posttoday

Cyrus S. Poonawalla มหาเศรษฐีผู้อินเดียผู้กุมชะตากรรมวัคซีน

07 พฤษภาคม 2564

ยารักษาโรคเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ยิ่งหากเป็นวัคซีนต้านโรคด้วยแล้ว ยิ่งเป็นยอดปรารถนาของผู้คนที่ไม่ต้องการให้ตัวเองต้องทนทุกข์จากการเจ็บไข้ได้ป่วย

ชื่อของสถาบัน Serum Institute of India (SII) คุ้นหูชาวโลกมากขึ้นเมื่ออินเดียประสบกับการระบาดของโควิด-19 ที่เลวร้ายที่สุดในโลก สถาบันแห่งนี้ (หรือที่จริงคือบริษัท) ได้ร่วมมือกับ AstraZeneca บริษัทยาข้ามชาติของอังกฤษ-สวีเดนซึ่งกำลังพัฒนาวัคซีน AZD1222 ร่วมกับมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด มีรายงานว่า Serum Institute จะจัดหาวัคซีน 1000 ล้านโดสสำหรับอินเดียและประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางอื่นๆ

แต่จนแล้วจนรอดยังมีกรณีที่ "ชาวอินเดียโกรธแค้นวัคซีนไม่พอ ซีอีโอผู้ผลิตเผ่นออกจากประเทศ" เขาคือ อะทาร ปูนาวาลา (Adar Poonawalla) ซีอีโอของสถาบันเซรั่มแห่งอินเดีย (SII) นั่นเอง

ส่วนมากแล้ววัคซีนที่ใช้กันอยู่เป็นประจำมักจะขนส่งมาจากประเทศอินเดีย ซึ่งมีศูนย์กลางการผลิตวัคซีนอยู่ในเมืองปูเน่ รัฐมหาราษฎระ ทางภาคตะวันตกของอินเดีย โดยใช้ชื่อว่า สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ซึ่งบุคคลสำคัญที่ดูแลการบริหารงานก็คือมหาเศรษฐี ไซรัส ปูนาวาลา (Cyrus S. Poonawalla) คนรวยเก่าแก่แห่งแดนภารต

เขาผู้นี้คือบิดาของอะทาร ปูนาวาลา ซีอีโอของสถาบันเซรั่มแห่งอินเดีย (SII) ที่ตกเป็นข่าว และไซรัสก็มีลูกชายหัวแก้วหัวแหวนคนนี้เพียงคนเดียว

ตระกูลของปูนาวาลาเป็นชาวปาร์ซี (ชาวเปอร์เซียที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตรียน) อยู่ในสังคมชั้นสูงของอินเดีย เพราะฐานะที่ไม่เป็นรองใคร โดยตั้งแต่เกิดมาไซรัส มีชีวิตที่สุขสบาย รายล้อมไปด้วยบริวาร อีกทั้งยังมีฟาร์มม้าที่พ่อเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น ซึ่งรวบรวมม้าพันธุ์ดีสำหรับการแข่งขันไว้ให้ลูกชายเล่นเป็นกิจกรรมเสริม

นอกจากกีฬาขี่ม้าที่ไซรัสชื่นชอบเป็นชีวิตจิตใจแล้ว เขายังชอบการขับรถยนต์หรูเป็นอย่างมาก และด้วยความชอบนี้เองทำให้มีไอเดียร่วมกับเพื่อนว่าจะรวมพลเหล่าวิศวกรยานยนต์ผลิตรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูงวางจำหน่ายให้กับคนอินเดีย

แต่แล้วความคิดของเขาก็เปลี่ยนไป เนื่องจากเห็นว่ากลุ่มคนชั้นสูงในอินเดียยังมีน้อย คงไม่มีใครซื้อรถหรูที่เขาผลิตได้ตลอดรอดฝั่งแน่นอน

กำเนิดสถาบันที่แห่งความหวัง

ความคิดใหม่ที่แล่นเข้ามาในสมองก็คือ ทำไมไม่ผลิตยาเพื่อรักษาโรค ด้วยกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ จำหน่ายง่าย และได้ปริมาณมาก เนื่องจากผู้คนทั่วโลกต้องการวัคซีนและเซรุ่มในการรักษาโรคตลอดเวลา

เมื่อมีโอกาสพูดคุยกับสัตวแพทย์ซึ่งทำงานอยู่ในฟาร์มม้าของพ่อ อีกฝ่ายแนะนำว่าสามารถสกัดเซรุ่มจากม้าเพื่อนำมาผลิตเป็นวัคซีนได้ จึงทำให้ไซรัส ในวัย 22 ปี เกิดไอเดียที่จะผลิตวัคซีนขึ้นมาอย่างจริงจัง เนื่องจากยังมีคนในประเทศต้องการวัคซีนป้องกันโรค อีกทั้งอินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก น่าจะเป็นตลาดยาที่ใหญ่มหึมา และไม่มีวันที่ตลาดจะซาลง

และก็เป็นไปตามที่ไซรัสคาดการณ์ไว้ เพราะไม่เพียงแต่อินเดียเท่านั้นที่ต้องการวัคซีนจาก Serum Institute of India (SII) แต่ประชากรในแถบประเทศแอฟริกาก็ต้องการซื้อวัคซีนของ ไซรัส ซึ่งมีหลากหลายประเภท เช่น วัคซีนป้องกันบาดทะยัก วัคซีนแก้พิษงู และวัคซีนโรคคอตีบ

สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียจึงผลิตวัคซีตป้อนตลาดโลกมากถึง 1,000 ล้านหลอดต่อปี โดยมีฐานผลิตที่โรงงานในเมืองปูเน่ และทำให้สถาบันของไซรัสกลายเป็น สถานที่ผลิตวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะต้องขนส่งวัคซีนไปยัง 137 ประเทศ โดยวัคซีนทุกชนิดที่มาจากสถาบันแห่งนี้ได้ผ่านการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลกเรียบร้อยแล้ว

มหาอำนาจแห่งวงการสาธารณสุข

แน่นอนว่าสองพ่อลูกตระกูลปูนาวาลาจะรวยไม่รู้เรืองจากธุรกิจสาธารณสุข อันที่จริงแล้วจกการสำรวจโดย Forbes พบว่าคนที่รวยที่ส่ดของอินเดีย 10 อันดับแรกได้เงินเป็นกอบเป็นกำมาจากธุรกิจประเภทนี้

จากการจัดอันดับปี 2021 ชาวอินเดียที่ร่ำรวยที่สุดอันดับที่ 8 คือมหาเศรษฐีด้านวัคซีนไซรัส ปูนาวาลากับสาบัน SII ซึ่งดำเนินการโดยอะทาร์ลูกชายวัย 40 ปีเข้าร่วมการแข่งขันวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการสร้างพันธมิตรหลายรายและลงทุน 800 ล้านดอลลาร์ในการสร้างโรงงานแห่งใหม่ และผลที่ได้คือวัคซีน Covishield วัคซีนโควิด -19 ที่ผลิตในอินเดียซึ่งพัฒนาโดย Oxford University-AstraZeneca

Business Today สื่อของอินเดียรายงานว่า สองวันก่อนที่จะมีการล้อคดาวน์สกัดการระบาดในในอินเดียทรัพย์สินสุทธิของไซรัสอยู่ที่ 7,4700 ล้านดอลลาร์ แต่ในวันที่ 23 มีนาคม 2020 ตั้งแต่นั้นมาทรัพย์สินสุทธิของเขาก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจาก SII กลายเป็นคตวามหวังในฐานะผู้ผลิตวัคซีนชั้นนำของโลกและเป็นพันธมิตรกับสาขาเภสัชกรรมระดับโลกในการต่อสู้กับการระบาด

ในช่วง 5 เดือนหลังจากการล็อคดาวน์ Business Today ระบุว่าทรัพย์สินสุทธิของไซรัสเพิ่มขึ้น 84.7% เป็น 13,800 ล้านดอลลาร์ตามดัชนี Bloomberg Billionaires Index ส่วนแบ่งความมั่งคั่งมาจากหัวใจหลักของธุรกิจของเขาคือ SII ซึ่งมีมูลค่า 12,800 ล้านดอลลาร์

