posttoday

ปตท.ฝ่าวิกฤตโควิด โชว์กำไรสุทธิไตรมาสแรก ทะลุ 3.2 หมื่นล้าน โต 100%

14 พฤษภาคม 2564

ปตท.ชี้ ปิโตรเคมีและการกลั่นดีขึ้น ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ส่วนรายได้ไตรมาสแรก 4.77 แสนล้านบาท แม้ลดลง 1.2 %จากปีก่อน แต่ภาพรวมกำไรสุทธิทั้งกลุ่มยังอยู่ที่ 3.25 หมื่นล้านบาท

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เผยรายได้ของกลุ่ม ปตท. ในไตรมาส 1 ปี 2564 อยู่ที่ 477,837 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 70,663 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.4 จากไตรมาส 4 ปี 2563  

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานของทุกกลุ่มธุรกิจปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น  ซึ่งเป็นผลจากราคาปิโตรเลียมและปิโตรเคมีในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ฟื้นตัวหลังจากการผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง (Lockdown) รวมถึงการใช้วัคซีนป้องกัน โควิด-19 เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ส่งผลให้ กำไรสุทธิของ ปตท. และบริษัทย่อย ในไตรมาส 1 ของปี 2564  มีจำนวน 32,588 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19,441 ล้านบาท หรือมากกว่าร้อยละ 100.0 จาก 13,147 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส4ของปีก่อน   

ด้านรายได้จากการขายจำนวน 477,837 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2563 จำนวน 5,730 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.2 ส่วนใหญ่จากรายได้ของธุรกิจน้ำ มันที่ลดลงตามปริมาณขาย ที่ลดลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงรายได้ของกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติและ ธุรกิจ ส ารวจและผลิตปิ โตรเลียมที่ปรับลงตามราคาขายเฉลี่ยของก๊าซธรรมชาติที่ปรับลดลง

อย่างไรก็ตาม รายได้ของกลุ่ม ปิ โตรเคมีและการกลั่น รวมถึงธุรกิจการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นตามราคาขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีที่ สูงขึ้น ในไตรมาสแรกของปีนี้ และบริษัทย่อยมีEBITDA เพิ่มขึ้น 70,612 ล้านบาท หรือมากกว่าร้อยละ 100.0 จากไตรมาส 1 ปี 2563  สาเหตุหลักจากกลุ่มธุรกิจปิ โตรเคมีและการกลั่น โดยธุรกิจการกลั่นมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างมากจากกำไรสต๊อกน้ำมันประมาณ 12,000 ล้านบาทในไตรมาสนี้ ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันประมาณ 32,000 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี ก่อนส่งผลให้ Accounting GRM ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.9 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล

ปตท.ฝ่าวิกฤตโควิด โชว์กำไรสุทธิไตรมาสแรก ทะลุ 3.2 หมื่นล้าน โต 100%

กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานดีขึ้น โดยหลักจากต้นทุนก๊าซฯ ที่ลดลง และราคาขาย เฉลี่ยที่สูงขึ้นของธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซฯ ที่ขายให้กับกลุ่มลูกค้า อุตสาหกรรม ส่วนผลการดำเนินงานของธุรกิจสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมปรับลดลงตามราคาขายเฉลี่ยที่ลดลง แม้ว่าปริมาณขายจะเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันสถานะการเงินของปตท. และบริษัทย่อย ณ 31 มีนาคม 2564 สถานะการเงินของปตท. และบริษัทย่อย ณ 31 มีนาคม 2564 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 2,746,715 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 202,532ล้านบาท หรือร้อยละ 8.0 จาก ณ 31 ธันวาคม 2563 สาเหตุหลักจากที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์เพิ่มขึ้น 86,349 ล้านบาท จากการซื้อธุรกิจของ PTTEP รวมถึงการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้และสินค้าคงเหลือตาม ราคาผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น

ขณะที่มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 1,343,557 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 85,219ล้านบาท หรือร้อยละ 6.8 ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาวที่เพิ่มขึ้น 54,999ล้านบาท โดยหลักจากการออกหุ้นกู้สกุลเงิน เหรียญสหรัฐฯ ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จ ากัด (มหาชน) (GC) ประกอบกับเจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นตาม ต้นทุนการซื้อสินค้าและวัตถุดิบที่สูงขึ้น นอกจากนี้ มีส่วนของผู้ถือหุ้น 1,403,158ล้านบาท เพิ่มขึ้น 117,313 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.1 โดยหลักจากการเพิ่มทุนของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก  จำกัด (มหาชน)(OR)และกำไรสุทธิ ปตท. และบริษัทย่อยในไตรมาส 4ปี 2564