posttoday

"จ่ายเงินกู้ไม่ได้จีนก็จะยึด" ความเห็นต่างชาติวิจารณ์รถไฟไทย-จีน

17 มกราคม 2565

ส่องความเห็นต่างชาติคิดอย่างไรกับแผนเชื่อมโยงรถไฟไทย-ลาว-จีน

แผนเชื่อมโยงรถไฟจีน-ลาว-ไทยกำลังเป็นที่จับตามองทั้งจากชาวไทยและต่างชาติ โดยเมื่อวานนี้ (16 ม.ค.) Nikkei Asia ได้รายงานว่าแผนการสร้างทางรถไฟสายเอเชียในแถบอินโดจีนของจีนกำลังหยุดชะงักที่ประเทศไทย ท่ามกลางความคิดเห็นของบรรดาชาวเน็ตจากหลากหลายประเทศ 

ย้ำว่านี่เป็นความเห็นเท่านั้นยังไม่ใช่ข้อเท็จจริง แต่รายงานข่าวนี้ต้องการนำเสนอบรรยากาศของการถกเถียงระหว่างประเทศเกี่ยวกับโครงการที่กระทบต่ออนาคตของประเทศไทยและภูมิภาคโดยตรง

บางความเห็นกล่าวโทษประเทศไทยที่ละทิ้งโอกาสที่จะ "ประสบความสำเร็จเหมือนลาว" เช่น Winson Ip บอกว่า "คนไทยไม่มีใครให้ตำหนินอกจากตัวเอง พวกเขาทำลายโครงการร่วมจีน-ไทย และสร้างทั้งหมดด้วยตัวเอง กลายเป็นว่าโครงการเกินกำหนดและเกินงบประมาณ ทางรถไฟความเร็วสูงของลาวเป็นคนละเรื่องที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง"

บางความเห็นบอกว่าการที่รถไฟไทยจีนหยุดชะงัดเพราะความไม่ลงรอยกันเรื่องค่าใช้จ่าย เช่น  Ananta Kandaka บอกว่า "พวกเขาเห็นต่างกันแค่ว่าใครเป็นผู้จ่ายโครงการ" แต่มีผู้แย้ง เช่น Se Ba บอกว่า "ไม่ใช่เลย นับตั้งแต่การเจรจารอบแรกล่มไป ประเทศไทยได้การจัดหาเงินทุนภายในประเทศ 100% สาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยออกจากโครงการคือการศึกษาความเป็นไปได้ที่พบว่าไม่สามารถทำเงินได้ ความกังวลเพิ่มเติมคือการย้ายถิ่นฐานที่ไม่สามารถควบคุมได้ การขาดการรับประกันคุณภาพจากจีนสำหรับงานก่อสร้าง ไม่ต้องพูดถึงคนงานชาวจีนถูกห้ามไม่ให้ทำงานในประเทศไทย โดยที่การลดจำนวนการว่างงานในประเทศจีนถือเป็นส่วนสำคัญของโครงการทั้งหมด"

"จ่ายเงินกู้ไม่ได้จีนก็จะยึด" ความเห็นต่างชาติวิจารณ์รถไฟไทย-จีน

Paul James แย้งว่า "ประเทศไทยกำลังสร้างเส้นทาางด้วยการสนับสนุนทางเทคนิคของจีน ความคืบหน้าน้อยมากถ้าจะพูดถึง แต่ก็ไม่ได้ "ยกเลิก" ครั้งสุดท้ายที่ผมได้ยินมาว่า "สัญญา" 2 ใน 14 ฉบับตามส่วนเริ่มต้น 253 กม. ระหว่างกรุงเทพฯและนครราชสีมาเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทั้งสายมีกำหนดจะเปิดในปี 2026 ทางการไทยอยู่ในโหมดตื่นตระหนกเพราะตอนนี้ลาวมีทางรถไฟที่ทันสมัย ดังนั้นพวกเขาจึงพยายามสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงจากหนองคายเพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับเวียงจันทน์โดยเร็วที่สุด"

โดยส่วนหนึ่งมองว่าจีนกำลังสร้างกับดักหนี้ (Debt-trap) กับประเทศต่างๆ ขณะที่อีกด้านหนึ่งกล่าวว่าเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศจะเป็นผลดีในการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และการทำสัญญานั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่ายอยู่แล้ว

ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Sanggar Ngitar Begemong มองว่าระบบให้กู้เงินของจีนมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ทางการเมืองและการทหารของจีนที่ใช้ได้กับไม่กี่ประเทศในแอฟริกาที่เป็นหนี้จีน เขาบอกว่า "ระบบการให้กู้ยืมเงินของจีนนี้เพื่อควบคุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนทำการควบคุมทะเลจีนใต้แล้ว ตอนนี้จีนต้องการที่จะควบคุมผ่านภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันเป็นกลยุทธ์ทางการเมืองและการทหารโดยจีนไม่กี่ประเทศในแอฟริกาที่เป็นหนี้จีนด้วยวิธีนี้ โชคดีที่ประเทศไทยต่อต้านมัน"

Matthew Fitzgerald ซึ่งกล่าวว่าในที่สุดก็มีประเทศที่เข้าใจโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางว่ามันเป็นประโยชน์ต่อจีน และเป็นเพียงกับดักหนี้ที่ทำให้จีนสามารถเป็นเจ้าของและดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญได้

Troy Tran กล่าวว่าถ้าจ่ายเงินกู้ไม่ได้จีนก็จะยึดอำนาจ ดูอย่างศรีลังกาสิ Pradip Choudhuri กล่าวว่าเป็นอีกประเทศที่ยากจนที่จะตกอยู่ภายใต้กับดักหนี้ของจีน Doug Ingram ให้ความเห็นว่าโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือ Belt and Road Initiative ของจีนควรเรียกว่าเป็นแผนก่อนการบุกรุก ส่วน Casaluna Poppi กล่าวว่าทำไมไทยต้องจ่ายเพื่อผลประโยชน์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

"จ่ายเงินกู้ไม่ได้จีนก็จะยึด" ความเห็นต่างชาติวิจารณ์รถไฟไทย-จีน

แต่ก็มีความเห็นที่เพ่งเล้งสื่อที่รายงานข่าวนี้ คือ Nikkei Asia ของญี่ปุ่นว่าริษยาความสำเร็จของจีน เช่น Nuduk Antok บอกว่าเป็น "การพูดจาไร้สาระของญี่ปุ่น โดยไม่มีข้อเท็จจริงและตัวเลขโดยไม่มีความเป็นจริง" เขากล่าวว่ารายงานข่าวข้างต้นบิดเบือนไปจากความเป็นจริง ไทยพึ่งพาจีนในด้านผลผลิตทางการเกษตรและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของไทย และการเชื่อมโยงรถไฟระหว่างประเทศก็เป็นผลดีกับทั้งสองภาคส่วนดังกล่าว และเกิดขึ้นภายใต้ความเข้าใจและความเคารพซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ไทย-จีนจึงเป็นไปอย่างราบรื่น

ส่วน Chup Kuan Law บอกว่า "สื่อญี่ปุ่นของ Nikkei Asia ผิดหวังและอิจฉาจีนที่ประสบความสำเร็จในโครงการรถไฟคุนหมิงเวียงจันทน์ที่เสร็จสิ้นแล้วและในไม่ช้าคือเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของอินโดนีเซียซึ่งบริษัทญี่ปุ่นแพ้การประมูลเนื่องจากการวางแผนที่ไม่ดีในอินเดียและเวียดนาม"

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมามีรายงานการประชุมคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยรฟท. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการของบกลางเพื่อออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเร่งดำเนินการก่อสร้าง

ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมหารือเพื่อพิจารณาแผนการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยเห็นชอบการจัดทำ Framework Agreement การขนส่งโดยการเชื่อมต่อการเดินทางข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย – เวียงจันทน์

ทั้งนี้ โครงการรถไฟจีน - ลาว ซึ่งเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมา เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจีน ลาว และไทย เมื่อมีการเชื่อมต่อโครงข่ายโดยสมบูรณ์แล้วจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าตลอดเส้นทางได้ถึงร้อยละ 30 - 50

AFP PHOTO / Greg BAKER