posttoday

พบหัวหมาป่ายักษ์จากยุคดึกดำบรรพ์4หมื่นปี

17 มิถุนายน 2562

สภาพสมบูรณ์เหลือเชื่อ ฝังอยู่ในน้ำแข็งตลอดกาลของพื้นที่ขั้วโลก


สำนักข่าว The Siberian Times รายงานว่า มีการค้นพบหัวของหมาป่าที่ถูกตัดออกออกจากร่างในเขต อับยิสกี ทางตอนเหนือของแคว้นยูคาเตีย ในพื้นที่ไซเบียเรีย ประเทศรัสเซีย ซึ่งมันไม่ใช่หัวหมาป่าธรรมดา แต่เป็นของหมาป่าจากสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) ขนาดใหญ่ตัวแรกของโลกที่ถูกค้นพบ อายุถึง 40,000 ปี

คนท้องถิ่นชื่อ พาเวล เอฟิมอฟ พบหัวหมาป่าดังกล่าวในช่วงฤดูร้อนปี 2018 บนฝั่งของแม่น้ำทิร์คิตซักซึ่งเป็นแขนงของแม่น้ำอินดิเกอร์ร์ก้า ในไซบีเรีย

หมาป่าโบราณดังกล่าวมีขนหนาคล้ายแมมมอธ มีเขี้ยวและฟันครบถ้วน โดยรวมแล้วยังคงสภาพสมบูรณ์ถือเป็นหมาป่าที่มีขนาดโตเต็มที่แล้ว และตอนที่มันตายน่าจะมีอายุตั้งแต่ 2 - 4 ปี แต่อายุของมันจนถึงปัจจุบันเก่าแก่ถึง 40,000 ปี

ที่หัวของหมาป่าโบราณสามารถรักษาสภาพได้ดีขนาดนี้ เพราะมันถูกแช่อยู่ในผืนน้ำแข็งตลอดกาล (Permafrost) ใกล้กับขั้วโลกเหนือ อย่างไรก็ตาม การปรากฎตัวของมัน แสดงให้เห็นผืนน้ำแข็งที่จับตัวอยู่ตลอดเวลามานานนับหมื่นปี เริ่มที่จะละลายแล้ว เพราะภาวะโลกร้อน

พบหัวหมาป่ายักษ์จากยุคดึกดำบรรพ์4หมื่นปี

พบหัวหมาป่ายักษ์จากยุคดึกดำบรรพ์4หมื่นปี ภาพจาก NAO Foundation

พบหัวหมาป่ายักษ์จากยุคดึกดำบรรพ์4หมื่นปี ภาพจาก NAO Foundation