posttoday

จับตาประเทศกลุ่ม CIS ขึ้นแท่นตลาดท่องเที่ยวใหม่ของไทย แทนที่จีน

10 มิถุนายน 2568

แม้ตลาดจีนหดตัว แต่ไม่ใช่ทางตัน Yango Ads ชี้โอกาสใหม่จากนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ CIS จะกลายเป็นตลาดสำคัญเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยต่อไป

นางสาวเนฮะ ดาวาร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจประจำประเทศไทยของ Yango Ad ประเมินว่า ภูมิทัศน์การท่องเที่ยวของไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 9.55 ล้านคนในไตรมาสแรกของปีนี้ สร้างรายได้ 4.71 แสนล้านบาท แต่รายได้กลับเติบโตเล็กน้อยเพียง 2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

 

และในภาคการท่องเที่ยวไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเคยเป็นตลาดหลักที่ใหญ่ที่สุดของไทย มีสัดส่วนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยในช่วงสี่เดือนแรกของปี 2568 มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางมายังประเทศไทยประมาณ 1.65 ล้านคน ซึ่งลดลงประมาณ 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

 

ยิ่งไปกว่านั้น ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในเอเชีย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค นักท่องเที่ยวเลือกที่พักแรมในระยะเวลาที่สั้นลง ลดขนาดกลุ่มเดินทาง และหันไปพิจารณาจุดหมายปลายทางที่ค่าใช้จ่ายถูกกว่ามากขึ้น เช่น เวียดนามและมาเลเซีย
 

แต่ถึงอย่างนั้นสถานการณ์ก็ไม่ได้เลวร้ายไปเสียทั้งหมด เบื้องหลังตัวเลขที่อยู่พาดหัวข่าวเหล่านั้น ฐานการท่องเที่ยวของไทยกำลังกระจายตัวอย่างเงียบ ๆ

 

ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 25 พฤษภาคม 2568 รัสเซียติดอันดับหนึ่งในสามของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไทยมากที่สุด ด้วยจำนวน 947,352 คน ตามหลังเพียงจีนและมาเลเซียเท่านั้น 

 

ในขณะที่นักการตลาดหลายรายยังคงมุ่งเน้นไปที่ตลาดดั้งเดิม แต่การเติบโตของการท่องเที่ยวกลับถูกขับเคลื่อนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยนักเดินทางจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) และยุโรปตะวันออก ซึ่งรวมถึง รัสเซีย คาซัคสถาน และจอร์เจีย
 

 

ข้อมูลใหม่จาก Yango Ads ประกอบกับข้อมูลเชิงลึกจากหน่วยงานการท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรมในเอเชีย ล้วนชี้ชัดว่าถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจท่องเที่ยวจะต้องทบทวนกลยุทธ์การตลาดในประเทศไทยใหม่ทั้งหมด
 

นักท่องเที่ยวเหล่านี้คือใคร และทำไมจึงควรให้ความสำคัญ?
 

นักท่องเที่ยวเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากรัสเซีย คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน และประเทศในกลุ่มเครือรัฐเอกราช (CIS) ซึ่งไม่ใช่กลุ่มเล็ก ๆ ที่ควรได้รับการมองข้ามอีกต่อไป

 

พวกเขาไม่เพียงแต่มีความต้องการด้านการท่องเที่ยวสูงเท่านั้น แต่ยังเป็นกลุ่มที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นหลัก มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล และวางแผนการเดินทางอย่างมีเป้าหมาย พวกเขาใช้จ่ายมากขึ้น พักนานขึ้น และท่องเที่ยวในสถานที่ที่ไกลกว่าที่เคย 


สำหรับนักการตลาดนี่จึงเปรียบเสมือนประตูบานใหม่แห่งโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เคยถูกมองข้าม แต่กลับมีศักยภาพอย่างมหาศาล


จากรายงานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวปี 2568 ของ Yango Ads พบว่า 

