posttoday

ไวรัสอีโบลา รีเทิร์น หวั่นซ้ำเศรษฐกิจโลก

04 มิถุนายน 2563

คอลัมน์ Great Talk

รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ประกาศเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ว่าไวรัสอีโบล่ากำลังระบาดในเมือง เอ็มบันดากา ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 4 ราย รวมเสียชีวิตทั้งหมดทั้งหมด 2,243 ราย ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา

ที่ผ่านมา คองโก เผชิญกับการระบาดของอีโบลา มาแล้ว 11 ครั้ง นับตั้งแต่เริ่มค้นพบไวรัสครั้งแรกในประเทศดังกล่าวเมื่อปี 1976 ซึ่งการระบาดครั้งใหญ่สุดเกิดขึ้นในปี 2018 โดยลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านในแอฟริกาหลายประเทศ และมีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน

โดยองค์กรอนามัยโลก(WHO) กล่าวว่า สถานการณ์ในคองโกล่าสุดเป็นสัญญาณเตือนว่าโควิด-19 ไม่ใช่ภัยคุกคามหนึ่งเดียวที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้

โรคนี้เกิดจากไวรัสอีโบลา ซึ่งผู้ติดเชื้อจะมีอาการเหมือนโรคไข้เลือดออก โดยอาจเป็นไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน หรือ อาจรุนแรงถึงขั้นเลือดออกและอวัยวะภายในทำงานล้มเหลว

พบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ.2519 เป็นการระบาดที่เกิดขึ้นพร้อมกัน 2 แห่ง คือ    เมืองนซารา ประเทศซูดาน และเมืองยัมบูกู สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกที่เมืองยัมบูกูเกิดขึ้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งริมแม่น้ำอีโบลา โรคนี้จึงได้ชื่อตามชื่อแม่น้ำแต่นั้นมา

สามารถเข้าสู่มนุษย์ผ่านการสัมผัสกับเลือด สิ่งคัดหลั่งหรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อในแอฟริกา มีหลักฐานว่าเกิดจากการสัมผัสสัตว์ติดเชื้อได้แก่ ชิมแปนซี กอริลลา ค้างคาวผลไม้ ลิง แอนติโลปป่า และเม่น สัตว์เหล่านี้อาจกำลังป่วยหรือพบเป็นซากอยู่ในป่าทึบที่มีฝนตกมาก

จากนั้น ก็แพร่ระบาดไปในชุมชน โดยแพร่โรคจากคนสู่คน การติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสโดยตรง ผ่านผิวหนังที่เป็นแผล เลือด สิ่งคัดหลั่ง หรือ ของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของผู้ติดเชื้อและจากการสัมผัสโดยอ้อมกับสิ่งแวดล้อมต่างๆที่ปนเปื้อนด้วยของเหลวดังกล่าว พิธีฝังศพ ที่ผู้เข้าร่วมพิธีมีโอกาส สัมผัสร่างกายของผู้ตายโดยตรงมีผลต่อการแพร่โรคอีโบลา

นอกจากนี้ ชายผู้หายป่วยด้วยโรคอีโบลาแล้วยังสามารถแพร่เชื้อไวรัสผ่านน้ำอสุจิของเขาได้อีกนานถึง7สัปดาห์หลังหายจากโรค

แม้ว่าไวรัสอีโบลาจะเริ่มระบาดมานานมากแล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยารักษาจำเพาะขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย

เราได้แต่คาดหวังว่า โลกจะสามารถผลิตวัคซีน เพื่อป้องกันไวรัสนี้ได้อย่างรวดเร็วก่อนที่ จะระบาดแพร่เชื้อร่วมกันไวรัสโคโรน่า