posttoday

แนะ 8 ทางรอดเศรษฐกิจไทย

16 พฤศจิกายน 2563

สภาพัฒน์ แนะรัฐบาล 8 ทางรอดเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ กล่าวว่า ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2563 และปี 2564 รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับ 7 ด้าน ประกอบด้วย

(1) การป้องกันการกลับมาระบาดระลอกที่สองในประเทศ

(2) การดูแลภาคเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว

2.1 การเร่งรัดติดตามมาตรการที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองสาขาและพื้นที่เศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว

2.2 การช่วยเหลือและดูแลแรงงาน

2.3 การรณรงค์ให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น

2.4 การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคอย่างรัดกุม

2.5 การดำเนินการด้านวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

(3) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายภาครัฐ

3.1 การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ให้ได้ไม่น้อยกว่า 94.4%

3.2 งบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่า 70%

3.3 งบเหลื่อมปีให้ไม่น้อยกว่า 85%

3.4 การเบิกจ่ายโครงการตามพระราชกำหนดเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ให้ได้ไม่น้อยกว่า 70%

(4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน

4.1 การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของโรคโควิด-19

4.2 การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า

4.3 การให้ความสำคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า

4.4 การลดต้นทุนการผลิตสินค้าที่สำคัญๆ

4.5 การป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนและการแข็งค่าของเงินบาท

4.6 การส่งเสริมการตลาดเชิงรุกผ่านช่องทางออนไลน์

(5) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน

5.1 เร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561 - 2563 ให้เกิดการลงทุนจริง

5.2 การขับเคลื่อนการส่งออกเพื่อเพิ่มการใช้กำลังการผลิต

5.3 การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ

5.4 การประชาสัมพันธ์จุดแข็งของประเทศไทย

5.5 การขับเคลื่อนมาตรการสร้างศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

(6) การดูแลราคาสินค้าเกษตรในบางพื้นที่ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาด และการเตรียมการรองรับปัญหาภัยแล้ง

(7) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองในประเทศ

(8) การเตรียมการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกและการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

นายดนุชา กล่าวว่า เศรษฐไทยไตรมาส 3 ปี 2563 ขยายตัวติดลบ 6.4% เป็นการปรับตัวลดน้อยกว่าที่คาดการไว้มาก และเศรษฐกิจไทย 9 เดือนแรก ขยายตัวติดลบ 6.7% เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวได้ดี และประเทศเริ่มมีการประเทศเกือบ 100% ยกเว้นการจำกัดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทย เท่านั้น ทำให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวได้ดีขึ้น

สำหรับเศรษฐกิจไทย ปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวติดลบ 6% จากเดิมที่คาดว่า 7.5% สำหรับเศรษฐกิจปี 2564 จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ 3.5-4.5%