posttoday

ส่องเศรษฐกิจชายแดนใต้ "จะนะ"เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต

27 กรกฎาคม 2562

เศรษฐกิจจังหวัดชายแดนใต้เติบโตแล้ว 3 %เปอร์เซ็นต์ ดัน “จะนะ” เป็นต้นแบบเมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ลงทุน 600,000 ล้าน

เศรษฐกิจจังหวัดชายแดนใต้เติบโตแล้ว 3 %เปอร์เซ็นต์ ดัน “จะนะ” เป็นต้นแบบเมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ลงทุน 600,000 ล้าน

ปี 62 ตัวชี้วัด จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ “เศรษฐกิจ” ไม่ใช่คดีความมั่นคง ระบุ เศรษฐกิจเติบโตแล้ว 3 เปอร์เซ็นต์ จากติดลบรัฐบาล ดัน “จะนะ” เป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต เมืองที่ 4 ลงทุน 600,000 ล้าน เงินเข้าเพื่อจะนะเป็นกองทุน 20,000 ล้านบาท ชี้ รองรับ ตู้คอนเทนเนอร์ส่งออก 1 ล้านตู้ รองรับสินค้ามูลค่าส่งออกชายแดน 600,000 ล้านบาท นิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า เป็นเกตเวย์ ที่ 3 ของไทย คาดสนามบินเบตง สถานีรถโกลก กลันตัน เปิดบริการ เป็นตัวชี้วัดอีกระลอก ชี้ 3 เมืองต้นแบบ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เบตงนักเที่ยวเข้า 1 ล้านคน จาก 200,000 คน โกลก จากค้าชายแดนจาก 4,500 ล้าน ทะลุ 6,000 ล้านบาท หนองจิก รง.อุตสาหกรรมขยายถึง 4 โรงงานตลอดจนถึง รง.เกี่ยวข้อง มีงานทำมากขึ้น

ดร.ชนธัญ แสงพุ่ม ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยว่า ทางรัฐบาล ได้ดำเนินการนิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นเมืองต้นแบบที่ 4 ตามนโยบายโดยดำเนินโครงการตามที่ประชาชนนำเสนอ ภาคเอกชน ส่งเสริม และรัฐบาลจะสนับสนุน ทั้งนิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า มีเนื้อที่ประมาณ 10,800 ไร่ ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2565 สอดรับกับนโยบายยุทธศาสตร์ชาติและ เป็นระยะเฟสแรกของรัฐบาล แต่ละเฟสระยะเวลา 5 ปี

ทั้งนี้ การลงทุนโดยภาคเอกชน ใช้งบประมาณ 600,000 ล้านบาท ซึ่งมี 2 บริษัท ระดับประเทศ คือกลุ่มบริษัท ทีพีไอ. ซึ่งอดีตเป็นผู้ลงทุนและพัฒนาภาคตะวันออก และ กลุ่ม บริษัท ปตท. ทั้งนี้ในนิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า จะมีอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมพลังงานธรรมชาติ จากลม โซลาเซลล์ และศูนย์กลางการขนส่งเชิงพาณิชย์และการท่องเที่ยว ฯลฯ เป็นอันดับต้น ๆ

ดร.ชนธัญ กล่าวว่า อุตสาหกรรมการเกษตร หลักคือการแปรรูปอาหารทะเล ยางพารา และปาล์มน้ำมัน แบบครบวงจร อุตสาหกรรมพลังงานธรรมชาติ ลม โซลาเซลล์ โดยประชาชนทุกแต่ละหลังคาเรือน จะมีส่วนร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยตอนกลางวันขายให้กับภาคเอกชน และตอนกลางคืนประชาชน จะซื้อจากภาคเอกชนต่อ โดยในราคาที่เป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีการผลิต ประมาณ 1,000 เมกกะวัตต์

