posttoday

ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตใกล้คลอดถูกปรับเกณฑ์ใหม่ให้เหมาะสมกับบริบทสังคมไทยยุคใหม่

10 มกราคม 2563

ยธ.ลุยต่อร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตหลังผ่านชั้นกฤษฎีกา เผยปรับแก้อายุผู้มีสิทธิจดทะเบียน –รับบุตรบุญธรรม-ทรัพย์สินและการสิ้นสุดสถานะคู่ชีวิตให้เข้าเกณฑ์สิทธิมนุษยชน-สอดคล้องบริบทสังคมไทย คาดใช้เวลาไม่นานมีผลบังคับใช้

ยธ.ลุยต่อร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตหลังผ่านชั้นกฤษฎีกา เผยปรับแก้อายุผู้มีสิทธิจดทะเบียน –รับบุตรบุญธรรม-ทรัพย์สินและการสิ้นสุดสถานะคู่ชีวิตให้เข้าเกณฑ์สิทธิมนุษยชน-สอดคล้องบริบทสังคมไทย คาดใช้เวลาไม่นานมีผลบังคับใช้

เมื่อวันที่ 10ม.ค.63 นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวหลังจากร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .... ผ่านการพิจารณาในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ทางคณะกรรมการกฤ ษฎีกาได้มีการแก้ไขปรับปรุงสาระสำคัญในหลายประเด็นให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ประกอบด้วย หมวดการจดทะเบียนคู่ชีวิต ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนคู่ชีวิต เช่น การกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ที่มีสิทธิจดทะเบียนคู่ชีวิตตามมาตรา 9 ซึ่งเดิมต้องล้อกฎหมายสมรส คือ ผู้สมรสจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีและต้องการได้ความยินยอมจากบิดา มารดา แต่มีข้อท้วงติงว่าเป็นการเลือกปฎิบัติ จึงเห็นตรงกันว่า อายุขั้นต่ำของผู้มีสิทธิจดทะเบียนคู่ชีวิตจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปี หมวดการเป็นคู่ชีวิต ได้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคู่ชีวิต ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต ความเป็นโมฆะของการจดทะเบียนคู่ชีวิต และการสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต หมวดการรับบุตรบุญธรรมร่วมกันของคู่ชีวิต รวมถึงการเสนอร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...เพื่อให้สอดคล้องกับร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. .ซึ่งเป็นร่างเดิมตั้งแต่ครม.ในรัฐบาลได้มีมติรับหลักการตามที่กระ ทรวงยุติธรรมเสนอ

นายเกิดโชค กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้เมื่อคณะกรรมการกฤษีกาแก้ไขร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ตามมติที่ประชุมเสร็จแล้วก็จะส่งกลับมายังกระทรวงยุติธรรมเพื่อยืนยัน จากนั้นกระทรวงฯก็จะเสนอร่างไปยังครม.เพื่อขอความเห็นชอบอีกครั้ง ก่อนนำเข้าการพิจารณาของรัฐสภาทั้ง 3 วาระ โดยหลังจากร่างพ.ร.บ.ผ่านการพิจารณาฯแล้วก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อประกาศลงราชกิจจาฯ และจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ร่างพ.ร.บ. คู่ชีวิตฉบับที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. มีทั้งหมด 6 หมวด 44 มาตรา