posttoday

เทศบาลนครยะลาระดมตั้งกองทุนซื้อวัคซีนโควิดฉีดคนในพื้นที่

04 กรกฎาคม 2564

ยะลา-เทศบาลนครยะลาไม่รอรัฐบาลเร่งระดมทุนจากทุกภาคส่วนในท้องถิ่นตั้ง"กองทุนซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อชาวยะลา" คนไม่มีทะเบียนบ้านในพื้นที่ก็ได้ฉีด

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ห้องประชุมเทศบาลนครยะลา นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา เปิดเผยว่า เทศบาลนครยะลา ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา หอการค้าจังหวัดยะลา มูลนิธิแม่กอเหนี่ยวยะลา มูลนิธิแม่ทับทิมยะลา ชมรมชาวไทยเชื้อสายจีนจังหวัดยะลา ชมรมนักธุรกิจมุสลิมจังหวัดยะลา ชมรมธนาคารจังหวัดยะลา ผู้มีจิตศรัทธา และมีความสมัครใจ ร่วมกันระดมทุนและความร่วมมือเพื่อจัดตั้ง “กองทุนซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อชาวยะลา” สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดยะลา ระลอกที่ 3 ซึ่งกำลังระบาดหนักและพบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เทศบาลนครยะลา พร้อมด้วย ภาคีเครือข่าย ภาคประชาชน จึง ร่วมกันจัดตั้ง กองทุน”วัคซีน โควิด 19 เพื่อชาวยะลา “ เพื่อเป็นการต่อยอด วัคซีนจากทางรัฐบาล วัคซีนของทางเทศบาลจัดซื้อเอง เพื่อให้ครอบคลุมการฉีดให้ประชาชนชาวยะลา ให้มากที่สุดและเร็วที่สุด

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า องค์กรหลักของชาวยะลาได้มารวมตัวกันเพื่อต่อสู้กับวิกฤตโควิดที่เกิดขึ้น การระบาดดังกล่าว เมื่อดูจากภาพใหญ่ของประเทศจะเห็นว่ายังไม่มีท่าทีจะยุติลง โดย 2-3 ที่ผ่านมา ในจังหวัดยะลาก็มีตัวเลขการติดเชื้อที่ค่อนข้างสูงขึ้นเกือบทุกวัน สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐเพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นหน้าที่ของภาคประชาชนทุกคนที่ต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน ในขณะเดียวกันฝ่ายของรัฐเอง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ หรือพยาบาลเองก็เป็นที่น่าเห็นใจอย่างมาก เพราะเตียงของโรงพยาบาล สนามก็เต็มเกือบทั้งหมด จำเป็นต้องก่อสร้างอาคารอย่างฉุกเฉินเพิ่มอีก 2 อาคาร ต้องใช้เตียงราว 300-400 เตียง ในส่วนของโรงพยาบาล  การผ่าตัดก็ต้องลดลงครึ่งหนึ่ง ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยธรรมดาได้ ต้องลดการผ่าตัดลง เพื่อเพิ่มจำนวนเตียงให้แก่ผู้ป่วยโควิด ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นผลกระทบที่เกิดมาจากการระบาดของโควิ-19 ทั้งสิ้น

เทศบาลนครยะลาระดมตั้งกองทุนซื้อวัคซีนโควิดฉีดคนในพื้นที่

ทั้งนี้ เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นทุกคนก็อยู่กับบ้าน หรือมีการ Lock Down เกิดขึ้น ด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีความลำบากอยู่แล้ว จึงส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจซบเซาอย่างหนัก ในขณะเดียวกันเราเองก็ไม่ได้มีทางเลือกมากนัก จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นมา และต้อง 1.การมีวินัยดูแลตนเองและมีสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นจะทำให้เกิด 100% เป็นเรื่องยาก เราต้องยอมรับว่าหลายคนที่มีความตระหนัก ก็ดูแลป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี แต่สำหรับคนบางคนบางกลุ่มก็ยังใช้ชีวิตตามปกติ แต่สุดท้ายด้วยความประมาทหรือความไม่รู้ก็นำเชื้อเหล่านี้ไปติดผู้อื่น จนกระทั่งระบาดไปในหลาย ๆ จุด ทั้งในเขตเทศบาลฯ หรือพื้นที่ใกล้เคียง สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่เราทุกคนสามารถทำได้ แม้บางครั้งการติดเชื้อนี้อาจไม่แสดงอาการสำหรับคนอายุน้อย แต่ถ้าเชื้อนี้ไปสู่คนที่มีอายุมากขึ้น ก็อาจจะลงปอด และนำไปสู่การเสียชีวิตได้

2.การบริการสาธารณสุข ทาง รพ.ได้ปิดอาคารรักษาผู้ป่วยไปเรื่อย ๆ เพื่อนำอาคารเหล่านั้นไปใช้กับผู้ป่วยโควิด ส่วน รพ.สนามก็ไม่เพียงพอ ต้องมีการสร้างขยายเพิ่ม ด้วยเหตุนี้ทางเทศบาลฯ จึงได้ใช้อาคารส่วนหนึ่งให้เป็นที่พักสำหรับผู้ที่มารับการตรวจโควิด และติดเชื้อ เนื่องจากทาง รพ. มีที่พักไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องให้มาพักกับทางเทศบาล 24 ชั่วโมง ก่อนส่งต่อให้กับทาง รพ. ซึ่งปรากฏการนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น หากพวกเราดูแลตนเองตามข้อ 1 ได้ดี สภาวะการขาดแคลนเตียงในข้อ 2 ก็คงไม่จะไม่เกิดขึ้น 3.การค้นหาผู้ป่วย คนติดเชื้อ หลังจากหลาย ๆ หน่วยงานได้ทราบว่าบุคลากรในสำนักงานตนเองมีการติดเชื้อ ก็ได้ทยอยกันมาเพื่อตรวจหาเชื้อในจุดที่เทศบาลจัดบริการให้มีการตรวจฟรี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เทศบาลเองก็ใช้งบประมาณพอสมควร

