posttoday

นายกฯเปิดใช้เคเบิ้ลใต้น้ำเพิ่มโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

29 กันยายน 2560

นายกฯเปิดโครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศมูลค่าการลงทุน 20,000 ล้านบาท เพิ่มโอกาสผู้มีรายได้น้อยเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

นายกฯเปิดโครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศมูลค่าการลงทุน 20,000 ล้านบาท เพิ่มโอกาสผู้มีรายได้น้อยเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

พลเอก ประยุทธ  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางเปิดโครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ระบบ Asia–Africa–Europe–1 (AAE-1) ตั้งอยู่ที่บ้านตะโล๊ะใส ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล  โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ โดย บมจ.ทีโอที ได้ร่วมลงทุนกับกลุ่มทุนจากบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำระหว่างประเทศอีก 17 ประเทศ (France, Italy, Greece, Egypt, Saudi Arabia, Djibouti, Yemen, Oatar, UAE, Oman, Pakistan, India, Myanmar, Cambodia, Vietnam, HongKong, Malaysia และ Singapore) ในการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำความจุสูงระบบแรกที่มีเส้นทางหลักผ่านประเทศไทยโดยมีแนวเส้นทางเคเบิลจากฮ่องกง พาดผ่านภาคใต้ซึ่งมีจุดขึ้นบกที่จังหวัดสงขลาและเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงภาคพื้นดิน Thailand Crossingไปยังจังหวัดสตูล เชื่อมโยงไปยุโรป โดยโครงการระบบ AAE-1ใช้เทคโนโลยีล่าสุด 100Gbps ต่อหนึ่งคลื่นนำแสง มีความจุอย่างน้อย 32 ถึง40 Tbps  มูลค่าการลงทุน 20,000 ล้านบาท

 

นายกฯเปิดใช้เคเบิ้ลใต้น้ำเพิ่มโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

ปัจจุบันภาพรวมของโครงการดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 90 โดย phase 1เส้นทางประเทศไทย-ยุโรป ได้เปิดใช้งานแล้ว และเส้นทางประเทศไทย-สิงคโปร์อยู่ระหว่างการทดสอบ สำหรับ phase 2 เส้นทางประเทศไทย-ฮ่องกง จะสามารถเปิดใช้งานได้ประมาณไตรมาสสุดท้ายของปี 2560ในส่วนของประเทศไทยทีโอที ได้ติดตั้งอุปกรณ์สถานีเคเบิลใต้น้ำปากบาราที่จังหวัดสงขลาและจังหวัด.สตูล และได้ดำเนินการติดตั้งเคเบิลใยแก้ว Thailand Crossingเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งโครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ระบบ AAE-1 จะสร้างประโยชน์โดยรวมให้กับประเทศไทยโดยสามารถเพิ่มความจุวงจรสื่อสารระหว่างประเทศซึ่งจะสามารถรองรับความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประเทศได้อย่างหลากหลายและเพียงพอในระยะยาวช่วยลดต้นทุนในการเชื่อมต่อวงจรต่างประเทศ ส่งผลให้บริการของผู้ประกอบการโทรคมนาคมในประเทศไทยลดลง ทำให้การให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ภาคราชการ และธุรกิจด้วยราคาที่ถูกลง
        
ทั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ของประชาชนที่มีรายได้น้อยและสามารถใช้เป็นเส้นทางสำรองในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เช่น จากสมอเรือ แผ่นดินไหวกลางทะเล ทำให้การสื่อสารของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง