posttoday

ต้นทุนที่ต่างกัน

18 กุมภาพันธ์ 2563

โดย ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

สวัสดีครับ อาจารย์ พอดีผมได้อ่านคอลัมน์ที่แล้วของ อจ.เรื่องทำสิ่งที่ชอบ จริงๆผมก็มีสิ่งที่ชอบนะครับ แต่ผมที่บ้านไม่มีทุนทำธุรกิจเลย จะคิดไกลแต่ก็ไม่กล้าคิดไปเยอะ มีไอเดีย แต่ก็ไม่รู้จะไปรอดไหม

ตอนนี้ได้แต่คอยหาแนวทางทำธุรกิจ ที่ใช้ทุนน้อยๆ ผมไม่รู้จะไปต่อทางไหน อาจารย์ช่วยแนะนำได้ไหมครับ

จากลูกศิษย์ของ อจ อีกคน

สวัสดีครับคุณลูกศิษย์

ปัจจุบันการศึกษาถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของโลกและประเทศของเรา ค่าใช้จ่ายการศึกษาในระบบ แบ่งเป็นสามประเภทง่ายๆ คือ แหล่งการศึกษาของรัฐบาล แหล่งการศึกษาของเอกชน

และสุดท้ายแหล่งการศึกษาสูตรอินเตอร์หรือภาษาต่างประเทศ

ความยากง่ายก็แตกต่างกันไปตามจำนวนของผู้ที่ต้องการเรียน รัฐบาลในสถาบันที่มีชื่อเสียงก็ยากหน่อยเพราะค่าเรียนไม่แพงแต่ความต้องการผู้เข้าเรียนมาก เอกชนอาจแพงหน่อยบางที่เข้ายากบางที่เข้าไม่ยากมาก

หลักสูตรนานาชาติ แพงแน่นอนแต่ก็แลกมาด้วยสังคมในโรงเรียนที่ดี (ในความเห็นของคนส่วนใหญ่) ค่าเฉลี่ย อนุบาล 4 ปี แบบประหยัด ประมาณ 4,000 บาท แบบสายกลาง 120,000 บาท แบบเต็มเหนี่ยว 300,000 ขึ้นไประดับชั้นประถม 6 ปี แบบประหยัด ประมาณ 4,000 บาท แบบสายกลาง 80,000 บาท แบบเต็มเหนี่ยว 330,000 ขึ้นไป ระดับ มัธยมศึกษษ 6 ปี

แบบประหยัด ประมาณ 6,000 บาท แบบสายกลาง 100,000 บาท แบบเต็มเหนี่ยว 600,000 ขึ้นไป ระดับ ปริญญาตรี 4 ปีแบบประหยัด ประมาณ 40,000 บาท แบบสายกลาง 200,000 บาท แบบเต็มเหนี่ยว 700,000 ขึ้นไป

ดังนั้นเราใช้เงินเพื่อการศึกษาเพื่อจบปริญาตรี โดยประมาณแบบประหยัด ประมาณ 54,000 บาท แบบสายกลาง 500,000 บาท แบบเต็มเหนี่ยว 1,930,000 ขึ้นไป

ที่เราบอกว่าที่บ้านไม่มีทุนทำธุรกิจเลย อันนี้ผมว่าไม่จริงนะครับ เพราะปัจจุบันที่ผมกำลังตอบคำถามผ่านคอลัมภ์ให้เราอ่านนี้ ที่บ้านของ นศ ก็กำลังลงทุนครั้งยิ่งใหญ่กับ นศ อยู่นะครับ

โดยทางครอบครัวของ นศ ไม่ใช่การนำเงินเป็นกอบเป็นกำมาให้กับเราเพื่อนำไปทำธุรกิจหรือนำเงินมาให้เราไปใช้ประกอบกิจการใดๆ

ในโลกของทุนนิยมนักลงทุนทั้งหลายย่อมหวังผลตอบแทนจากการลงทุนแต่ในโลกของครอบครัวผลตอบแทนที่ท่านคาดหวังน่าจะเป็น “อยากให้เราดูแลตัวเองได้ในยามที่ท่านแก่ชราและเป็นคนดีของสังคม”

ดังนั้นก่อนที่จะมองว่า ตนเอง ไม่มีต้นทุนใดๆที่ได้จากครอบครัวเป็นตัวเงินเหมือนคนอื่นเขา ให้มองย้อนกลับว่า เราจะสร้างโอกาสจากสิ่งใด จาก “ต้นทุน” ที่มี มากกว่า พยายามหาต้นทุนที่ตนเองไม่มีจะดีกว่าครับ

“ต้นทุนที่ต่างกัน”

ต้นทุนที่ต่างกัน