posttoday

ใช้หน้ากากดำน้ำเป็นเครื่องช่วยหายใจสิ่งนี้อาจเป็นความหวังช่วยผู้ป่วย

30 มีนาคม 2563

ในวิกฤตมักมีไอเดียบรรเจิด ที่อิตาลีและยุโรปกำลังเริ่มดัดแปลงใช้หน้ากากดำน้ำตื้นมาช่วยหายใจ

ในขณะที่โรงพยาบาลต้องเผชิญกับผู้ป่วยโควิด-19 (COVID-19) จำนวนมากที่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการหายใจลำบากต่ออุปกรณ์ไม่พอ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ก็ผุดนวัตกรรม โดยการเปลี่ยนมาใช้หน้ากากดำน้ำตื้นที่ซื้อจากร้านขายอุปกรณ์กีฬา เพื่อช่วยผู้ป่วยได้ทันการณ์ก่อนที่ปอดจะล้มเหลว

ไอเดียนี้เริ่มต้นขึ้นในอิตาลี หลังจากโรงพยาบาลในประเทศอื่นๆ ก็เริ่มคิดค้นอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบDIY เฉพาะของตนเองเพื่อให้ทำงานได้สะดวกมากขึ้นในช่วงเวลาขาดแคลน

หนึ่งในนั้นคือโรงพยาบาลเอราสเมอ (Erasme) ในเขตชานเมืองของเมืองหลวงของเบลเยี่ยม ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ULB และบริษัท Endo Tools Therapeutics ทำการพิมพ์หน้ากากดำน้ำ 3 มิติสำหรับการใช้ทางการแพทย์ได้พิสูจน์แล้วว่ามันช่วยได้มากมายามหาศาล

"พวกมันจะนำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจรุนแรง เป้าหมายคือเพื่อหลีกเลี่ยงการใส่ท่อช่วยหายใจให้ผู้ป่วยและใส่เครื่องช่วยหายใจ" เฟรเดริก บงนิเยร์ (Frederic Bonnier) นักกายภาพบำบัดระบบทางเดินหายใจของโรงพยาบาลและอาจารย์มหาวิทยาลัย ULB กล่าว

ใช้หน้ากากดำน้ำเป็นเครื่องช่วยหายใจสิ่งนี้อาจเป็นความหวังช่วยผู้ป่วย

เขาเป็นหัวหอกในการออกแบบวาล์วแบบสั่งทำพิเศษที่เหมาะกับหน้ากากแบบเต็มหน้าที่ดำน้ำตื้น จากนั้นเชื่อมต่อมันกับเครื่อง BiPAP มาตรฐานที่ป้อนอากาศแรงดันเข้าไปในหน้ากาก

อุปกรณ์นี้จะช่วยป้องกันการยุบตัวของถุงลมปอดซึ่งจำเป็นต่อการดูดซับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายของเราและการหายใจออกของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากอาการปอดบวมที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้เยื่อหุ้มปอดอักเสบและมีของเหลวอยู่ภายในจนเต็มปอด

ใช้หน้ากากดำน้ำเป็นเครื่องช่วยหายใจสิ่งนี้อาจเป็นความหวังช่วยผู้ป่วย

ในกรณีติดเชื้อที่เลวร้ายที่สุดผู้ป่วยจะต้องได้รับการติดตั้งเครื่องช่วยหายใจในห้องไอซียู แต่เครื่องช่วยหายใจนั้นขาดแคลนทั่วโลกเนื่องจากผู้ป่วยจำนวนมาก ส่วนมาสก์ในโรงพยาบาลสำหรับเครื่อง BiPAP ก็มีน้อยเช่นกัน

วิธีการแก้ปัญหาด้วยการใช้หน้ากากดำน้ำตื้นอาจเป็นการอุดช่องโหว่ความขาดแคลน เพราะมันจะช่วยผู้ป่วยที่กำลังมีอาการหนักแต่ไม่มีเตียงหรือเครื่องช่วยหายใจรองรับพวกเขา

ใช้หน้ากากดำน้ำเป็นเครื่องช่วยหายใจสิ่งนี้อาจเป็นความหวังช่วยผู้ป่วย

เฟเดริก บงนิเยร์ กล่าวว่าเขาจะทดสอบมาสก์ 50 ตัวกับผู้ป่วยในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม

เขาอธิบายว่าหน้ากากแบบนี้ให้ความรู้สึกสบายใจกว่าหน้ากากของโรงพยาบาล เพราะพอดีกับจมูกและปาแนบกับผิวหน้าสนิท แต่เขาเตือนว่าพวกมันไม่ได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานทางการแพทย์ซึ่งหมายความว่าเป็นแบบใช้กับผู้ป่วยคนเดียวเท่านั้นไม่สามารถฆ่าเชื้อแล้วนำมาใช้กับผู้ป่วยคนอื่นได้

หน้ากากเหล่านี้เป็นแบรนด์เดียวกับที่ใช้โดยแพทย์ชาวอิตาลี บริจาคโดย Decathlon ผู้ค้าปลีกกีฬาชาวฝรั่งเศสที่มีร้านค้าทั่วโลก ส่วนหน้ากากผลิตมาจากอิตาลี

Photo by Kenzo TRIBOUILLARD / AFP