  • 40% ของนักท่องเที่ยวจากตลาดเหล่านี้ใช้จ่ายสูงถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อทริป
  • ส่วนใหญ่นิยมที่พักระดับ 4-5 ดาว
  • ระยะเวลาการพักผ่อนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8-14 วัน
  • 47% วางแผนการเดินทางล่วงหน้า 2-3 เดือน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างโอกาสทางการขาย และวางแผนการเปลี่ยนลูกค้าให้เป็นยอดจอง

 
ด้วยแรงหนุนจากชนชั้นกลางที่มีฐานะดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ เส้นทางการบินที่ขยายตัว และความต้องการในการท่องเที่ยวระยะไกลที่เพิ่มขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับวันหยุดพักผ่อนระดับพรีเมียมที่เน้นประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ 


อย่างไรก็ตามในหมู่นักการตลาดยังคงมีความเข้าใจในกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้จำกัด รวมถึงวิธีที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนี้ได้อย่างแม่นยำ
 

อันดับแรก พฤติกรรมการเสพเนื้อหาดิจิทัลของนักเดินทางจากกลุ่ม CIS นั้นไม่เหมือนกับกลุ่มนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก พวกเขามักพึ่งพา Telegram และเครือข่ายการแสดงผลของโฆษณา (Ad Display Networks) ที่ไม่ใช่ระบบโฆษณาแบบตะวันตกที่ใช้กันแพร่หลาย แคมเปญที่สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาให้เข้ากับแพลตฟอร์มที่กลุ่มนี้ชื่นชอบ จึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแนวทางเก่า ๆ

 

Yango Ads หนึ่งในผู้เล่นด้านเทคโนโลยีโฆษณาที่เริ่มขยับเข้ามามีบทบาท ซึ่งใช้ฐานข้อมูลจากเว็บไซต์กว่า 50,000 แห่ง และแอปพลิเคชันอีกกว่า 20,000 รายการในเครือข่าย AdTech ของยุโรปตะวันออก วิเคราะห์พฤติกรรม ความสนใจ และพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูลเกี่ยวกับการขอวีซ่าไทย โรงแรมราคาคุ้มค่า หรือสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในไทย

 

ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงอินไซต์ แต่เป็นรากฐานที่ช่วยให้ธุรกิจท่องเที่ยวสามารถออกแบบแคมเปญที่ “เข้าถึง-เข้าใจ-เข้าจังหวะ” ได้มากขึ้น ผ่านการกำหนดเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง (hyper-targeting)

 

ทบทวนกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
 

ด้วยสถานการณ์ที่การท่องเที่ยวไทยกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และต้องรับมือกับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์
 

นักการตลาดในธุรกิจท่องเที่ยวที่ต้องการขยายธุรกิจในปี 2568 ไม่ควรมองข้ามกระแสที่กำลังเติบโตในตลาดเกิดใหม่ เพราะได้เห็นแล้วว่านักท่องเที่ยวกลุ่มนี้พร้อมที่จะใช้จ่ายมากขึ้น พักอยู่นานขึ้น และกลับมาเพื่อสัมผัสประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและการพักผ่อนที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าเดิม
 

ด้วยการปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมดิจิทัล การใช้แพลตฟอร์มโฆษณาที่กำหนดเป้าหมายแบบเจาะจงขั้นสูง (hyper-target) และการปรับแต่งข้อความให้ตรงกับแรงจูงใจใหม่ๆ ธุรกิจต่างๆ จะสามารถสร้างตำแหน่งที่แข็งแกร่งเพื่อคว้าทั้งรายได้และส่วนแบ่งทางการตลาด

 

ในโลกของการตลาดการท่องเที่ยวปัจจุบัน “ความเกี่ยวข้อง” สำคัญกว่า “การเข้าถึง” และนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ก็พร้อมที่จะจองแล้ว ผู้ที่ตัดสินใจลงทุนในวันนี้ก่อนคู่แข่งจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากความภักดีของลูกค้าในระยะยาวและผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่า
 

ข่าวล่าสุด

ทรัมป์เรียกร้องให้อิหร่าน “ยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข”