posttoday

หยุดดราม่า!แอร์พอร์ตลิงก์แจงสเปคไม้กั้นยันจัดซื้อโปร่งใส

19 ตุลาคม 2561

สังคมออนไลน์แพร่ภาพราวสเตนเลสส์กั้นบนชั้นชานชาลารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ขณะที่ผู้ให้บริการแจงจัดซื้อโปร่งใสใช้งบกว่า13ล้านบาท

สังคมออนไลน์เแพร่ภาพราวสเตนเลสส์กั้นบนชั้นชานชาลารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ขณะที่ผู้ให้บริการแจงจัดซื้อโปร่งใสใช้งบกว่า13ล้านบาท

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่าจากรณีที่มีสื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ภาพการติดตั้งราวกั้นสเตนเลสส์บนชั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ กระทั่งกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากประชาชน และผู้โดยสารที่ใช้บริการจนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย ขอชี้แจงว่าก่อนหน้านี้ รฟฟท. มีแผนจะดำเนินการติดตั้งระบบประตูกั้นชานชาลาแบบสูงครึ่งบาน ( Platform Screen Door : PSD ) ใน 7 สถานี งบประมาณ 200 ล้านบาท (ยกเว้นสถานีสุวรรณภูมิ  โดยทำการประมูลติดตั้งประตูกั้นชานชาลา แต่ต้องยกเลิกเนื่องจากมีผู้ผ่านประมูลรายเดียว ประกอบกับมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งจะได้ผู้ชนะการประมูลภายในสิ้นปี และรูปแบบสถานีของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์จะต้องเปลี่ยนไปรองรับโครงการดังกล่าว ซึ่งมีขนาดความกว้างของตัวรถไฟฟ้ามากกว่า

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในช่วงระหว่างเปลี่ยนผ่านสู่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน บริษัทจึงปรับรูปแบบการดำเนินงานเป็นการติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบราวสเตนเลสส์ คล้ายรถไฟชินคันเซ็นของประเทศญี่ปุ่น และสถานีรถไฟฟ้าอื่นๆในต่างประเทศ สำหรับร่างขอบเขตเงื่อนไขของสัญญานั้นบริษัทผู้ชนะการประกวดราคาจะต้องดำเนินงานติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบราวสเตนเลสส์

ทั้งนี้มีผู้ดาวน์โหลดเอกสารจากเว็บไซต์ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จำนวน 36 บริษัท มีผู้ยื่นข้อเสนอและราคาผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จำนวน 15 บริษัท ถูกต้องตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่ รฟฟท. กำหนด 10 บริษัท โดยบริษัท แกรนด์ไลน์ อินโนเวชั่นส์ จำกัด ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหนังสือรับรอง และจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำที่สุด 13,456,900 บาท