posttoday

ย้อนรอยข่าวกรณีชุมชน-ศาสนา เมื่อสตรีอินโดฯถูกจำคุก เหตุร้องเรียนมัสยิดเสียงดัง

05 ตุลาคม 2561

จากเสียงระฆัง สู่เสียงสวดอาซาน สำรวจกรณีตัวอย่างความขัดแย้งระหว่างศาสนากับชุมชนในอินโดนีเซีย

จากเสียงระฆัง สู่เสียงสวดอาซาน สำรวจกรณีตัวอย่างความขัดแย้งระหว่างศาสนากับชุมชนในอินโดนีเซีย

กรณีที่มีผู้อาศัยในคอนโดแห่งหนึ่งย่านพระราม 3 ร้องเรียนกับสำนักงานเขตบางคอแหลมว่า ได้รับผลกระทบจากเสียงของระฆังจากวัดใกล้เคียง จนกลายเป็นประเด็นใหญ่โตนั้นความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับศาสนานั้นไม่ได้มีกับเฉพาะในบ้านเราเท่านั้น

 

ย้อนรอยข่าวกรณีชุมชน-ศาสนา เมื่อสตรีอินโดฯถูกจำคุก เหตุร้องเรียนมัสยิดเสียงดัง

 

โดยก่อนหน้านี้เคยเกิดกรณีในลักษณะคล้ายกันนี้จนกลายเป็นความรุนแรงขึ้นมาเช่นกัน ทางโพสต์ทูเดย์ออนไลน์จึงขอนำเสนอกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในต่างประเทศไว้เป็นข้อพิจารณาแก่สังคม

 

ย้อนรอยข่าวกรณีชุมชน-ศาสนา เมื่อสตรีอินโดฯถูกจำคุก เหตุร้องเรียนมัสยิดเสียงดัง

 

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีเรื่องราวที่ถูกแชร์กันอย่างมากบนโลกออนไลน์ เมื่อสตรีชาวพุทธรายหนึ่งในเมืองเมดาน บนเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 18 เดือน ด้วยข้อหาหมิ่นศาสนาอิสลาม จากการที่เธอร้องต่อศาลว่าได้รับผลกระทบจากการสวดอาซาน ของมัสยิดใกล้บ้านเธอ โดยเธอได้ร้องขอให้มัสยิดที่อยู่ใกล้บ้านเธอลดความดังของลำโพงลงในเวลาที่สวดละหมาด เนื่องจากเธอรู้สึกแสบแก้วหูทุกครั้งที่ได้ยินเสียงดังกล่าว

 

ย้อนรอยข่าวกรณีชุมชน-ศาสนา เมื่อสตรีอินโดฯถูกจำคุก เหตุร้องเรียนมัสยิดเสียงดัง

 

ข้อร้องเรียนดังกล่าวของเธอนั้นกลับส่งผลตรงกันข้าม เนื่องจากได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวมุสลิมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของชุมชน จนนำไปสู่การก่อจลาจลระหว่างชาวพุทธ กับชาวมุสลิม จนส่งผลให้ชาวพุทธในชุมชนหลายคนต้องอพยพออกจากเมืองเนื่องจากเกรงจะถูกชาวมุสลิมทำร้าย

ความขัดแย้งดังกล่าวมีขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว จนกระทั่งวันที่ 21 ส.ค. ที่ผ่านมา ศาลของเมืองเมดานได้มีตัดสินให้นางเมเลียนา สตรีชาวพุทธผู้ร้องเรียนเรื่องดังกล่าวมีความผิดฐานดูหมิ่นศาสนา

 

จากผู้รับผลกระทบ สู่จำเลยสังคม

แม้ว่าภายหลังจะมีรายงานว่าผู้พิพากษาสมทบของศาลเมืองเมดาน ที่ตัดสินคดีดังกล่าวจะถูกทางสำนักงานปราบปรามทุจริตของอินโดจับกุมในข้อหารับสินบนจากกลุ่มมุสลิมที่มีอิทธิพลในท้องถิ่นก็ตาม แต่สุดท้ายเธอก็ยังต้องถูกจำคุกอยู่ดีตามคำพิพากษาของศาล แม้ว่าเธอจะได้รับความช่วยเหลือทางคดีจากบรรดาองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนต่างๆก็ตาม

 

ย้อนรอยข่าวกรณีชุมชน-ศาสนา เมื่อสตรีอินโดฯถูกจำคุก เหตุร้องเรียนมัสยิดเสียงดัง

 

แต่ทว่า จากกรณีดังกล่าวส่งผลให้เมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่ผ่านมา ทางกระทรวงศาสนาของอินโดนีเซีย ได้ออกประกาศเป็นข้อแนะนำทั้ง 6 ข้อ โดยขอให้ทางมัสยิดใช้เครื่องขยายเสียงอย่างเหมาะสมในระหว่างการปฎิบัติศาสนกิจ เพื่อหวังจะลดความขัดแย้งทางศาสนาในชุมชน

 

ย้อนรอยข่าวกรณีชุมชน-ศาสนา เมื่อสตรีอินโดฯถูกจำคุก เหตุร้องเรียนมัสยิดเสียงดัง

ข้อกำหนดดังกล่าวนั้นมีการประกาศไปทั่วมัสยิดทุกแห่งในอินโดนีเซีย ซึ่งแน่นอนว่าสร้างความไม่พอใจให้กับบรรดาชาวมุสลิมซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมากนัก

แต่การออกข้อกำหนดเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ของหน่วยงานรัฐในอินโดนีเซีย นับว่านับว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับประเทศที่มีพลเมืองชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก ในการจัดการกับความขัดแย้งของศาสนสถานกับชุมชน และลดความเกลียดชังระหว่างศาสนา

 

วิถีสังคม VS วิถีศาสนา

ทั้งนี้ หากย้อนกลับมาที่กรณีคอนโดพระราม 3 สำหรับประเทศไทยซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธเช่นเดียวกับกรณีที่อินโดฯ การที่มีผู้ร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบจากการตีระฆังของวัดนั้น

แต่ทว่าในกรณีดังกล่าว กระแสสังคมไทยจากหลายฝ่ายกลับมองว่ากรณีระฆังนี้เป็นการเหยียดหยามศาสนาพุทธ ถึงขั้นมองว่าอาจเป็นการเข้าข่ายการเหยียดหยามทางศาสนา ซึ่งหากคิดเช่นนี้นับเป็นเรื่องที่อันตรายต่อสังคมไทยมาก ไม่ต่างจากกรณีของนางเมเลียน่า ซึ่งมันอาจเลวร้ายถึงนำไปสู่บ่อเกิดของความเกลียดชังในสังคมได้

 

ย้อนรอยข่าวกรณีชุมชน-ศาสนา เมื่อสตรีอินโดฯถูกจำคุก เหตุร้องเรียนมัสยิดเสียงดัง

 

สุดท้ายแล้วคำตอบของเรื่องนี้ คงไม่ใช่ที่ต้องหาว่าใครผิด ใครควรหยุดตี หรือใครควรย้ายออก แต่เราทุกคนในสังคมจะร่วมหาคำตอบให้กับวิถีชีวิตสมัยใหม่ กับประเพณีปฏิบัติทางศาสนาได้เหมือนกับกรณีอินโดฯหรือไม่

แล้ว..หากเปลี่ยนจากเสียงระฆัง เป็นเสียงสวดอาซานของมัสยิดล่ะ สังคมไทยจะมีปฏิกิริยาอย่างไร?

ภาพ : Bangkok Post , AFP