posttoday

ส่งออกไก่ไทย ใตรมาสแรก โต 7.21%

22 เมษายน 2563

“จุรินทร์” จับมือเอกชน ปั้นยอดส่งออกไก่ไตรมาสแรกเป็นบวก โต 7.21 % เตรียมบุกตลาดต่อ 27 ประเทศ ช่วยเกษตรกร

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้บริหาร ประชุมหารือกับกลุ่มผู้ผลิตไก่สด/แปรรูป นำโดยสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อ สงออกไทย โดยหารือ 3 ฝ่าย ระหว่างภาครัฐ ผู้ผลิตผู้ส่งออก และเกษตรกร เพื่อประเมินสถานการณ์การผลิตและการส่งออก

พร้อมกำหนดแนวทางการบริหารการตลาด และการผลักดันการส่งออกสินค้าไก่ของไทย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ต้องดูแลการบริโภคในประเทศให้เพียงพอ ตลอดจนสนับสนุนการส่งออกให้สอดคล้องกับการผลิต โดยมีผู้เข้าร่วมหารือในวันนี้ เช่น สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท สหฟาร์ม จำกัด บริษัท Cargil บริษัท GFPT เป็นต้น

โดยหลังการประชุม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไก่เนื้อทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นในส่วนของผู้ผลิตแปรรูปและผู้ส่งออกตามแนวทางที่กระทรวงพาณิชย์ต้องการที่จะจับมือร่วมกับเกษตรกรและภาคเอกชนในการเดินหน้าร่วมกัน "พลิกโควิดเป็นโอกาส" เพื่อหาลู่ทางในการแก้ไขดูทางปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับภาคส่วนต่างๆและเตรียมการสำหรับอนาคตเมื่อโควิดหมดสิ้นไป เพื่อทำรายได้กับประเทศให้ได้มากที่สุด

ขณะที่ ผลผลิตของประเทศไทยรวมกันปีละประมาณ 2,860,000 ตันต่อปี ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตไก่เนื้ออันดับท8 ของโลก แต่สามารถส่งออกได้เป็นลำดับที่ 4 ของโลก สัดส่วนการผลิต 100% นั้น แบ่งเป็นเพื่อการบริโภคในประเทศร้อยละ 60 และเพื่อการส่งออกร้อยละ 40

สำหรับปี 2562 ที่ผ่านมา ไทยสามารถส่งออกได้ 900,000 ตัน เป็นมูลราคาประมาณ 109,000 ล้านบาท โดยไตรมาสแรกของปี 2563 สามารถส่งออกได้ 230,000 ตันเป็นมูลราคา 26,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ในช่วงไตรมาสแรกร้อยละ 7.21 ตลาดสำคัญของไทย เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ เกาหลี เป็นต้น

โดยทิศทางการส่งออก มีความเห็นร่วมกันดังนี้ ประการที่หนึ่ง พยายามปรับลดต้นทุนการผลิตไก่เนื้อ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งต้องมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ส่งออกและเกษตรกร รวมทั้งกระทรวงเกษตรฯร่วมกัน ส่วนคู่แข่งสำคัญคือประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผู้ที่ครองตลาดลำดับต้นของโลก โดยในตลาดโลกนั้นมีคู่แข่งรายใหม่เพิ่มเติมอีก เช่น ประเทศยูเครน เป็นต้น มีต้นทุนต่ำไทยประมาณ 1ใน3 จากต้นทุน(การเลี้ยงไก่)ของไทย ประมาณ30 แต่ของประเทศเขาประมาณ 20 เป็นต้น

อย่างไรก็ตามทิศทาง ที่ไทยจะเดินไปด้วยกันจะแยกตลาดส่งออกตลาดไก่เนื้อของไทยเป็น 2 ตาราง คือ ตารางที่หนึ่งก็คือ รักษาตลาดเดิมที่มีอยู่และขยายตลาดเดิมออกมาให้มากที่สุด โดยตลาดเดิม มี 8 ประเทศสำคัญ คือ ญี่ปุ่น อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง แคนาดา เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

แนวทางที่สอง จะเร่งเปิดตลาดใหม่ ที่ยังมีสัดส่วนการตลาดต่ำอยู่ โดยจะทำงานร่วมกับภาคเอกชนมีรายการ 19 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม เดนมาร์ก ออสเตรีย สวีเดน อังกฤษ เยอรมัน ฮ่องกง ซาอุดิอาระเบีย จีนฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ UAE ฟิลิปินส์ และไต้หวัน เป็นต้น

รายงานสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ปริมาณไก่และผลิตภัณฑ์เพียงพอสำหรับคนไทย และช่วงนี้ยังเป็นโอกาสเร่งทำตลาดส่งออกเพื่อชิงส่วนแบ่งจากคู่แข่งในภาวะวิกฤติโดยไม่กระทบต่อการบริโภคในประเทศ โดยประเทศไทยเป็นผู้ผลิตไก่เนื้ออันดับที่ 8 ของโลก มีการผลิตประมาณปีละ 3.3 ล้านตัน และมีปริมาณส่วนเกินเพื่อส่งออกได้เกือบ 1 ล้านตันต่อปี

ขณะนี้คู่แข่งสำคัญของไทย คือ บราซิล กำลังประสบปัญหาจากการรับมือโรคโควิด ทำให้การส่งออกชะลอไป ในขณะที่ไทยสามารถดูแลการผลิตอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างดี จึงมั่นใจว่า ประเทศไทยสามารถพลิกวิกฤติโควิดให้เป็นโอกาสการส่งออกได้

อย่างไรก็ตาม รายงานจากคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า มุมมองนายจุรินทร์นั้นเห็นว่าอุตสาหกรรมไก่ไม่ได้มีแต่ผู้ส่งออกรายใหญ่เท่านั้น แต่มีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อมากกว่า 32,000 ราย หรือประมาณ 5,700 ครัวเรือนทั่วประเทศ กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ เช่น ลพบุรี นครราชสีมา ชลบุรี กาญจนบุรี และสระบุรี เป็นต้น

โดยนอกจากไก่เนื้อแล้ว ยังมีเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ไข่อีกมากกว่า 130,000 ราย มีครัวเรือนในส่วนของไก่ไข่ 4,400 ครัวเรือนในหลายจังหวัด เช่น ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี นครปฐม อยุธยา เป็นต้น ผลิตไข่ได้ประมาณปีละประมาณ 16,000 ล้านฟอง จึงถือว่า ไก่เป็นอุตสาหกรรมที่มีเกษตรกรต้นน้ำจำนวนมาก หากสามารถทั้งขยายการส่งออก และการบริโภคในประเทศได้ ก็จะเป็นการสนับสนุนเกษตรกรฐานรากได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน