posttoday

พบโรงแรมเกาหลีมีกล้องแอบถ่าย-ไลฟ์สดลูกค้านับพันราย

21 มีนาคม 2562

แฉขบวนการแอบถ่าย-ไลฟ์สด แขกที่เข้าพักโรงแรมในเกาหลีใต้ พบผู้เสียหายกว่า 1,600 ราย

แฉขบวนการแอบถ่าย-ไลฟ์สด แขกที่เข้าพักโรงแรมในเกาหลีใต้ พบผู้เสียหายกว่า 1,600 ราย

กรมสืบสวนอาชญากรรมไซเบอร์ของตำรวจเกาหลีใต้เปิดเผยรายงานการสอบสวนที่สร้างความตกตะลึงอีกครั้งนับตั้งแต่กรณีไอดอลฉาว จากการที่พบว่า โรงแรมราว 31 แห่งทั่วประเทศ

รายงานระบุว่าในการนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 4 ราย โดยขบวนการนี้จะมีการซ่อนกล้องไว้ตามเครื่องใช้ต่างๆภายในห้องพักของโรงแรม ทั้งปลั๊กไฟ ที่วางไดร์เป่าผม ทีวี ก่อนที่แอบทำการบันทึกภาพของผู้เข้าพักในเวลาส่วนตัว และอาจถึงขั้นถ่ายทอดสดกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องพักเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ลับที่มีสมาชิกอย่างน้อย 4 พันคน ซึ่งล้วนแต่มีการเก็บค่าบริการรายเดือนในการเข้าชมวิดิโอเหล่านี้ด้วย

 

พบโรงแรมเกาหลีมีกล้องแอบถ่าย-ไลฟ์สดลูกค้านับพันราย

รายงานยังระบุอีกว่า ชายผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมบางรายสามารถทำรายได้จากการแอบถ่ายคลิปเหล่านี้มากถึง  $6,200 (ราว 190,000) จากค่าสมาชิกของกลุ่มลับ ซึ่งหากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงอาจต้องเผชิญการลงโทษหนักถึงจำคุก 10 ปรับอีกราว 30 ล้านวอน (ราว 850,000 บาท)

ด้านสำนักข่าวบีบีซีได้สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจรายหนึ่งระบุว่า ขบวนการนี้จะใช้กล้องจิ๋วขนาด 1 มม. ติดตามห้องพักในโรงแรมกว่า 30 แห่งใน 10 เมืองทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา

กระทั่งในเดือนพฤศจิกายนมีการสร้างเว็บไซต์ลับที่ผู้เข้าชมต้องจ่ายค่าใช้บริการหากต้องการชมคลิปวิดิโอเต็มๆ ชายผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมให้การว่า โพสต์วิดิโอราว 803 ชิ้นลงในเว็บลับนี้ โดยใช้ระบบเซิร์ฟเวอร์เว็บไซต์ต่างประเทศ

 

พบโรงแรมเกาหลีมีกล้องแอบถ่าย-ไลฟ์สดลูกค้านับพันราย หน่วยตรวจกล้องแอบถ่ายตามสาธารณะ

ที่ผ่านมา เกาหลีใต้เคยพบรายงานการติดตั้งกล้องแอบถ่ายตามที่สาธารณะอย่างหนักมากแล้วในปี 2017 ซึ่งเป็นคดีมากถึง 6,000 คดี เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปี 2012 ที่พบ 2,400 คดีพบผู้ต้องสงสัยมากถึง 5,400 คนที่เกี่ยวกับกับการซ่อนกล้องแอบถ่าย แต่พบว่าในจำนวนนี้เพียง 2% เท่านั้นที่ถูกตัดสินจำคุก

เรื่องดังกล่าวส่งผลให้ในปี 2016 รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ตั้งหน่วยงานพิเศษให้เจ้าหน้าที่ผู้หญิงไปตรวจตราห้องน้ำสาธารณะกว่า 20,000 แห่งในกรุงโซล เพื่อหวังลดการถูกแอบถ่ายอันเป็นส่วนหนึ่งของการปราบปราบอาชญากรรมทางไซเบอร์ แต่มาตรการนี้ก็ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการแก้ไขที่ผิวเผิน