posttoday

มาตรการพยุงธุรกิจเศรษฐกิจไม่คืบ

21 เมษายน 2563

คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนฯ ยังไม่สามารถสรุปมาตรการพยุงธุรกิจเศรษฐกิจ เสนอให้นายกเห็นชอบได้

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประธานประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 2/2563 กล่าวว่า การประชุมครั้งแรกได้แบ่งการทำงานเป็น 5 กลุ่ม การประชุมครั้งนี้ได้มีการรับฟังข้อเสนอ โดยแบ่งข้อเสนอต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1. ข้อเสนอที่หารือแล้วสามารถนำเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสนอนายกรัฐมนตรี เห็นชอบได้ทันที

2. เรื่องที่ยังต้องหารือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อให้ชัดเจนก่อน เช่น ข้อเสนอประกันสังคม ต้องหารือกับกระทรวงแรงงาน หรือข้อเสนอมาตรการภาษีต้องหารือกับกรมสรรพากร

3. ข้อเสนอระยะยาว ที่จะดำเนินการหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จบแล้ว

"ข้อเสนอทั้ง 5 กลุ่ม มีหลายมาตรการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานของหน่วยงานและสามารถดำเนินการได้ทันที หลายมาตรการยังไม่ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอีกส่วนหนึ่งเป็นมาตรการระยะยาว สศช. จะได้ดำเนินการประมวลมาตรการและข้อเสนอจากทุกภาคส่วนและนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการโดยเร็วต่อไป" นายทศพร กล่าว

มาตรการพยุงธุรกิจเศรษฐกิจไม่คืบ

นายสุพันธุ์? มงคลสุธี? ประธานกรรมการสภาอุตสาหกรรม?แห่ง?ประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้เสนอที่ประชุม?คณะที่ปรึกษา?ด้านธุรกิจ?ภาคเอกชนฯ เรื่องปัญหาการขาดสภาพคล่องของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ยังเข้าไม่ถึงซอฟท์โลนของธนาคารออมสิน 1.5 แสนล้านบาท และกลัวเข้าไม่ถึงซอฟท์โลนของ ธปท. ที่ออก พ.ร.ก. 5 แสนล้านบาท อีกด้วย

"ตอนนี้ที่กังวลมากที่สุด คือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับความเดือนร้อนจริงๆ จะไม่ได้รับเงินกู้ซอฟท์โลน์ของ ธปท. ที่ออก พ.ร.ก. 5 แสนล้านบาท เพราะเกรงว่าธนาคารพาณิชย์จะให้กับลูกค้าของธนาคารเป็นหลักก่อน ทั้งๆ ที่ผู้ประกอบการนั้นได้รับความเดือนร้อนน้อยกว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายอื่นๆ" นายสุพันธุ์ กล่าว

นายสุพันธุ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ข้อเสนออื่นที่ให้ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ก็ยังต้องหารือกับกับหน่วยงานอื่น ยังไม่สามารถเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา หรือ เห็นชอบได้ โดยในฐานะที่ดูแลกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้เสนอมาตรการต่างให้คณะที่ปรึกษา?ด้านธุรกิจ?ภาคเอกชนฯ ประกอบด้วย

1. ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มลดเงินนำส่งประกันสังคมจาก 4% เหลือ 1% เป็นเวลา 180 วัน หรือ 6 เดือน

2. ให้นำรายจ่ายหักลดหย่อนได้ 3 เท่า ที่เกี่ยวกับโควิด-19 เป็นเวลา 3 เดือน โดยจากเดิมให้เริ่มหักเดือน ธ.ค. 2562 มาเป็นเริ่มเดือนมี.ค. 2563

3. ให้ผู้ประกอบการและลูกจ้างหยุดจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ ซึ่งตอนนี้กฎหมายให้ทำไม่ได้

4. ปรับการจ้างงานจากรายวันเป็นรายชั่วโมง เหลือวันขั้นต่ำ 4 ชั่วโมง จากเดิม 8 ชั่วโมง

5. ผ่อนผันใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างชาติออกไปอีก 6 เดือน

6. ให้รัฐบาลช่วยจ่ายค่าแรงให้กับลูกจ้าง 50% หรือไม่เกิน 7,500 บาท คิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท โดยนายจ้างจะจ่าย 25% และอีก 25% จะขอลูกจ้างช่วยลดค่าแรง

7. ให้รัฐบาลช่วยจ่ายค่าชดการเลิกจ้างงาน 3 เดือน กรณีที่ผู้ประกอบการต้องเลิกจ้างแรงงานและต้องจ่ายชดเชยตามกฎหมาย

8.ให้รัฐบาลลดภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่มีอัตรา 1% 3% 5% ให้เหลือ 1% ทุกกรณีในปี 2563 จากที่ก่อนหน้านี้ลดให้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับเฉพาะผู้ประกอบการรับจ้างทำงานเหลือ 1.5% เท่านั้น

9. ยกเว้นภาษีนิติบุคคลเอสเอ็มอี 3 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2565 โดยมีเงื่อนไขผู้ประกอบการต้องเข้าระบบยื่นภาษีแบบอีไฟล์ริ่งของกรมสรรพากร

10. ให้ผู้ประกอบการนำขาดทุนสะสมไปหักหย่อนภาษีได้เพิ่มจาก 5 ปี เป็น 7 ปี และเร่งรัดการคืนภาษีให้กับผู้ประกอบการเร็วขึ้น

11. เลื่อนการจ่ายค่าน้ำค่าไฟฟ้าไป 6 เดือน และขอลดค่าน้ำค่าไฟฟ้า 5% คืนประกันให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่เกิน 50 แอมป์

12. ชะลอการเก็บภาษีที่ดินออกไปอีก 1 ปี

13. เลื่อนการปรับกรณีการจัดซื้อจัดจ้างล่าช้าออกไป 4 เดือน

14. ให้บริษัทใหญ่ ไม่เลื่อนการจ่ายเงินให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อไม่ให้กระทบกับการจ้างแรงงาน และให้ผู้ประกอบการเว้นค่าเช่าให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้นำรายจ่ายทั้งหมดมาหักลดหย่อนภาษีได้ 3 เท่า

15. ให้ยกเว้นเพดานการบริจาคจากไม่เกิน 2% เป็นหักได้ไม่จำกัด เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนบริจาคมากขึ้น

"หากมาตรการต่างๆ ที่ขอไปทยอยออกมาช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ไวเท่าไร ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการรักษาการจ้างงานของแรงงานได้มากเท่านั้น" นายสุพันธุ์ กล่าว

ด้านนายปรีดี? ดาวฉาย? ประธานสมาคมธนาคาร?ไทย กล่าวว่า ได้รายงานที่ประชุมเรื่องการปล่อยกู้ดอกเบี้ยสินเชื่อต่ำ หรือ ซอฟท์โลน ตอนนี้่ พ.ร.ก. ของธปท. ปล่อยกู้ซอฟท์โลน 5 แสนล้าน ให้ ธนาคารพาณิชย์ และ ธนาคารของรัฐ ปล่อยกู้ต่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีผลบังคับใช้แล้ว โดยต้องปล่อยกู้ภายใน 6 เดือน จากวันที่ พ.ร.ก. มีผลบังคับใช้

ทั้งนี้เงื่อนไขการปล่อยกู้กว้างๆ ถือว่ามีเงินจำนวนมาก ผู้ประกอบการสนใจกู้ เพราะดอกเบี้ย 2% ใน 2 ปี และไม่ต้องชำระดอกเบี้ย 6 เดือนแรก เพราะรัฐบาลจ่ายให้

อย่างไรก็ตาม การปล่อยสินเชื่อต้องมีการพิจารณาของผู้กู้ ต้องเป็นเอสเอ็มอีในประเทศไทย วงเงินไม่กู้ไม่เกิน 500 ล้านบาท และกู้ได้ 20% ของวงเงินกู้ที่เหลืออยู่ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2562 ต้องไม่เป็นบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

มาตรการพยุงธุรกิจเศรษฐกิจไม่คืบ

ขณะที่ นายกลินท์? สารสิน? ประธานกรรมการสภาหอการค้า?แห่ง?ประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้เสนอที่ประชุม?คณะที่ปรึกษา?ด้านธุรกิจ?ภาคเอกชนฯ ถึงแนวทางให้ธุรกิจกลับมาเปิดบริการได้อีกครั้ง โดยที่ผ่านมาได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว โดยได้จัดลำดับของจังหวัดเป็น 3 กลุ่ม คือไม่มีความเสี่ยงไม่พบผู้ติดเชื้อเกิน 14 วัน จังหวัดที่มีความเสี่ยงบ้างคือพบผู้ติดเชื้อไม่มาก และจังหวัดที่มีความเสี่ยงคือพบผู้มีคนติดเชื้อมาก

นอกจากนี้ ยังแบ่งกลุ่มธุรกิจเป็น 3 กลุ่ม เช่นกัน คือ กลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง กลุ่มที่มีความเสี่ยง และกลุุ่มที่มีความเสี่ยงมาก โดยต้องพิจารณาทั้งจังหวัดและธุรกิจควบคู่กันไปว่าจะเปิดกลับมาให้บริการได้หรือไม่

