posttoday

ส่องเพื่อนบ้าน ติดตามความคืบหน้าอีกก้าวของรถไฟความเร็วสูงอินโดนีเซีย

09 มิถุนายน 2565

ทางม้าเหล็กเร็วสูง ‘จาการ์ตา-บันดุง’ ติดตั้ง ‘สายไฟเพิ่มเติม’ เส้นแรกแล้ว

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่าโครงการทางรถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุง ระยะทาง 142.3 กิโลเมตร ในอินโดนีเซีย ดำเนินการติดตั้งสายไฟเพิ่มเติมของระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัวสำเร็จเมื่อวันอังคาร (7 มิ.ย.) ที่ผ่านมา

แถลงการณ์จากเคซีไอซี (KCIC) กิจการร่วมค้าระหว่างจีน-อินโดนีเซีย และผู้ดำเนินโครงการดังกล่าว เปิดเผยว่าการติดตั้งสายไฟเพิ่มเติมหมายความว่าระบบจ่ายไฟของโครงการฯ ได้เริ่มติดตั้งและก่อสร้างอย่างเต็มรูปแบบแล้ว

สายไฟยาว 1,176 เมตร ถูกติดตั้งจากสถานีเตกัลลัวร์จนถึงศูนย์ซ่อมบำรุงรถรางไฟฟ้าในเตกัลลัวร์ ย่านชานเมืองบันดุง เมืองเอกของจังหวัดชวาตะวันตก โดยทางรถไฟส่วนดังกล่าวจะเป็นส่วนจัดแสดงของโครงการฯ ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี20 (G20) ประจำปี 2022 ในอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ ทางรถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุง มีความเร็วออกแบบ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยลดระยะเวลาเดินทางระหว่างกรุงจาการ์ตาและเมืองบันดุงของจังหวัดชวาตะวันตก จากมากกว่า 3 ชั่วโมง เหลือราว 40 นาที

เนื้อหาข่าวและภาพด้วยความร่วมมือกับสำนักข่าวซินหัว

ข้อมูลเพิ่มเติม - ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูง (HSR) โครงการแรกของอินโดนีเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะเชื่อมต่อเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอย่างจาการ์ตาและบันดุง เมืองหลวงของชวาตะวันตก ครอบคลุมระยะทาง 142.3 กิโลเมตร ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 PT KCIC ระบุว่าการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุงได้บรรลุถึงร้อยละ 70 และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ. 2565 โดยไม่มีรถไฟวิ่งจนกว่าการก่อสร้างรางจะแล้วเสร็จ

ทั้งญี่ปุ่นและจีนต่างก็แสดงความสนใจในโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศอินโดนีเซีย ก่อนหน้านี้ ทั้งสองประเทศได้ทำการศึกษาอย่างครอบคลุมสำหรับโครงการในส่วนจาการ์ตา-บันดุง (142.3 กม.) มีเพียงหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) เท่านั้นที่ขยายการศึกษาสำหรับโครงการที่ขยายไปยังสุราบายา (730 กม.) โครงการนี้ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างญี่ปุ่นและจีนที่พยายามชิงส่วนแบ่งโครงการโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย

ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 อินโดนีเซียได้มอบโครงการรถไฟให้กับจีซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับญี่ปุ่นากันว่าข้อเสนอของจีนในการสร้างเส้นทางจาการ์ตา-บันดุงโดยไม่ต้องมีการรับประกันเงินกู้อย่างเป็นทางการหรือเงินทุนจากอินโดนีเซียถือเป็นจุดเปลี่ยนของการตัดสินใจของรัฐบาลจาการ์ตาจนมอบโครงการให้กับจีน