ส่วนศูนย์กลางการขนส่งเชิงพาณิชย์และการท่องเที่ยว จะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ ศุลกากร รูปแบบแหลมฉบัง และท่าเรือคลองเตย โดยการลงทุนก่อสร้างรองรับสินค้าได้ประมาณ 1 ล้านตู้ ซึ่งทางภาคใต้ ต้องส่งสินค้าออกประมาณ 500,000 ตู้ / ปี ไปยังท่าเรือรัฐปินัง มาเลเซีย มีมูลค่าเงินมูลค่ามากต่อปี ทั้งนี้จากตัวเลขการค้าชายแดนไทย มาเลเซีย สูงสุดของการค้าชายแดน มีมูลค่า 600,000 ล้านบาท โดยจากตัวเลขในปี 2561 และต่อไปตู้คอนเทนเนอร์ จากรัฐเคดาห์ตอนบน มาเลเซีย มีอีกจำนวนมาก ก็จะมาลงที่ศูนย์กลางขนส่งเชิงพาณิชย์ ที่นิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า ด้วย เพราะอยู่ระยะห่างประมาณ 40 กม. ถ้าจากรัฐเคดาห์ ไปส่งที่ท่าเรือรัฐปินัง ระยะทางประมาณ 100 จะลดต้นทุนการได้ปริมาณมาก และรองรับอุตสาหกรรมที่จะเกิดในพื้นที่ มีการขยายตัวเติบโตขึ้น โดยเฉพาะในนิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า อีกประมาณ 500,000 ตู้

“ศูนย์กลางขนส่งเชิงพาณิชย์ นิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้าแห่งอนาคต จะเป็นเกตเวย์ ที่ 3 ของไทย โดยรวมโมเดล จากแหลมฉบัง และท่าเรือคลองเตย รวมด้วยกัน”

“สำหรับผลกระทบจะน้อยมาก เพราะไม่มีเรื่องเวนคืนที่ดิน ไม่มีที่ดินวากัฟ ที่ดินกุโบร์ มัสยิด ทั้งนี้ภาคเอกชน ได้ลงทุนซื้อไว้แล้ว โดยประมาณ 10,800 ไร่”

สำหรับโครงการ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต คือพื้นที่ ต.ทาทับ ต.ตลิ่งชัน และ ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา และพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า จะมีการสร้างปอดเมืองใหม่ ให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจัดสรรพื้นที่ไว้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่ ได้ร่วมกันเพาะปลูก ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ และประชาชนเองก็ร่วมเป็นคณะกรรมการ

ส่วนการท่องเที่ยวฮาลาล เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมุสลิมทั่วโลก ที่มีประมาณ 2.2 พันล้านคน โดยการล่องเรือสำราญ ทางทะเลขึ้นท่องเที่ยว จ.นราธิวาส ยะลา และ จ.ปัตตานี จรดถึง จ.สงขลา เพราะการท่องเที่ยวฮาลาลที่เหมาะสมที่สุดของไทย คือจังหวัดชายแดนภาคใต้และได้รับการตอบรับเสนอจากชาวมุสลิม เพราะจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความพร้อมเหมาะสมทั้ง ศาสนา อารยธรรมอิสลาม ที่สมบูรณ์ มีมัสยิด 300 ปี มีสถานที่ละหมาด ฯลฯ

ดร.ชนธัญ กล่าวอีกว่า นิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า จะมีการสร้างแรงงานประมาณ 100,000 อัตรา ขณะนี้กำลังจัดทำเก็บข้อมูล นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 และปีที่ 6 ในพื้นที่ โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) มหาวิทยาลัยทักษิณ ฯลฯ ในภาคใต้ เป็นผู้ดำเนินการผลิตแรงงานไว้รองรับ หากจะเข้าไปทำงาน ในนิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า

ในโครงการยังมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเงินรายได้จากสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในนิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ จะจัดถูกสรรเข้ากองทุน 10 เปอร์เซ็นต์ จะมีเงินรายได้ประมาณ 20,000 ล้านบาท / ปี เพื่อนำมาจัดสรรให้กับชุมชนในพื้นที่ด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประกอบอาชีพ การศึกษา สาธารณสุข สร้างโรงพยาบาล ฯลฯ

“สำหรับนิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวไกล จะมีรายได้ประมาณ 2.2 ล้าน / ปี”

ดร.ชนธัญ ยังกล่าวอีกว่า รัฐบาล และ ศอ.บต.จะขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้าแห่งอนาคต ที่มีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ อุตสาหกรรมรางรถไฟ หัวรถจักร ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งคู่ธุรกิจมีการหารือกัน และจับมือคู่ทางธุรกิจกันแล้ว เช่น ไทย จีน

สำหรับโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า ที่ผ่านมารัฐบาลและ ศอ.บต. เดิมจะดำเนินการพร้อมกันกับโครงการเมืองต้นแบบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส คือเมืองต้นแบบ 3 เหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เช่น เมืองต้นแบบ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมืองต้นแบบ อ.เบตง จ.ยะลา และเมืองต้นแบบ อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส แต่ต้องชะลอไว้ก่อนเพราะเหตุผลบางประการเท่านั้น และอีก 2 ปีถัดมา ก็มีการขยายเอาเมืองต้นแบบที่ 4 อ.จะนะ จ.สงขลา อุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า ขยายจากเมืองต้นแบบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของรัฐบาล

“ทั้งนี้เมืองต้นแบบ 3 เหลี่ยมมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ตามมติ ครม. ปรากฏว่าเศรษฐกิจได้ขยายตัวเติบโตขึ้นมาประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ จากที่ติดลบมา โดยภาพรวม และขณะนี้อยู่ในการเฝ้าดูแลความสัมฤทธิ์ผลต่อไป”

ดร.ชนธัญ กล่าวอีกว่า เมืองต้นแบบเบตง จ.ยะลา มีการขยายเติบโตขึ้น มีนักท่องเที่ยวประมาณ 1 ล้านคน / ปี ที่ในปี 2558 – 2559 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 200,000 คน เมืองต้นแบบสุไหงโกลก จ.นราธิวาส เป็นเมืองการค้าชายชายแดนเติบโตขึ้นประมาณ 6,000 ล้านบาท / ปี โดยตัวเลขในปี 2561 จากเดิมประมาณ 4,500 ล้านบาท

ส่วนเมืองต้นแบบ อ.หนอกจิก จ.ปัตตานี มีการลงทุนโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตร ถึง 3-4 โรงงาน มีอุตสาหกรรมทุเรียน มะพร้าว และอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และมีโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วย เกิดอันตราจ้างแรรงานเพิ่มขึ้นมาก

นอกนั้นอุสาหกรรมฮาลาล กำลังดำเนินการขอบริหารพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมฮาลาล อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้เข้าใช้งานพื้นที่อย่างเต็มรูปแบบ คือโรงเชือดไก่ โรงงานทำปลากะตัก ฯลฯ เพื่อแปรรูปให้เป็นสินค้าที่สามารถจัดจำหน่ายได้ทั่วประเทศ.

ดร.ชนธัญ กล่าวอีกว่า จากนี้จะมีการชี้วัดจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากที่ผ่านมาชี้วัดกันด้วยเรื่องคดีความมั่นคง และในปี 2563 สนามบินเบตง เมืองต้นแบบเบตง จะแล้วเสร็จ และเส้นทางรถไฟระหว่างสุไหงโกลก กับรัฐกลันตัน มาเลเซีย จะเปิดบริการเช่นกัน ในระยะทาง 17.4 กม. จะเป็นตัวชี้วัดอีกต่อไป

และถัดในปี 2567 อีกระยะ 5 ปี ก็จะเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เชื่อมจากรัฐกลันตัน จากรุงกัวลามลัมเปอร์ มาเลเซีย ที่มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงก่อนแล้ว เชื่อมเข้า สูเมืองต้นแบบสุไหงโกลก จ.นราธิวาส แล้วเชื่อมต่อมาสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ในระยะทาง 160 กม. แล้วจะลากต่อไปยังส่วนกลางต่อไป และเป็นสายรถไฟความเร็วสูงแห่งแรกของไทย

สำหรับโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ เมื่อวันที่ 7 พค. 62 รัฐบาลอนุมัติ ให้มีการขยายผลเมืองต้นแบบสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จ.สงขลา ทั้งนี้เพื่อยกระดับการพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต

ดร.ชนธัญ กล่าวว่า ศอ.บต. รัฐบาลให้มี พรบ.รองรับ มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ฯลฯ มารวมศูนย์เบ็ดเสร็จที่ ศอ.บต. โดยใช้อำนาจตาม มาตรา 10 และ มาตรา 18 ซึ่ง พรบ.ศอ.บต. มีมาตั้งแต่ปี 2553 แต่เพิ่งมาใช้ในยุคนี้เป็นครั้งแรก

นายกวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคแอนเค ซุเปอร์ค้าส่งหาดใหญ่ 2009 จำกัด ในฐานะประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า การที่รัฐบาล ได้จัดตั้ง เมืองต้นแบบมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนที่ 4 อ.จะนะ จ.สงขลา โดยตั้งนิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้าแห่งอนาคต และจะแล้วเสร็จในปี 2565 ขอต้อนรับและเป็นนิมิตหมายที่ดี จะเป็นการผลักดันเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวเติบโดยภาพรวมอย่างกว้างชัดเจนโดยเฉพาะในท้องถิ่น

“เดิมนั้นมีการผลักดันทำเรื่องท่าเรือน้ำลึกอยู่แล้ว เมื่อรัฐบาลผลักดันเป็นโครงการอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า การคมนา สมบูรณ์ขึ้น แต่จะต้องสร้างเส้นทางรถไฟต่อเชื่อม และเพิ่มถนน 8 เลน เพื่อรองรับรถเทรเลอร์เข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม

“ปัจจุบันประชาชนในพื้นที่มีเพียงกังวลเรื่องอุตสาหกรรม หนักที่ต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาล ภาครัฐ จะต้องยืนยันอย่างชัดเจน เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในเรื่องนี้”

นายกวิศพงศ์ ยังกล่าวอีกว่า ถ้าแล้วเสร็จจะสร้างแรงงานได้ปริมาณมาก คนในพื้นที่จะได้มีงานทำจะไม่ไหลออกนอก จะมีงานทำ มีรายได้ที่ดีขึ้น มีการค้าขาย มีเงินหมุนสะพัดในท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก

“อุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า ตามแผนแล้ว เศรษฐกิจที่ดีขึ้น แน่นอน”

นายกวิศพงศ์ กล่าวอีกว่า แต่เดิมนั้นทางภาคใต้ ส่งสินค้าออกต่างประเทศ โดยประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ ทางด่านสะเดา และปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา ติดกับรัฐเคดาห์ และปะลิส มาเลเซีย ไปลงท่าเรือบัตตเตอร์เวิร์ธ รัฐปินัง มาเลเซีย โดยเฉพาะส่งสินค้าไปยังฝั่งกลุ่มประเทศเอเชีย มี จีน ญี่ปุ่น และได้หวัน เป็นหลัก ทั้งยางแผ่น น้ำยาง ไม้ยาง พืชการเกษตร โดยมีมูลค่า 400,000 – 600,000 ล้านบาท / ปี

เมื่อลงท่าเรือบัตเตอร์เวิร์ธ รัฐปินัง มาเลเซีย ก็อ้อมทะเลมะละกา แล้วผ่านอ่าวไทยอีกที แต่เมื่อมีนิคมอุตสาหกรรมจะนะก้าวหน้า ไทยก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ เช่น ค่าผ่อนเรือ ค่าผ่านแดน ค่าตู้คอนเทนเนอร์ ที่เงินส่วนนี้ไหลออก เงินก็จะอยู่ภายในประเทศ คนไทย ก็จะมีงานทำ มีรายได้

“เฉพาะตู้คอนเทนเนอร์ ที่สินค้าออกจากประเทศ ผ่านทางด่านสะเดา ปาดังเบซาร์ วันละประมาณ 400 – 500 ตู้ ค่าตู้คอนเทนอนร์ประมาณ 15,000 บาท / ตู้ เฉพาะเพียงค่าตู้คอนเทนอนเนอร์วันละประมาณ 7.5 ล้านบาท ตกเดือนละ 225 ล้านบาท เป็นต้น

ทาง นายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยง ประธานหอการค้าจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ประเด็นที่สำคัญสุดที่นำเสนอต่อรัฐบาลใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส คือนโยบายการลงทุนในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาการดึงนักลงทุนจากนอกพื้นที่ค่อนข้างไม่เป็นผล แม้จะมีการส่งเสริมทุกทางก็ตาม จึงจำเป็นต้องผลักดันนักลงทุนภายในจังหวัดเป็นสำคัญ เพื่อให้เดินต่อ อย่างยั่งยืน

สำคัญที่สุด คือซอฟโลน (Zofe Loan) ที่จะต้องขยายเวลา และเพิ่มเงินซอฟโลน จากเดิมที่ให้อยู่แล้ว ให้ขยายผลได้อีก เพื่อการขับเคลื่อนเดินไปได้ และประการสำคัญการเข้าถึงซอฟโลน ค่อนขั้นข้างเข้มข้นจึงเข้าถึงปริมาณน้อย จึงอยากให้สถาบันการเงินผ่อนคลายขั้นตอนต่าง ๆ เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน การเขียนโครงการ เป็นต้น และประการสำคัญจ ะต้องเน้นการทำประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการรับทราบ

ซอฟโลน ดอกเบี้ย 1.5 เปอร์เซ็นต์ / ปี เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จะเป็นโครงการที่สนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ ทำให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ เมื่อผู้ประกอบการไปได้ การจ้างงานในพื้นที่ ก็ยังดำเนินการต่อไป

“แต่หากปิดไปแล้ว คนว่างงาน ก็จะเพิ่มขึ้น และในที่สุดก็ส่งผลถึงสังคม ซึ่งอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อนุเคราะห์พิจารณาโครงการซอฟโลน ต่อไป”

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี 2562 เฉพาะพืชเศรษฐกิจสำคัญ อีก 1 ตัว คือทุเรียน ค่อนข้างไปได้ดีและยังได้ราคาที่ดี ส่งผลให้นักลงทุนประเทศจีน เข้ามาลงทุนโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปทุเรียน มีมูลค่าลงทุน 700 ล้านบาท แปรรูปเพื่อส่งออกประมาณ 1.2 หมื่นตัน และมีเงินหมุนสะพัด ประมาณ 2,000 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานถึง 1,200 คนส่วนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ราคายังตกต่ำ ทั้งนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ปัญหาอยู่เพื่อดันราคาให้ขยับขึ้น

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า และอีกประเด็นสำคัญจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี คือสนามบินเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ซึ่งจะเปิดบริการในปี 2563 ส่งผลให้ธุรกิจจะกระเตื้องขึ้นอีกมาก แล้วจะขยายผลมายังอำเภอใกล้เคียง ทำให้นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น จะมีรายได้เพิ่มขึ้น

“จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมไม่ได้คาดหวังสถานการณ์ลดลงเป็นศูนย์ภายใน 2 ปีนี้ แต่ต้องมีพื้นที่ปลอดภัยจริงเพิ่มขึ้นทุกปี แล้วจึงมีมาตรการกระตุ้นในทุกมิติ เพื่อรักษาพื้นที่ไว้ เพราะขณะนี้เหตุการณ์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ” นายเกรียงศักดิ์ กล่าว และว่า ขณะนี้ทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ เศรษฐกิจสำคัญอีกตัวที่จะกำลังเดินไปได้ดี คือไก่เบตง ของ บริษัท ไก่โต้ง จำกัด โดยลงทุนประมาณ 22 ล้านบาท พร้อมโรงเชือดมาตรฐานขนาดเล็กผ่านกระบวนการฮาลาล ซึ่งวางขายทั้ภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะเป้าหมายตลาดสำคัญสำคัญประเทศมุสลิม ที่มีประชากรเป็นจำนวนมาก นอกจากห้างโมเดิร์นเทรด และร้านห้างทั่วไปในประเทศแล้ว ซึ่งขณะนี้มีไก่เบตง มีสต๊อกอยู่เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย

“สำหรับโรงเชือดไก่สามรารถเชือดได้ถึงวันละ 200 - 300 ตัว และได้ถึง 1,000 ตัว เป็นไก่กระบวนการฮาลาล มีทั้งบรรจุเป็นเพคเกจจิ้ง”

นายเกรียงศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า รัฐบาล กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จังหวัด องค์กรภาครัฐ และหอการค้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและมาตรการจูงใจ ให้มีการลงทุนรูปแบบนี้เพิ่มขึ้นและขยายครอบคลุมหลายพื้นที่ จะมีเงินทุนหมุนเวียน และเกิดการจ้างงาน ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นอย่างดี จะส่งผลต่อภาพรวมในพื้นที่อย่างเลี้ยงไม่พ้น.