posttoday

เจาะเส้นทาง “แม่สุนีย์ ขนมไทย” จากขนมบ้านสู่อุตสาหกรรม ยืนหนึ่งร้านเซเว่นฯ

10 มีนาคม 2567

ทำอย่างไรขนมไทยจึงสามารถวางอยู่ในร้านเซเว่นฯ ได้ มากว่า 10 ปี ความพิเศษ หรือ จุดเด่นที่ไม่เหมือนท้องตลาด คืออะไร ที่สำคัญกระบวนการผลิตเพื่อเก็บความหอม ความอร่อย รสชาติไม่เปลี่ยนไม่ว่าจะกินเวลาไหน คือความท้าทายที่ “แม่สุนีย์ ขนมไทย” พิสูจน์ด้วยยอดขาย 260 ล้านบาทในปี 66

ก้องปพัฒน์  เรืองจินดาชัยกิจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เจ เอช แอนด์ สโนว์ กรุ๊ป จำกัด เจ้าของ แบรนด์ “แม่สุนีย์ ขนมไทย” และผู้ผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ EZY SWEET เล่าถึงที่มาในการทำธุรกิจกับ บมจ.ซีพี ออลล์ ว่า เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2556 โดยก่อนหน้านั้นบริษัทผลิตไอศกรีมเกล็ดหิมะ แบรนด์ สโนว์ ขายทั่วไปตามงานโอท็อป ด้วยความตั้งใจอยากเติบโตและนำสินค้าจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด ตนเองจึงมองเซเว่น อีเลฟเว่น เป็นจุดจำหน่ายสินค้าที่น่าสนใจ ด้วยสาขาที่มีทั่วประเทศ แต่ ไอศกรีมเกล็ดหิมะ เป็นของแช่แข็ง เก็บได้ไม่นาน ทางซีพี ออลล์ จึงแนะนำให้ทำขนม ตนจึงเริ่มต้นผลิตเป็น กล้วยบวชชี เต้าส่วน สตอเบอร์รี่ และ สละลอยแก้ว แต่สินค้าไม่เป็นที่นิยม ซีพี ออลล์ จึงแนะนำให้ผลิตเต้าส่วนทรงเครื่อง จากนั้นก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

ที่มาของแบรนด์ แม่สุนีย์ ขนมไทย เราก็ได้คำแนะนำจาก ซีพี ออลล์ เพราะการทำแบรนด์ขนมไทยชื่อแบรนด์ส่วนใหญ่ต้องมีคำว่า แม่ ผมจึงใช้ชื่อของคุณแม่มาสร้างแบรนด์ ส่วนเรื่องความรู้และเทคนิคในการทำขนมไทยผมอาศัยการเรียนรู้และมีทีมวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้อย่างจริงจังถึง 4 คน เพื่อให้ขนมไทยอร่อยที่สุด
 

เมื่อยอดขายและบริษัทมีการเติบโต ตนเองจึงได้มีการขยายโรงงานการผลิต ดังนั้นการทำเต้าส่วนทรงเครื่องเพียงเมนูเดียวไม่สามารถทำให้บริษัทมีรายได้เพียงพอต่อกับการลงทุนสร้างโรงงานใหม่

เจาะเส้นทาง “แม่สุนีย์ ขนมไทย” จากขนมบ้านสู่อุตสาหกรรม ยืนหนึ่งร้านเซเว่นฯ

จึงเป็นที่มาของการแตกไลน์สินค้าเป็นเมนูกล้วยปิ้ง กล้วยปิ้งน้ำตาลมะพร้าว เปียกปูนดอกไม้ และ กล้วยไข่เชื่อมน้ำกะทิ ทำให้ปัจจุบันมีขนมอยู่ในร้านเซเว่นฯจำนวน 13 รายการ

เจาะเส้นทาง “แม่สุนีย์ ขนมไทย” จากขนมบ้านสู่อุตสาหกรรม ยืนหนึ่งร้านเซเว่นฯ เจาะเส้นทาง “แม่สุนีย์ ขนมไทย” จากขนมบ้านสู่อุตสาหกรรม ยืนหนึ่งร้านเซเว่นฯ

สำหรับเคล็ดลับในการเลือกเมนูขนมไทย คือ ต้องทำให้ขนมบ้านสู่ขนมอุตสาหกรรมได้แบบอร่อยตั้งแต่วันแรกที่วางในร้านจนถึงวันสุดท้ายที่อายุของขนมจะหมด นอกจากความอร่อยแล้ว ยังต้องเก็บจุดเด่นของขนมไทยที่ความหอม ขนมต้องหอมทุกครั้งที่เปิดกิน และขนมไทยของ  “แม่สุนีย์ ขนมไทย” ต้องเป็นขนมไทยร่วมสมัยกินได้ทุกอายุตั้งแต่เด็ก 10 ขวบ ไม่ใช่ขนมไทยโบราณที่ทำยากเกินไปและมีกลุ่มคนกินเฉพาะกลุ่ม

เจาะเส้นทาง “แม่สุนีย์ ขนมไทย” จากขนมบ้านสู่อุตสาหกรรม ยืนหนึ่งร้านเซเว่นฯ

นอกจากนี้ฤดูกาลในการออกขนมก็สำคัญด้วย เพราะปัจจุบันนอกจาก “แม่สุนีย์ ขนมไทย” จะมีขนมไทยที่ต้องอุ่นกินแบบร้อนแล้ว ก็ยังมีเมนูเย็น เช่น พุดดิ้งโอวัลติน วางจำหน่ายในช่วงหน้าร้อนอีกด้วย โดยบริษัทจะมีเมนูใหม่หมุนเวียนนำเสนอต่อลูกค้าเดือนละ 1 เมนู 

เจาะเส้นทาง “แม่สุนีย์ ขนมไทย” จากขนมบ้านสู่อุตสาหกรรม ยืนหนึ่งร้านเซเว่นฯ

ก้องปพัฒน์ เล่าว่า ด้วยความที่ธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัวคือการทำโรงงานน้ำตาล ดังนั้นจึงมีความเข้าใจเกษตรกร วัตถุดิบที่นำมาใช้ทำขนมจึงเป็นการนำสินค้าจากเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ทั้ง ราชบุรี และนครปฐม มาเป็นวัตถุดิบสำคัญของโรงงานเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ที่ยั่งยืน โดยวัตถุดิบที่มีการใช้มากที่สุดคือ กล้วย ใช้ประมาณ 83% คิดเป็น 3,200 ตันต่อปี ซึ่งต้องเป็นกล้วยที่ไม่มีเมล็ด และเลือกขนาดที่เท่ากัน 

เจาะเส้นทาง “แม่สุนีย์ ขนมไทย” จากขนมบ้านสู่อุตสาหกรรม ยืนหนึ่งร้านเซเว่นฯ

ขนมของบริษัทใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ 100% เพื่อยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของขนมไทย เช่น ใบเตย ต้องเป็นใบเตยสดในการทำขนม เพื่อให้ได้กลิ่นและรสชาติของขนมไทยอย่างแท้จริง โดยใช้ใบเตยประมาณ 2-3 ตันต่อวัน ที่สำคัญวัตถุดิบที่นำมาผลิตต้องสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ว่ามาจากที่ไหน เพื่อที่เวลาเกิดปัญหาจะแก้ที่ต้นทางได้ทันที เพื่อลดการสูญเสียต้นทุนในการผลิต เช่น บริษัทฯจะเปิดรับซื้อกล้วยเกษตรกรจากพื้นที่ต่างๆ เป็นล็อตๆ เพื่อให้นำมาส่งตามวันเวลาที่กำหนด ทำให้รู้ได้ว่ากล้วยของวันนี้มาจากที่ไหน หากมีปัญหาจะได้แจ้งเกษตรกรพื้นที่นั้นๆ 

เจาะเส้นทาง “แม่สุนีย์ ขนมไทย” จากขนมบ้านสู่อุตสาหกรรม ยืนหนึ่งร้านเซเว่นฯ

ในส่วนของกระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบก็ต้องใช้เครื่องตรวจรับเพื่อให้ได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ เพื่อลดความเสียหายจากวัตถุดิบที่ไม่ได้มาตรฐาน ขณะที่กระบวนการจัดเก็บก็ต้องจัดเก็บในพื้นที่จัดเตรียมไว้ในร่ม เพื่อรักษาคุณภาพวัตถุดิบให้สดใหม่ก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต รวมถึงยังต้องรักษารสชาติให้ได้มาตรฐานเดียวกันในทุกถ้วย 

ก้องปพัฒน์ กล่าวว่า นอกจากสินค้าที่ดีมีคุณภาพแล้ว พันธมิตรที่ดีก็มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้บริษัทมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดโมเดิร์นเทรด การเติบโตเพียงลำพังอาจเป็นการเติบโตแบบไม่ยั่งยืน พันธมิตรที่สำคัญของบริษัทคือ เซเว่น อีเลฟเว่นและกลุ่มเกษตรกร  

เซเว่น อีเลฟเว่น มีส่วนช่วยสร้างการเติบโตให้กับบริษัทอย่างมากในเรื่องของช่องทางขาย การให้องค์ความรู้ และการเชื่อมโยงเครือข่าย เพราะการทำการค้าในตลาดโมเดิร์นเทรดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ให้ทันตลาด ซึ่งเซเว่น อีเลฟเว่น มีกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ ทำให้มองเห็นเทรนด์และความต้องการของตลาดเป็นอย่างดี ล่าสุดได้มีการจัด แคมเปญ “เปิดวาร์ปความอร่อยขนมไทยจาก SME” ซึ่งทางบริษัทก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเช่นกัน โดยกิจกรรมส่งเสริมการขายในแต่ละครั้งที่เซเว่น อีเลฟเว่นจัดนั้น ช่วยเพิ่มยอดขายในช่วงกิจกรรมได้สูงถึงประมาณ 20%  สำหรับยอดขายในปี 2566 บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 260 ล้านบาท คาดว่าในปี 2567 จะเติบโต 15% และยอดขายอยู่ที่ 365 ล้านบาท 

เจาะเส้นทาง “แม่สุนีย์ ขนมไทย” จากขนมบ้านสู่อุตสาหกรรม ยืนหนึ่งร้านเซเว่นฯ
 

หากเรามีความพร้อม มีการพูดคุยกับพันธมิตรอย่างดี เรารู้ว่าต้องผลิตเท่าไหร่ถึงจะเพียงพ่อต่อการส่งไปขายในเซเว่นฯ เราก็สามารถรับมือกับกำลังการผลิตได้ เซเว่นฯเขาไม่ได้บังคับผู้ประกอบการแต่เขาจะช่วยแนะนำให้ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เพียงแต่ SME ที่สนใจต้องค้นหาตัวเองให้เจอและมีเป้าหมายที่ชัดเจน ควบคู่กับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเสมอ