posttoday

"เฉลิมชัย"สั่งเร่งแปลงขยะทะเลเป็นทุนสร้างรายได้ชุมชนประมงอย่างยั่งยืน

02 มิถุนายน 2564

รมว.เกษตรฯเดินหน้าพัฒนาทะเลสะอาดอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการ"ทะเลปลอดอวน ขยะคืนฝั่ง"กรมประมงผนึกกำลังประมงพื้นบ้าน-ประมงพาณิชย์แปลงขยะทะเลเป็นทุนเพื่อสร้างรายได้ชุมชนประมง

เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการ ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพประมงไทย เปิดเผยว่า หลายปีที่ผ่านมาทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสาคัญของการ ป้องกันและจัดการปัญหาขยะทะเล โดยประเทศไทย ติดอันดับต้นๆ ของโลกที่มีการทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุด ขณะนี้ หลายหน่วยงานในประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสาคัญและได้มีการกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณขยะ สอดคล้องกับวาระแห่งชาติ ภายใต้แผนแม่บทการจัดการขยะแห่งชาติฉบับที่ 2559 – 2564 ว่าด้วยการต่อต้าน ขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน ตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ในการร่วมมือมุ่งมั่นฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานสู่มิติใหม่ ภายใต้ “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” คือ 1.ยุทธศาสตร์ตลาดนาการผลิต 2.ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 3.ยุทธศาสตร์ “3’s” (Safety-Security-Sustainability- เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน) 4.ยุทธศาสตร์การบริหาร เชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะโมเดล “เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย” และ 5.ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืน ตามแนวทางศาสตร์พระราชา สอดคล้องกับมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2564 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ที่เห็นชอบในโมเดลเศรษฐกิจ หมุนเวียนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การนำขยะมารีไซเคิลหมุนเวียนให้เกิดรายได้ใช้พัฒนาชุมชน ด้วย “โครงการทะเล ปลอดอวน” และ “โครงการขยะคืนฝั่ง” กรมประมงในฐานะหน่วยงานที่ดูแลด้านประมง ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นอย่างดี โดยในปี 2562 กรมประมงจึงได้ร่วมกับพี่น้องชาวประมงท้ังประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ผู้ที่ใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลโดยตรง ในการริเริ่มนำแนวคิดการไม่สร้างขยะในท้องทะเล และการเก็บขยะในท้อง ทะเล มาแปลงเป็นทุน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ภายใต้การบริหารจัดการของชุมชนประมง สร้างรายได้นำไปพัฒนาชุมชน

"เฉลิมชัย"สั่งเร่งแปลงขยะทะเลเป็นทุนสร้างรายได้ชุมชนประมงอย่างยั่งยืน

ด้านนายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า โครงการที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะในทะเลได้ ดำเนินงานภายใต้นโยบายของ ดร.เฉลิมชัยได้เน้นย้ำในเรื่องของการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม โดยกรมประมง ผู้ประกอบการและชาวประมง บูรณาการงานร่วมกัน อย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ช่วยลดโอกาสในการปนเปื้อนของมลพิษในสัตว์น้ำ ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยเริ่มต้นจากชาวประมงพาณิชย์ขยายผลไปสู่ ชาวประมงทุกกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งกรมประมงได้ดำเนินโครงการในการกำจัดขยะทะเลมาแล้ว จำนวน 2 โครงการ คือ1. โครงการ Net Free Seas หรือเรียกว่า โครงการทะเลปลอดอวน ซึ่งกรมประมงได้ร่วมกับมูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation : EJF) ในการพยายามจัดการและแก้ไขปัญหาขยะที่ เกิดจากเศษอวนประมง โดยการนำเศษอวนเอ็นจากเรือประมงพื้นบ้าน กลับมารีไซเคิลแปรสภาพใช้ประโยชน์และสร้าง รายได้ให้แก่ชุมชน

ทั้งนี้ ในปัจจุบันได้มีการนำร่องจัดทาโครงการ Net Free Seas ในพื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเลในจังหวัด ทางภาคตะวันออกและภาคใต้ 5 จังหวัด ได้แก่ ระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา แล ะพังงา โดยมีชุมชนประมงพื้นบ้านที่จัดตั้งเป็นองค์กรประมงท้องถิ่น ทั้งหมด 47 ชุมชน มีชาวประมงเข้าร่วมโครงการกว่า 700 คน โดยชุมชน ประมงท้องถิ่นในพื้นที่สามารถรวบรวมนำเศษอวนที่กลายเป็นขยะในพื้นที่แล้วส่งขายให้กับโรงงานในราคา 10 บาท/ กิโลกรัม เพื่อนำมารีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติก และแปลงไปเป็นของใช้ต่างๆ ได้มากกว่า 12 รายการ เช่น ที่เปิดขวด ที่รองแก้ว ที่กดลิฟท์ ส่วนประกอบของกระดานโต้คลื่น พรมปูพื้น ฯลฯ ซึ่งถูกนำไปจำหน่ายทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศแล้วกว่า 100,000 ชิ้น สามารถลดขยะที่เกิดจากเศษอวนไปได้มากถึง 14,000 กิโลกรัม ซึ่งชุมชนจะมี รายได้ตอบแทน โดยการำาเนินโครงการจะถูกปรับให้เหมาะสมกับวิถีชุมชน แต่ละชุมชนมีส่วนร่วมและมีสิทธิ์ในการให้คำแนะนำและตัดสินใจในรูปแบบการบริหารจัดการรายได้ที่ได้รับจากการขายเศษอวนผ่านโครงการและระบบการ จัดการ รีไซเคิลขยะจากอวนที่ไม่ซับซ้อนชาวบ้านสามารถดำเนินการเองได้ เอื้อให้เกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ชุมชนได้ในระยะยาว

"เฉลิมชัย"สั่งเร่งแปลงขยะทะเลเป็นทุนสร้างรายได้ชุมชนประมงอย่างยั่งยืน

สำหรับ โครงการดังกล่าวนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาขยะจากเศษอวนประมงเพื่อเป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางทะเลและช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลในระยะยาวแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากขยะ ช่วยสร้างช่องทางการเพิ่ม รายได้ให้แก่ชุมชนชาวประมง และเป็นการริเริ่มการนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาใช้แก้ปัญหาและเพิ่มคุณภาพ ชีวิตในชุมชนให้ดีขึ้น ที่สาคัญยังช่วยสนับสนุนความพยายามของชุมชนในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลผ่านการ อนุรักษ์อย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านโครงการเพื่อปลูกฝังจิตสานึกในการอนุรักษ์และปลูกฝัง พฤติกรรมการแก้ปัญหาขยะทะเลและการรีไซเคิลให้เป็นวิถีชุมชนที่ยั่งยืน และในอนาคตมีแผนจะขยายผลไปยังชุมชน ในจังหวัดใกล้เคียงในฝั่งทะเลอันดามัน ปัจจุบันมีชุมชนประมงในพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนชุมชนประมงท้องถิ่นชายฝั่งกับ กรมประมงทั้งหมดแล้ว จำนวน 751 ชุมชน

นายมีศักดิ์ กล่าวว่า โครงการ “ขยะคืนฝั่ง ทะเลสวยด้วยมือเรา” โดยกรมประมงร่วมกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรณรงค์ให้ชาวประมงดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่เขตทะเลและชายฝั่งให้สะอาดนำขยะทะเลคืนฝั่ง ภายใต้กรอบแนวคิด “รับรู้ต้นตอปัญหา เกิดจิตสานึกตระหนัก ให้ความเห็นร่วมสมัครเข้าทำกิจกรรม สร้าง สัมพันธ์ ให้ความร่วมมือ ยึดปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) ของกรมประมง จำนวน 30 แห่งทั่วประเทศ เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ดังกล่าว ปัจจุบันมีชาวประมงเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 4,328 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564) มีขั้นตอนการดำเนินการโดยผู้ควบคุมเรือประมงทุกลำที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ จะต้องจดบันทึกรายงานขยะที่เก็บมาแต่ละครั้ง แนบพร้อมการส่งสมุดบันทึกการทำประมง (LB) เพื่อให้ศูนย์ PIPO ตรวจสอบและบันทึกปริมาณขยะลงในระบบ

"เฉลิมชัย"สั่งเร่งแปลงขยะทะเลเป็นทุนสร้างรายได้ชุมชนประมงอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังได้ประสานงานไปยังท่าเทียบเรือทุกแห่งที่จดทะเบียนกับ กรมประมง ให้จัดจุดรวบรวม คัดแยกขยะจากทะเล และประชาสัมพันธ์ให้ชาวประมงที่ออกเรือ ลดการใช้ภาชนะหรือ บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ยาก ไม่เทเศษสิ่งของเหลือใช้ หรือเครื่องมือ อุปกรณ์ ของใช้ในเรือประมงลงสู่ทะเล ซึ่งจากกการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี ได้มีการสรุปรายงานผลปริมาณขยะ คืนฝั่งที่เก็บมาได้ปัจจุบันทั้งหมด จานวน 182,876 กิโลกรัม (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564) แบ่งเป็นขยะที่เก็บในเรือประมงจำนวน 139,682 กิโลกรัม ขยะจากทะเล 43,194 กิโลกรัม ซึ่งส่วนใหญ่ประเภทขยะที่พบมากที่สุดคือ เศษอวน รองลงมาเป็นขวด พลาสติก ขวดแก้ว และขยะอื่นๆ ทั้งนี้ขยะที่รวบรวมไว้จะมีการส่งต่อไปสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ซ้้ำเพื่อให้คุ้มค่าที่สุด หรือนำกลับมาใช้ใหม่ หรือกาจัดด้วยวิธีที่ถูกต้อง

“จากการดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมประมงได้มุ่งผลักดันกิจกรรมฯ ดังกล่าว ในด้านการดูแล รักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง จนประสบความสาเร็จเห็นผลเชิงประจักษ์ โดยล่าสุดกรมประมงได้ส่งผลงาน กิจกรรมฯ ดังกล่าว เข้าร่วมชิงรางวัลเลิศรัฐประจาปี 2564 ประเภทรางวัล การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม เพื่อแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจระหว่างภาครัฐ และชาวประมงในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและ สิ่งแวดล้อมกรมประมงขอขอบคุณชาวประมงในความตระหนักรักษ์สิ่งแวดล้อม และช่วยกันเก็บขยะจากทะเลคืนฝั่ง โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นต้นแบบและขยายผลไปสู่ชาวประมงทุกกลุ่มให้ปรับเปลี่ยน วิถีการทาประมงใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเนื่องในโอกาสวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก กรมประมง และพี่น้องชาวประมง ขอแสดงเจตจานงค์ว่าพวกเราพร้อมที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้คืนความอุดมสมบูรณ์ ดังเดิม” อธิบดีกรมประมงกล่าว