ไซรัสกับคฤหาสน์ประวัติศาสตร์

นอกจากนี้ครอบครัวปูนาวาลายังเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 522 ล้านดอลลาร์และเงินสดอีก 500 ล้านดอลลาร์ ไซรัสยังเป็นเจ้าของฟาร์มม้า, ที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์และที่พักอาศัยประมาณ 250 เอเคอร์ในมุมไบและปูเน่

ไซรัส ได้ตกลงซื้อคฤหาสน์ Lincoln House แมนชั่นบนพื้นที่กว่า 4,645 ตร.ม. ติดทะเลในนครมุมไบ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยให้กับสมาชิกในครอบครัว ซึ่งการซื้อขายครั้งนี้กลายเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดีย ด้วยมูลค่า 7,500 ล้านรูปี หรือราว 113 ล้านเหรียญสหรัฐ

อะทาร ปูนาวาลา บุตรชายของไซรัส ซึ่งเป็นตัวแทนซื้อขายครั้งนี้เผยเหตุผลว่า แม้ว่าคฤหาสน์นี้จะเห็นได้ดาษดื่นทั่วไปในลอนดอน แต่ที่อินเดียนั้นถือว่านับนิ้วได้เลย เมื่อสิ่งปลูกสร้างนำเข้าสู่ตลาดการซื้อขาย ทางครอบครัวจึงไม่รีรอที่จะทุ่มเงินเพื่อให้ได้มาครอบครอง

ไซรัสดูเหมือนจะถูกใจสถานที่แห่งนี้แทบทุกองค์ประกอบ ทั้งที่ตั้งที่อยู่ใกล้น้ำ มีวิวทิวทัศน์เป็นของตัวเอง และอยู่ในศูนย์กลางการเงินของประเทศ ขนาดก็ใหญ่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัว

ที่สำคัญที่สุด น่าจะเป็นประวัติศาสตร์ของสถานที่แห่งนี้ ซึ่งแรกเริ่มคือ พระราชวังของเจ้าเมืองแห่งหนึ่งในรัฐคุชราต ในปี 1957 หลังจากอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ 10 ปี เจ้าของสถานที่ได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลสหรัฐ ยกวังของตัวเองให้แทนการจ่ายภาษี สหรัฐจึงนำมาเป็นสถานกงสุลของสหรัฐในอินเดีย และเปลี่ยนชื่อเป็น ลินคอล์น ตามชื่อ อับราฮัม ลินคอล์น ของประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐ

ของสะสมของมหาเศรษฐีวัคซีน

ไซรัสเกิดมาอยู่บนกองเงินกองทองตั้งแต่เด็กๆ ดังนั้น ของสะสมของเขาจึงหนีไม่พ้นเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวและเหล่ารถยนต์หรูซึ่งต้องเก็บไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิ อีกทั้งยังสร้างห้องใต้ดินของบ้านให้เป็นดิสโก้เธค เนื่องจากว่าไซรัสในวัย 80 ปี มหาเศรษฐีอินเดียผู้มีเงินมากถึง 11,5000  - 13,800  ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลขคร่าวๆ จากปีที่แล้ว) ยังมีนิสัยรักสนุก ชอบการเต้นเป็นชีวิตจิตใจ

นอกเหนือจากการผลิตวัคซีนเพื่อรักษาชีวิตคนอื่น (และทำเงินให้ตัวเอง) แล้วไซรัส ยังทำธุรกิจอื่นๆ เช่น การถือหุ้นอีก 50% ในโรงแรม Ritz Carlton ในเมืองปูเน่บ้านเกิดของเขาด้วย

ความร่ำรวยและชื่อเสียงของเขาผู้เป็นเสมือนใบเบิกทางให้มีโอกาสได้พบปะกับคนดังหลายคนจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร ที่มาเยี่ยมโรงงานในเมืองปูเน่ บิล เกตส์ เจ้าพ่อไมโครซอฟท์ และ ปารีส ฮิลตัล สาวสังคมไฮโซชื่อดัง ก็ล้วนแต่สนิทกับไซรัส ทั้งนั้น

ภาพ Adar poonawalla (ซ้าย) กับ Cyrus Poonawalla (ขวา) ในงาน 4th Asian wards จาก TheAsianAwards