posttoday

เผยความลับเวียดนามเรียนเก่งระดับโลกเป็นแค่ภาพลวงตา

17 กรกฎาคม 2562

ซีรีส์รู้เข้ารู้เรา เหตุผลที่เวียดนามไปไม่ถึงไหน เจาะลึกเวียดนามจะไล่ตามไทยหรือไม่ โดยโพสต์ทูเดย์เอ็กคลูซีฟ

ไม่เฉพาะแค่ไทยเท่านั้นที่รู้สึกเป็นเดือดเป็นร้อนกับผลสำรวจระดับการศึกษา หรือ PISA ของเวียดนามที่สูงกกว่าไทย และสูงกว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้ประเทศพัฒนาแล้วถึงกับเต้น เพราะวิจารณ์นโยบายการศึกษาของประเทศตัวเอง

หากดูแค่ผลการวัดระดับการศึกษา PISA ของเวียดนามก็น่าตะลึง เพราะสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง แต่เมื่อการศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้เวียดนามเป็นเลิศเรื่องการศึกษา แล้วก็พบว่าความเป็นเลิศทางวิชาการของเวียดนามเป็นเรื่องหลอกตา

1.

ผล PISA วัดเฉพาะเยาวชนในระบบการศึกษาอายุ 15 ปี โดยไม่ได้คำนวณเยาวชนทั้งประเทศ จากตัวเลขของ OECD เมื่อปี 2015 พบว่านักเรียนชาวเวียดนามแค่ 48.5% เท่านั้นที่ถูกคำนวณ หมายความว่ามีวัยรุ่นเวียดนามจำนวนมหาศาลที่ถูกคัดออกไป และที่เหลือคือระดับที่เก่งมากแล้ว ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่นักเรียนไม่ว่าจะเก่งหรือไม่ก็ตามจะได้โอกาสเรียนกันต่อไปจนถึงอายุ 16 - 17 ปี เมื่อคำนวณโดย PISA จึงมีอัตราความหลากหลายของเด็กเก่งและเด็กไม่เก่งค่อนข้างมาก

2.

อีกปัจจัยก็คือ นักเรียนอายุ 15 ปีของเวียดนามมักเข้าชั้นมัธยมปลายกันแล้ว และไม่ใช่ภาคบังคับ อีกทั้งการเข้าเรียนระดับนี้ต้องสอบเอนทรานซ์ (IGE) ให้ได้ ดังนั้นการสอบเข้าจึงเป็นคัดเด็กที่มีความสามารถพอสมควร จนมีคำกล่าวกันว่า "ม. ปลายมีไว้สำหรับคนมีความสามารถ" (High schools for the gifted) ต่างจากประเทศอื่นๆ ที่พยายามให้เด็กทุกระดับเข้าเรียนถึงชั้นมัธยมปลายโดยไม่ต้องสอบเข้า - ย้ำว่าครึ่งหนึ่งเข้าเรียนต่อเป็นพวกเด็กเก่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งไม่ได้เรียนต่อ ต้องออกไปหางานทำ นี่เป็นอัตราที่สูงมาก และไม่ถือเป็นความสำเร็จ แต่เป็นเรื่องน่าเศร้าด้านความเท่าเทียมกันทางการศึกษา

3.

แน่นอนว่า เด็กที่ต้องออกไปจากระบบการศึกษาก่อนอายุ 15 ปีเป็นเด็กยากจนและเรียนไม่เก่ง สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วเด็กกลุ่มนี้จะต้องได้รับการผลักดันไม่ใช่ผลักใสเหมือนในเวียดนาม ดังนั้น สาเหตุที่อัตรา PISA ของเวียดนามสูงก็เพราะตัดตอนคนที่ไม่เก่งออกไปจำนวนครึ่งหนึ่ง และยังเลือกเฉพาะเมืองที่มีประชากรเมืองใหญ่ที่เข้าถึงการศึกษาได้มาก จึงทำให้ตัวเลขสูงกว่าความเป็นจริง

4.

แน่นอนว่าเวียดนามส่งเสริมการศึกษาในระดับสูง โดยสัดส่วนงบประมาณด้านการศึกษาอยู่ที่ 5.8% ของ GDP (ของไทยอยู่ที่  6.1%) และประชาชนมีค่านิยมยกย่องผู้มีการศึกษา แต่วิธีการคำนวณของ PISA ทำให้เวียดนามมีคะแนนสูงเกินไป 

5.

ในเมื่อมีนักเรียนแค่ 50% เท่านั้นที่ได้ไปต่อในระดับมัธยมปลาย แล้วนักเรียนที่เหลือหายไปไหน? คำตอบก็คือ กลายเป็นแรงงานไม่มีฝีมือ และกลายเป็นปัญหาหลักของเวียดนาม เพราะขณะที่เวียดนามกำลังกลายเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสำคัญ แต่ขาดแรงงานที่มีทักษะ ทำให้หลายบริษัทที่ย้ายฐานไปเวียดนามต้องทบทวนอนาคตของตัวเอง แล้วจัดสินใจย้ายฐานออกมา

6.

แล้ววิทยาลัยอาชีวศึกษาไม่ใช่คำตอบหรือ? ตอบว่า อาชีวศึกษาเป็นคำตอบให้นักเรียนที่เกรดไม่ถึงที่จะไปต่อในระดับมหาวิทบยาลัย แต่ปัจจุบันวิทยาลัยอาชีวศึกษากลายเป็นสถานที่ฝึกอาชีพของนักศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการตกงานสูงมาก โดยเมื่อปี 2017 มีบัณฑิตใหม่เข้าเรียนต่ออาชีวศึกษาหลังจากได้ปริญญามาแล้วถึง 20 - 30% 

7.

แสดงว่าคุณภาพการศึกษาของเวียดนามในระดับสูงไม่ได้ช่วยรับประกันว่าจะได้งานที่ดี แต่การเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยเป็นความภาคภูมิใจของครอบครัว จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจบ่ายเบี่ยงได้สำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดี

ผลเสียจากเรื่องนี้จะไปกระทบต่อตลาดแรงงานเวียดนาม ที่มีแรงงานไร้ฝีมือเป็นจำนวนมาก

Photo by Giuseppe CACACE / AFP

อ้างอิง

Paul Glewwe, Hai Anh Dan, Jongwook Lee and Khoa Vu . "What Explains Vietnam’s Exceptional Performance in Education Relative to Other Countries?: Analysis of the 2012 and 2015 PISA Data". (December 30, 2017).

John Reed. "Education in Vietnam: very good on paper". (October 11, 2018). Financial Times.

John Jerrim. "Why does Vietnam do so well in PISA? An example of why naive interpretation of international rankings is such a bad idea". (July 19, 2017). FFT Education Datalab.

"Young Vietnamese opt for vocational training". (December 11, 2017). VIETNAMNET Bridge.

"More students attending vocational school instead of university". (October 06, 2017) VIETNAMNET Bridge.

"Vietnam spends 5.8% of GDP on education". (January 23, 2019) VIETNAMNET Bridge.