4.วัคซีน ปัจจุบันวัคซีนก็มีหลายแบรนด์หลายยี่ห้อ อาทิ ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และซิโนฟาร์ม แต่ในประเทศไทยได้นำเข้ามาเพียง 2 ยี่ห้อ คือ ซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า แม้ว่าจะฉีดวัคซีนแต่ก็ยังมีการติดเชื้อ ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เป็นความผิดมาจากวัคซีน สิ่งที่ต้องพึงตระหนัก คือ เชื้อก็มีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เช่น สายพันธุ์แอลฟ่าของอังกฤษ เบต้าของแอฟริกาใต้ ทำให้วัคซีนที่เรามีบางอย่างไม่สามารถตอบสนองต่อตัวเชื้อที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ กล่าวคือ ตัวเชื้อก็ทำงานแข่งกับวัคซีน วัคซีนเองก็ต้องพัฒนาแข่งกับตัวเชื้อ เมื่อไหร่ก็ตามที่ตัวเชื้อพัฒนาได้เร็วกว่า วัคซีนก็จะไม่ตอบสนอง.ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา เทศบาลเองก็รับภาระจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ขณะเดียวกันก็มีงบประมาณจำกัด เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ลดภาษี 90% จากการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งทำให้เทศบาลมีรายได้เพียง 10% เท่านั้น

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ได้มีการรวมตัวกันของเครือข่ายพลเมืองยะลา เพื่อปรึกษาหาแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งทุกคนได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรให้มีการดำเนินการจัดตั้งกองทุน และในวันนี้จึงได้เชิญ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา หอการค้าจังหวัดยะลา มูลนิธิแม่กอเหนี่ยวยะลา มูลนิธิแม่ทับทิมยะลา ชมรมชาวไทยเชื้อสายจีนจังหวัดยะลา ชมรมนักธุรกิจมุสลิมจังหวัดยะลา และชมรมธนาคารจังหวัดยะลา เพื่อประกาศอย่างเป็นทางการในการจัดตั้งกองทุนในลักษณะของการบริจาค แต่จะไม่เกี่ยวกับสิทธิในการฉีดวัคซีน เพื่อใช้ต่อสู้กับโควิดต่อไป

"เทศบาลได้ตระหนักดีว่า การฉีดวัคซีนเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการลดการแพร่กระจายของโรคโควิดดังนั้น คนที่ไม่ได้อยู่ในเขตเทศบาล แต่ประกอบกิจการในเขตเทศบาล ก็มีสิทธิที่จะได้รับวัคซีนเช่นเดียวกับคนที่มีสำเนาทะเบียนอยู่ในเขตเทศบาล การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็นการให้สิทธิทุกคนเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิในการฉีดวัคซีนแม้จะไม่ได้มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตเทศบาลก็ตาม พร้อมทั้งเพื่อลดเวลาการนอนในโรงพยาบาลให้สั้นที่สุด ลดภาระงานของบุคลากรทางทางการแพทย์ให้น้อยที่สุด เพราะเราคงไม่ได้ต่อสู้กับโรคนี้ในระยะเวลาสั้น ๆ แน่นอน เมื่อไหร่ที่โรคนี้กลายโรคประจำถิ่น เหมือนกับโรคหวัด เวลานั้นทุกอย่างคงกลับมาเป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตามเราคงต้องเดินหน้าต่อไป เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจในพื้นที่ดีขึ้น อันส่งผลให้เมืองของเรากลับไปใช้ชีวิตปกติได้"นายพงศ์ศักดิ์กล่าว

นายกเทศมนตรีนครยะลา กล่าวว่า เงินกองทุนตัวนี้ เทศบาลจะตั้งคณะกรรมการจากเครือข่ายทั้งหมดมาเป็นผู้ดูแลและบริหาร โดยการบริจาคทุกอย่าง เทศบาลจะออกใบเสร็จให้ โดยเงินกองทุนนี้ 1.เป็นการบริจาคตามความสมัครใจ 2.ไม่จำกัดสิทธิในการเข้าถึง 3.ไม่จำกัดจำนวนเงินในการบริจาค 4.ไม่เกี่ยวข้องกับการแลกสิทธิ์ ในการฉีดวัคซีนของเทศบาล เนื่องจากเทศบาลได้ตระหนักถึงปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซาในปัจจุบัน ะสำหรับการจับจ่ายใช้สอยก็จะเชิญเครือข่ายทั้งหมดมาร่วมหารือ หากมีเงินเหลือจากการซื้อวัคซีน อาจจะนำเงินส่วนนั้นไปซื้อวัสดุทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ซึ่งทุกอย่างนี้เทศบาลได้เตรียมไว้พร้อมแล้ว เราสามารถเดินหน้าทำงานได้ทันที โดยเป้าหมายที่สำคัญ คือ ถ้ามีวัคซีนเข็ม 3 ทำอย่างไรให้ได้ฉีดวัคซีนที่ดีที่สุด เร็วที่สุด เพื่อทำให้บ้านเมืองเรากลับไปสู่ภาวะปกติ