posttoday

ตลาดโลกตั้งหลักได้ คลายกังวลชั่วคราวต่อโอไมครอน (Omicron)

29 พฤศจิกายน 2564

ตลาดทุนต่างๆ ในระดับโลกมีปฏิกิริยาในด้านบวก สะท้อนถึงความกังวลที่ลดน้อยลงของนักลงทุนหลังตื่นตระหนกอย่างหนัก แต่นักวิเคราะห์ชี้นี่เป็นท่าทีชั่วคราวก่อนจะรู้จริงๆ ว่าเชื้อแรงแค่ไหน แม้ว่าองค์การอนามัยโลกจะออกมาเตือนก็ตามว่ายังเร็วเกินไปที่จะประเมินผล

1. Bloomberg รายงานว่า ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีเสถียรภาพหลังจากความผันผวนในวันศุกร์ท่ามกลางสัญญาณบ่งชี้ว่า Omicron อาจทำให้เกิดอาการไม่รุนแรงเท่านั้นและสามารถปรับสูตรวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว

2. ทั้งนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินเยนและยูโรในการซื้อขายช่วงต้นของเอเชีย สกุลเงินของแอฟริกาใต้ซึ่งมีการระบุพบ Omicron เพิ่มขึ้นมากถึง 0.9% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินสหรัฐฯ และเยน จากการทำ short-covering ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นตัวในวงกว้างของสกุลเงินที่ผูกกับสินค้าโภคภัณฑ์

3. Bloomberg ยังรายงานด้วยว่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหุ้นและน้ำมันดิบของสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นในวันจันทร์ ในระหว่างที่ผู้ค้ากำลังพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการระบาดของ Omicron ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยฟิวเจอร์สของหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น และน้ำมันพุ่งขึ้นเหนือ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

4. ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว S&P 500 มีผลการดำเนินงานหลังวันขอบคุณพระเจ้าที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1941 และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่มีนาคม 2020 เบื้องต้นการซื้อขายแสดงอาการโซเซในช่วงต้นของวันจันทร์ แต่มีสัญญาณของการรักษาเสถียรภาพเมื่อสัญญาซื้อขายล่วงหน้า S&P 500 เพิ่มขึ้น 0.4% และ Nasdaq Futures 0.5% จากการรายงานของ Reuters

5. ฟิวเจอร์สของ Nikkei ซื้อขายที่ 28,370 แม้ว่าจะยังต่ำกว่าระดับปิดเงินสดของวันศุกร์ที่ 28,751

ดัชนีหุ้นเอเชียแปซิฟิก MSCI ลดลง 0.2% แต่มีตลาดเพียงไม่กี่แห่งที่ยังเปิดอยู่

6. ราคาทองคำสปอตร่วงลงมากถึง 1.3% ก่อนซื้อขายลดลง 0.4% ที่ 1,795.26 ดอลลาร์ต่อออนซ์เมื่อเวลา 07:59 น. ในสิงคโปร์ ดัชนี Bloomberg Dollar Spot ทรงตัวหลังจากที่ลดลง 0.3% ในวันศุกร์ Bloomberg ชี้่ว่าราคาทองคำร่วงลงหลังจากความกังวลเรื่องสายพันธุ์ Omicron คลี่คลายลง กระตุ้นความเสี่ยงต่อความต้องการลงทุนที่เสี่ยงมากขึ้น เช่น หุ้นหรือสกุลเงิน

7. ความมั่นใจอาจจะมาจากท่าทีของผู้นำด้วย เช่น คริสติน ลาการ์ด (Christine Lagarde)  ประธานธนาคารกลางยุโรปกล่าวว่ายูโรโซนมีความพร้อมในการเผชิญกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ หรือสายพันธุ์ Omicron

8. ด้านราฟาเอล บอสติก (Raphael Bostic) ประธานธนาคารกลางสหรัฐประจำเมืองแอตแลนต้า กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่าเขาหวังว่าแรงผลักดันของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะต้านทานคลื่นลูกต่อไปของการระบาดใหญ่ และกล่าวว่าเขายังคงเปิดกว้างเพื่อเร่งให้ธนาคารกลางสหรัฐมีอัตราดอกเบี้ยลดลง

9. โรดริโก คาร์ทริล (Rodrigo Catril) นักยุทธศาสตร์การตลาดของ NAB กล่าวกับ Reuters ว่า "มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่รู้เกี่ยวกับ Omicron แต่ตลาดถูกบังคับให้ประเมินแนวโน้มการเติบโตทั่วโลกอีกครั้ง จนกว่าเราจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม lPfizer คาดว่าจะทราบภายในสองสัปดาห์ว่า Omicron สามารถต้านทานวัคซีนปัจจุบันได้หรือไม่ รายื่นๆ อื่นแนะนำอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ ก่อนหน้านั้นตลาดมีแนวโน้มที่จะยังคงกระวนกระวายใจ"

Photo by Philip FONG / AFP