posttoday

รวมกันสู้โควิด

22 เมษายน 2563

คอลัมน์ Great Talk

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ภาคธุรกิจทั้งรายใหญ่รายย่อยได้รับผลกระทบ กันอย่างมาก ความคล่องตัวของรายย่อยทำให้ เกิดกระแสตลาดฝากร้านออนไลน์ ที่จัดตั้งโดยสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วประเทศ เช่น

กลุ่ม “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” สมาชิกมากกว่า 140,000 คน ,“จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” สมาชิกมากกว่า 190,000 คน , “ตลาดนัด มศว” 14,000 คน“หอการค้า มาร์เก็ตเพลส” 9,600 คน “KU จะฝากร้าน” 84,000 คน

การรวมตัวดังกล่าวทำให้ผมได้นึกถึงร้านขายของชำที่สามารถยืดหยัดสู้ร้านสะดวกซื้อได้ เช่น ร้านบิ๊กเต้ แถวมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ รังสิต ร้านโชห่วยที่สู้กันด้วยคารมและข้อความดีๆที่ส่งผ่านถึงลูกค้าให้ได้อ่าน

ร้านจีฉ่อย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร้าน ล.เยาวราช หรือร้านโชห่วยในซอยห้วยขวางตรงข้ามพระพิฒเนศ(ผมจำชื่อไม่ได้)

สิ่งที่ทำให้กลุ่มดังกล่าวเป็นกระแส ณ ขณะนี้ ล้วนเกิดจากจุดแข็งที่ทำให้ร้านขายของชำสู้กับเซเว่นได้คือ

  1. ความหลากหลายของสินค้า
  2. ความอินเทรนด์
  3. ความเป็นกันเองกับลูกค้า
  4. การเข้าถึงลูกค้า

ผมยกตัวอย่างความหลากหลายสินค้าและความอินเทรนด์ในกลุ่มตลาดออนไลน์จากสถาบันต่างๆ

“หมวดของกิน” มีขายทั้ง ข้าวเหนียวทุเรียน โรตี สะตอ คื่นช่าย ผัดไทย ใบมะกรูด ไปจนถึงมะนาวเป็นลูกๆเด็ดสดจากต้น

“หมวดของใช้” ต่างหู กระถางต้นไม้ ลำโพง นาฬิกา

“หมวดบริการ” รับงานแปลอักษร ทนายความจ้างรายจ๊อป ซ่อมรถยนต์ รับล้างรถยนต์ที่บ้าน ไปจนถึง ติดประกาศโฆษณาที่เสื้อที่ตนเองใส่แล้วคิดค่าสปอนเซอร์

“หมวดสินค้าพิเศษ” เช่น หมูป่าและจระเข้ตัวเป็นๆ จากฟาร์ม พร้อมใบอนุญาติเคลื่อนย้าย พระเครื่อง ดาบ ง้าว หอกโบราณ

“หมวดบริการพิเศษ” จากกระแสคนทำ vlog เรื่องสุนัขกันเป็นจำนวนมากทำให้ มีการเปิดรับสอนฝึกสุนัขเป็นรายชั่วโมงเกิดขึ้น

ความเป็นกันเองกับลูกค้าเนื่องจากเป็นการจัดตั้งโดยรุ่นพี่รุ่นน้องในสถาบันทำให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป รุ่นพี่บางคนเข้ามาทักทายในกลุ่มแล้วเกิดการพูดคุยและเปลี่ยนกันทำให้เกิดการช่วยเหลือซื้อสินค้าหรือบริการกันเอง

การเข้าถึงลูกค้า โดยใช้กลุ่มโซเชียลมีเดีย ทำให้ง่ายต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์

ความสำเร็จ ในการสร้างกระแสกลุ่มกระแสตลาดนัดออนไลน์ คือตัวอย่างของการร่วมแรงร่วมใจกันในยามตกทุกข์ได้ยาก เพื่อช่วยกัน จับจ่ายใช้สอยสินค้าหรือบริการจาก รุ่นพี่ รุ่นน้อง อย่างแท้จริง

โมเดลที่ควรทำต่อจากนี้ คือ เราต้องสร้างแพล็ตฟอรม์การซื้อขายสินค้าหรือบริการระหว่างกันในรูปแบบออนไลน์ผ่านมือถือ เช่นแอฟพลิเคชั่น โดยใช้จุดแข็งที่เจ้าใหญ่ทำไม่ได้เช่น “ความไม่ยุ่งยากของการสมัครเพื่อเสนอขายสินค้า” “สินค้าหรือบริการมีหลากหลายแยกจำนวนชิ้นได้”

“บริการจัดส่งอาจเป็นวินมอเตอร์ไซค์หรือฝากให้เพื่อนข้างบ้านไปรับสินค้าแทนโดยมีการลงทะเบียนยืนยันตัวตนเอาไว้ผ่านแอฟพลิเคชั่นดังกล่าว” “มีcommunity ที่ผู้ซื้อกับผู้ขายสามารถพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น”

“เจ้าของแพล็ตฟอร์ม สามารถนำสินค้ามา Co-promotion ได้ เช่น ซื้อผ้าอ้อมแถมยาดม ซื้อผ้าอนามัยแถมยาพาราเซตามอลเป็นต้น”

ส่วนตัวผมอยากเห็นปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงธุรกิจออนไลน์ แบบแลกเปลี่ยนสินค้าบริการกันเพื่อช่วยเหลือเราชาวไทยเพราะที่ผ่านมาเรามักต้องใช้บริการตัวกลางจากต่างชาติกันทั้งนั้น

บริการของคนไทยสินค้าไทยหากเราร่วมแรงร่วมใจกันจะทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นได้อย่างแน่นอน

#รวมกันสู้โควิด