posttoday

แรงงานหนุนชายไทยลางานเลี้ยงลูกสร้างความเสอภาค

10 มีนาคม 2560

แรงงานหนุนชายลางานเลี้ยงบุตรสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศในไทย

แรงงานหนุนชายลางานเลี้ยงบุตรสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศในไทย

นายสตัฟฟาน แฮร์สตรัม เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย กล่าวในงานแถลงข่าวเรื่อง “Parternity leave – a step towards Gender Equality” (สิทธิการลาเลี้ยงดูบุตร – ก้าวที่สำคัญสู่ความเสมอภาคระหว่างเพศ) ตอนหนึ่งว่า ทางสถานทูตสวีเดน กรุงเทพฯ  สนับสนุนให้ทุกคนมีความเสมอภาคระหว่างเพศซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ทำเพียงวันใดวันหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องให้ความเสมอภาคระหว่างเพศทั้ง 365 วัน

"ผมจึงขอเน้นย้ำให้ผู้ชายต้องมีส่วนรวมในการสร้างความเสมอภาคต่อเพศหญิง ดังนั้น เรื่องนโยบายหนึ่งที่จะช่วยสร้างให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศ คือ นโยบายการให้ลิทธิลาเลี้ยงบุตรสำหรับผู้ชาย เพราะผู้ชายที่ได้เป็นพ่อแล้ว ย่อมมีหน้าที่ต้องทำหน้าที่ตามบทบาทของตัวเองให้ดีที่สุด ซึ่งการให้ลาเลี้ยงบุตรและยังคงได้รับค่าจ้างตามเดิมด้วย

"ไม่เพียงสำหรับแม่เท่านั้น นโยบายนี้ประเทศสวีเดนได้มีการใช้กฏหมายให้สิทธิผู้ชายลาเลี้ยงลูก ตั้งแต่ตั้งปี 2517 โดยกำหนดการลาเลี้ยงลูกสำหรับผู้ชายระยะเวลาทั้งหมด 90 วัน จากจำนวนวันลาทั้งสิ้น 480 วัน   หรือเรียกว่าเป็นสามเดือนของการเป็นพ่อคน นโยบายนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศ และยังส่งผลให้ผู้เป็นแม่ได้ทำงานได้อย่างเต็มที่ พ่อกับลูกได้สร้างความสัมพันธ์อย่างเต็มที่" นายแฮร์สตรัม ระบุ

ด้าน นายสิงหเดช ชูอำนาจ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในประเทศไทยยังไม่ให้สิทธิลาเลี้ยงลูกสำหรับผู้ชาย ทั้งที่ ผู้ชายที่เป็นพ่อต้องให้ความสำคัญกับแม่ และช่วยเลี้ยงดูบุตรได้ด้วย แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีเพียงนโยบายการลาหยุดเพื่อคลอดและเลี้ยงดูบุตรสำหรับผู้หญิง ซึ่งสามารถลาคลอดและเลี้ยงดูบุตรเป็นระยะเวลา 90 วัน รวมถึงการทำงานบางแห่งได้มีการจัดสถานที่เพื่อให้ความรู้ ความช่วยเหลือด้านสุขภาพให้กับคุณแม่ด้วย

"ประเทศไทยยังไม่มีนโบายการให้ลาเลี้ยงบุตรสำหรับผู้ชายอย่างสวีเดนที่ขึ้นชื่อด้านการสวัสดิการดีเยี่ยม ไทยเพียงแต่มีการให้ลาหยุดเลี้ยงดูบุตรสำหรับเจ้าพนักงานรัฐและวิสาหกิจได้ จำนวน 15 วัน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ ปี 2512 โดยให้ส่วนราชการนำร่องก่อน ต่อมา ปี 2513 เริ่มให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจดำเนินตาม แต่ในส่วนภาคเอกชนต้องมีการเข้าไปคุยก่อน แบบไม่บังคับ แต่ก็ได้ก็มีการพิจารณาบ้างแล้ว ซึ่งจะอยู่ในส่วนกฏหมายการคุ้มครองแรงงานว่าจะต้องมีให้

"ทั้งนี้ทางกระทรวงแรงงานก็ได้มีหนังสือขอความร่วมมือว่าให้ทางภาคเอกชนและภาคอื่น ๆ ได้เปิดโอกาสให้คุณพ่อมือใหม่สามารถลาหยุด 15 วัน ส่วนเรื่องค่าจ้างทางกระทรวงแรงงานก็ไม่ได้บังคับว่าต้องจ่ายเหมือนเดิม แต่ให้ภาคเอกชนแต่ละแห่งพิจารณาเองว่าจะยังจ่ายหรือไม่ ตามความสมัครใจทั้งเอกชนและพ่อมือใหม่" นายสิงหเดช ระบุ

นายสิงหเดช กล่าวอีกว่า นโยบายดังกล่าวนี้อาจเป็นไปได้ที่จะสามารถสร้างแรงจูงใจการเพิ่มโอกาสการมีบุตรเพิ่ม แต่ก็มีเหตุผลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายค่าเลี้ยงดู ซึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละครอบครัวที่ไม่มีใครไปบังคับได้
แต่สำหรับภาคเอกชนทางรัฐบาลกำลังมีการผลักดันให้เกิดขึ้นด้วย

ขณะที่ นายลาร์ส สเวนสัน ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืนและการสื่อสาร บริษัท อิคาโน่ รีเทล เอเชีย (อิเกียภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) กล่าวว่า  อิเกียสนับสนุนให้ชีวิตของพนังงานมีความสมดุลทั้งด้านการทำงานและด้านครอบครัวโดยเฉพาะกับพ่อแม่มือใหม่ ดังนั้นทางอิเกียภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีนโยบายเพื่อให้เกิดความเสมอระหว่างเพศ เพราะในปัจจุบัน อิเกีย ประเทศไทยก็มีพนักงานที่เป็นผู้หญิงมากถึง 53% และมีผู้บริหารผู้หญิงกว่า 75%

"อย่างที่สโตร์อิเกีย บางนา ก็มีผู้จัดการเป็นผู้หญิงถึง 2 คนด้วยกัน ทางอิเกียจึงได้วางแผนเพื่อเพิ่มศักยภาพและบทบาทของผู้หญิงต่อผลที่เกิดขึ้นได้นำไปสู่การเป็นสังคมที่ดี โดยเป็นนโยบายให้พ่อแม่มือใหม่ สำหรับผู้ชายมีสิทธิ์ลาเลี้ยงบุตรได้เป็นจำนวน 4 สัปดาห์ ทั้งยังได้รับค่างจ้างอยู่ด้วย ซึ่งมีการเริ่มดำเนินนโยบายดังกล่าวขึ้นแล้ว โดยพนักงานชายคนแรกในอิเกีย ประเทศไทย ที่ได้รับสิทธิการลาไปเลี้ยงบุตรได้กล่าวถึงความรู้สึกกับผมว่าเป็นเรื่องที่ดี ทำให้ได้อยู่กับลูกมากขึ้น

"สิ่งนี้จึงทำให้เห็นว่าสิ่งที่สะท้อนกลับ คือความสำคัญของการแบ่งปันการรับผิดชอบในบ้าน จะช่วยส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศและสร้างความผูกพันของพ่อลูกด้วย นอกจากนี้น่าจะเป็นโอกาสที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านบุคลากรในกลุ่มแรงงานให้มีเพิ่มขึ้น ลดปัญหาจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และช่วยด้านเศษฐกิจด้วย" นายสเวนสัน กล่าว

ทั้งนี้ ภายในงานยังมีการประกาศมอบรางวัลการประกวดภาพถ่าย Thai Dads รูปพ่อลูกที่ส่งเข้ามาพร้อมคำบรรยายถึงบทบาทของความเป็นพ่อ โดยภาพที่ได้รับรางวัลและภาพที่ส่งเข้าร่วมการประกวดจะได้จัดแสดงในนิทรรศการภาพถ่ายที่มีทั้ง Thai Dads และ Swedish Dads และนับว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของ He For She Arts Week ที่จะจัดขึ้นโดยองค์การ UN Women แห่งสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนความเสมอภาคระหว่างเพศ ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 8 - 15 มี.ค.นี้

นายสิงหเดช ชูอำนาจ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในประเทศไทยยังไม่ให้สิทธิลาเลี้ยงลูกสำหรับผู้ชาย ทั้งที่ ผู้ชายที่เป็นพ่อต้องให้ความสำคัญกับแม่ และช่วยเลี้ยงดูบุตรได้ด้วย แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีเพียงนโยบายการลาหยุดเพื่อคลอดและเลี้ยงดูบุตรสำหรับผู้หญิง ซึ่งสามารถลาคลอดและเลี้ยงดูบุตรเป็นระยะเวลา 90 วัน รวมถึงการทำงานบางแห่งได้มีการจัดสถานที่เพื่อให้ความรู้ ความช่วยเหลือด้านสุขภาพให้กับคุณแม่ด้วย

"ประเทศไทยยังไม่มีนโบายการให้ลาเลี้ยงบุตรสำหรับผู้ชายอย่างสวีเดนที่ขึ้นชื่อด้านการสวัสดิการดีเยี่ยม ไทยเพียงแต่มีการให้ลาหยุดเลี้ยงดูบุตรสำหรับเจ้าพนักงานรัฐและวิสาหกิจได้ จำนวน 15 วัน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ ปี 2512 โดยให้ส่วนราชการนำร่องก่อน ต่อมา ปี 2513 เริ่มให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจดำเนินตาม แต่ในส่วนภาคเอกชนต้องมีการเข้าไปคุยก่อน แบบไม่บังคับ แต่ก็ได้ก็มีการพิจารณาบ้างแล้ว ซึ่งจะอยู่ในส่วนกฏหมายการคุ้มครองแรงงานว่าจะต้องมีให้

"ทั้งนี้ทางกระทรวงแรงงานก็ได้มีหนังสือขอความร่วมมือว่าให้ทางภาคเอกชนและภาคอื่น ๆ ได้เปิดโอกาสให้คุณพ่อมือใหม่สามารถลาหยุด 15 วัน ส่วนเรื่องค่าจ้างทางกระทรวงแรงงานก็ไม่ได้บังคับว่าต้องจ่ายเหมือนเดิม แต่ให้ภาคเอกชนแต่ละแห่งพิจารณาเองว่าจะยังจ่ายหรือไม่ ตามความสมัครใจทั้งเอกชนและพ่อมือใหม่" นายสิงหเดช ระบุ

นายสิงหเดช กล่าวอีกว่า นโยบายดังกล่าวนี้อาจเป็นไปได้ที่จะสามารถสร้างแรงจูงใจการเพิ่มโอกาสการมีบุตรเพิ่ม แต่ก็มีเหตุผลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายค่าเลี้ยงดู ซึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละครอบครัวที่ไม่มีใครไปบังคับได้แต่สำหรับภาคเอกชนทางรัฐบาลกำลังมีการผลักดันให้เกิดขึ้นด้วย