสนล้านอุ้มเอสเอ็มอีสู้โควิด-19

01 ธันวาคม 2563

ครม.เห็นชอบ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีก 1.5 แสนล้านบาท เพื่อให้แบงก์มั่นใจปล่อยสินเชื่อ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างทั่วถึงและมีสภาพคล่องที่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 (PGS9) วงเงินโครงการ 150,000 ล้านบาท โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อย (บสย.) ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs วงเงินค้ำประกันต่อรายไม่เกิน 100 ล้านบาท ระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 10 ปี ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อเป็นไปตามที่ บสย. กำหนด โดยรัฐบาลจะรับภาระค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการ SMEs ปีละไม่เกิน 1.75% ต่อปี เป็นเวลา 2 ปี ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 42,500 ราย

2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 (Micro 4) วงเงินโครงการ 25,000 ล้านบาท โดย บสย. ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย วงเงินค้ำประกันต่อรายไม่เกิน 500,000 บาทรวมทุกสถาบันการเงิน ค้ำประกันไม่เกิน 10 ปี ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันไม่เกิน 1.5% ต่อปี โดยรัฐบาลจะรับภาระค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการรายย่อยปีละไม่เกิน 1.5% ต่อปี เป็นเวลา 2 ปี ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการรายย่อยได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 100,000 ราย

กระทรวงการคลังมั่นใจว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น มีสภาพคล่องที่เพียงพอและสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพต่อไป

"หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เริ่มบรรเทาลง ส่งผลให้ภาคธุรกิจบางสาขาเริ่มส่งสัญญาณกลับมาฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ดี ยังมีผู้ประกอบการอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) รวมทั้งผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอ โดยสาเหตุสำคัญมาจากสถาบันการเงินยังไม่มั่นใจการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากมองว่าผู้ประกอบการดังกล่าวยังมีความเสี่ยงในการชำระหนี้คืน จึงต้องมีโครงการค้ำประกันดังกล่าวออกมาช่วยผู้ประกอบการ" นายอาคม กล่าว

ไฟเขียวร้านค้ากองทุนหมู่บ้าน เข้าโครงคนละครึ่ง

ครม. ปลดล็อก ให้ร้านค้ากองทุนหมู่บ้าน เข้าโครงคนละครึ่ง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.รับทราบรายงานคณะกรรมการกลั่นกรองใช้เงินกู้พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาท ในส่วนของ 4 แสนล้านบาท เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกจำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย

1. เห็นชอบโครงการเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ ของศูนย์ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ ของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 1,601 ล้านบาท

2. เห็นชอบโครงการส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ด้วยการผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย ของกระทรวงวัฒนธรรม วงเงิน 176 ล้านบาท

3. เห็นชอบปรับปรุงรายละเอียดมาตรการคนละครึ่ง ตามมติ ครม. ที่เคยอนุมัติไปแล้ว โดยให้ขยายขอบเขตร้านค้า จากเดิมที่ให้ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ร้านทั่วไป ที่ไม่ใช่นิติบุคคล และไม่ใช่ร้านสะดวกซื้อ โดยขยายให้ร้านค้าของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เข้าโครงการคนละครึ่งได้ เป็นการช่วยร้านค้าที่มีความสำคัญกับวงจรเศรษฐกิจฐานรากได้มากขึ้น

--------------------------------ประกอบธุรกิจง่ายติดท็อปเท

ไทยตั้งเป้าติด1ใน10ประเทศทำธุรกิจแสนง่าย

ครม.เบรกโครงการรถเก่าแลกรถใหม่

ครม.ทำแท้งโครงการรถเก่าแลกรถใหม่ เลื่อนไม่มีกำหนดเนื่องจากมีรายละเอียดต้องศึกษาเยอะ

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ได้ชี้แจงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงโครงการรถเก่าแลกรถใหม่ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการให้ชะลอโครงการออกไปไม่มีกำหนด เนื่องจากมีรายละเอียดมากที่้ต้องปรึกษาหารือจำนวนมาก ทั้งผู้ประกอบการรถยนต์ กระทรวงการคลัง ว่ารถที่จะเข้าร่วมโครงการจะเป็นรถแบบใด รวมถึงจำนวนที่จะให้แลกที่เหมาะสมจำนวนควรเป็นกี่คัน

"รมว.อุตสาหกรรมขอให้ชะลอโครงการรถเก่าแลกรถใหม่ออกไปก่อน จนกว่าจะได้ข้อสรุปในเบื้องต้น และพูดคุยถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ประกอบการรถยนต์ และจะได้ทำให้ประชาชนที่จะตัดสินใจซื้อรถยนต์ตอนนี้ไม่เกิดความสับสน จนเกิดการชะลอซื้อออกไปก่อน" นายอนุชา กล่าว

นายอนุชา กล่าวว่า ประชาชนที่ต้องการซื้อรถยนต์ขณะนี้ สามารถที่จะพิจารณาข้อเสนอของค่ายรถยนต์ต่างๆ ได้เลย โดบไม่ต้องกังวลถึงโครงการรถเก่าแลกรถใหม่อีกต่อไป เพราะโครงการรถเก่าแลกรถใหม่จะไม่ออกมาภายใน 1 หรือ 2 วัน นี้อย่างแน่นอน โดยมีการชะลอโครงการนี้ออกไปก่อน โดยเสนอให้ ครม. รับทราบแล้ว

ก่อนหน้านี้ นายอนุชา ได้ออกมาชี้แจงว่า โครงการรถเก่าแลกรถใหม่ 1 แสนคัน ยังเป็นเพียงการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นเท่านั้น และยังคงต้องหารือเพิ่มเติมอีกหลายประเด็นในรายละเอียด รวมถึงการขอความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความรอบคอบ รัดกุม และชัดเจน ถึงผลกระทบในรอบด้านที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ทั้งนี้ในการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของโควิด-19 (ศบศ.) ครั้งล่าสุดนั้น ยังไม่มีข้อสรุปใดๆในเรื่องนี้ และหากได้ข้อสรุปแล้ว สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. จะเป็นผู้เสนอ โครงการดังกล่าวเพื่อขอความเห็นชอบจาก ครม. ในขั้นสุดท้าย

ทั้งนี้ บสย. ยังได้เตรียมความพร้อมการดำเนินแผนงาน รองรับการอนุมัติโครงการค้ำประกันสินเชื่อใหม่จำนวน 2 โครงการคือ 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS-9 วงเงิน 150,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้สถาบันเงินมีความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น รวมถึงช่วยเหลือลูกค้า SMEs ที่มีปัญหา ภายใต้ โครงการค้ประกันสินเชื่อ บสย.SMEs สร้างไทย เฟส 2 และ 2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro 4 วงเงิน 25,000 ล้านบาท ซึ่งมีวงเงินเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญในการช่วย ผู้ประกอบการ SMEs ฐานราก กลุ่มอาชีพอิสระ โดยให้ บสย.พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์เยียวยาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งทั้ง 2 โครงการกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาซึ่งมั่นใจว่ารัฐบาลจะมอบโครงการนี้ให้เป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในเร็ว ๆ นี้

ประกันรายได้