นายกลินท์ กล่าวว่า จากข้อมูลดังกล่าว จึงมีการเสนอให้ทดลองเปิดธุรกิจช่วง 2 อาทิตย์ ใน 2-3 จังหวัด และมีการประเมินผล หลังจากนั้นลองเปิด 1 เดือน และเปิดทั้งหมด ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศูนย์โควิด

"ในช่วงทดลองของให้ธุรกิจมาเปิดใหม่ คงไม่ใช่ในกรุงเทพแน่นอน เพราะมีความเสี่ยงพบผู้ติดเชื้อมาก ต้องเริ่มในจังหวัดที่ไม่มีความเสี่ยง และธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยงก่อน" นายกลินท์ กล่าว

นายกลินท์ กล่าวว่า ข้อเสนอมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ต้องมีมาตรการในการปรับพฤติกรรมของประชาชน โดยมีการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติของประชาชนและสถานที่ให้บริการ กระบวนการอนุญาตและติดตาม อาทิ การลงทะเบียนสำหรับสถานประกอบการ การติดตามตรวจสอบโดยภาครัฐระดับท้องถิ่นและจังหวัด การรายงานของภาคประชาชนผ่านแอพลิเคชันไลน์ และการสื่อสาร โดยภาครัฐจัดทำแผนการสื่อสารไปสู่ประชาชนและสถานประกอบการให้รับทราบถึงข้อปฏิบัติและแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งคณะทำงานร่วมในการดำเนินการ ประกอบด้วยภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคสังคมและวิชาการ ซึ่งเอกชนจะต้องไปหารือในรายละเอียดกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ศูนย์โควิดที่มีนายกเป็นประธานเห็นชอบ

มาตรการพยุงธุรกิจเศรษฐกิจไม่คืบ

ขณะที่ นายประพัฒน์? ปัญญาชาติรักษ์? ประธานสภาเกษตรกร?แห่งชาติ เปิดเผยว่า ได้เสนอที่ประชุม?คณะที่ปรึกษา?ด้านธุรกิจ?ภาคเอกชนฯ ในส่วนของเกษตรกรได้เสนอมาตรการทั้งระยะสั้นและยาว เพื่อให้คณะกรรมการชุดนี้เสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป

สำหรับมาตรการระยะสั้นประกอบด้วย 4 มาตรการ ได้แก่

1. เสนอให้รัฐบาลเยียวยาโอนเงินสดเข้าบัญชีเกษตรกรเป็นครัวเรือน เดือนละ 5,000 บาทอย่างน้อย 3 เดือน หรือ มากกว่านั้นจากกว่าผลกระทบโคววิดจะส่งผลกระทบกับรายได้ของเกษตรกร

2. เสนอให้รัฐบาลพักหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 12 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อรอให้การผลิตรอบใหม่มีรายได้ชำระหนี้ได้ โดยการพักหนี้ 12 เดือน รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยให้กับเกษตรกร

3 ให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหา เกษตรกรที่มีปัญหาเช่าซื้อเครื่องจักรกลทางการเกษตร และมีปัญหารายได้ชำระหนี้ไม่ได้ ทำให้มีปัญหาถูกยึด ไม่สามารถทำอาชีพต่อไป จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการมาแก้ไขในส่วนนี้เป็นการเร่งด่วน

4. ขอให้รัฐบาลทำระบบขายสินค้าเกษตรออนไลน์ และให้บริษัทไปรษณีย์ ไทย คิดค่าจัดส่งสินค้าเกษตรในราคามิตรภาพให้กับเกษตรกร ลดค่าส่งให้ 50% ปัจจุบันค่าส่งทุเรียนลูกหนึ่ง บริษัทไปรษณีย์ คิดค่าส่ง 50-60 บาท ซึ่งแพงไปทำให้ผู้บริโภคไม่ซื้อสินค้าทางออนไลน์จากเกษตรกร

สำหรับมาตรการระยะยาว ต้องการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตั้งกองทุนเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตยกระดับคุณภาพเกษตร วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ให้กับเกษตรกรไปปรับปรุงการผลิตให้ทันสมัยและมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

"มาตรการทั้งหมด ต้องการให้นายกรัฐมนตรีเห็นชอบโดยเร็ว เพราะเกษตรกรได้รับความเดือนร้อน ส่วนจะได้รับการพิจารณาทันทีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี" นายประพัฒน์? กล่าว