posttoday

"เมืองเดินได้ ปั่นดี" นำแนวคิดเนเธอร์แลนด์ ออกแบบกรุงเทพฯ

22 กุมภาพันธ์ 2567

กทม. ประสานแนวคิด เนเธอร์แลนด์ ออกแบบกรุงเทพฯ ระดมความคิดจากภาคประชาชน กทมฯ สำนักการจราจรและขนส่ง สู่"เมืองเดินได้ ปั่นดี"

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร, Mr. Remco Johannes van Wijngaarden เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ร่วมรับฟังการนำเสนอแนวคิดและการอภิปรายกิจกรรมกลุ่ม ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop in Bangkok ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร

\"เมืองเดินได้ ปั่นดี\"  นำแนวคิดเนเธอร์แลนด์ ออกแบบกรุงเทพฯ

รองผู้ว่าฯ วิศณุ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีความมุ่งหวังให้แนวคิดต่าง ๆ เพื่อการเป็นเมืองที่เดินได้ ปั่นดี ต้องทําให้เกิดขึ้นจริงไม่ใช่แค่ออกแบบ ซึ่งตอนนี้เรามีนโยบายที่กําลังทําอยู่คือ Bike Sharing โดยมีนโยบายสำคัญลำดับแรกสำหรับการเดินทาง คือ First and Last Mile เดินทางดีตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปลายทาง เพื่อส่งเสริมให้การใช้จักรยานง่ายขึ้น และต้องฝากพวกเราช่วยคิด อย่าให้เป็นอย่างคำพูดที่ว่าคนทำไม่ได้ขี่ คนขี่ไม่ได้ทำ ครั้งนี้จึงอยากให้คนขี่จักรยานมาช่วยแนะนําว่ากทม. ควรปรับปรุงตรงไหน เราพร้อมรับฟังทุกความคิดเห็น

ด้าน เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ฯ กล่าวชื่นชมที่ได้เห็นทุกคนมา Workshop ร่วมกันเพื่อให้การปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ ดีขึ้น โดยตนเองเคยปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ และเชื่อมั่นว่าเป็นไปได้ พื้นที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ที่ทุกคนได้ร่วมกันคิดเพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาล้วนเป็นพื้นที่สําคัญต่อการพัฒนาเมือง และทางสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ฯ ยินดีที่จะสนับสนุนกรุงเทพมหานคร

\"เมืองเดินได้ ปั่นดี\"  นำแนวคิดเนเธอร์แลนด์ ออกแบบกรุงเทพฯ

สำหรับการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop in Bangkok ในครั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้รับความร่วมมือจาก กระทรวงการจัดการโครงสร้างพื้นฐานและน้ำแห่งเนเธอร์แลนด์ ภายใต้โครงการ "Alliance for Cyeling and Walking Towards International Vitality and Empowerment" (ACTIVE) ให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจาก Dutch Cycling Embassy มาให้ความรู้ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พฤติกรรม และโครงสร้างองค์กรของชุมชนนักปั่นแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมีตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักการโยธา สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง  ผู้แทนกลุ่มจักรยาน และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย เข้ารวมกว่า 60 ท่าน เพื่อนำความรู้เกี่ยวกับเมืองของเนเธอร์แลนด์มาปรับใช้กับกรุงเทพมหานคร

\"เมืองเดินได้ ปั่นดี\"  นำแนวคิดเนเธอร์แลนด์ ออกแบบกรุงเทพฯ
 

สำหรับการประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 21 กุมภาพันธ์ 2567 ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ ศึกษาแนวคิดการส่งเสริมและการใช้จักรยานเพื่อการสัญจรของประเทศเนเธอร์แลนด์ การร่วมกันเสนอแนวคิดในการสร้างเครือข่ายการปั่นจักรยาน (Cycling networks) และการออกแบบระบบเครือข่าย (Network design) ร่วมกัน การร่วมปั่นจักรยานจากสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ฯ มายังศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เพื่อสะท้อนแนวคิดว่าการปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จริง รวมทั้งเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้ศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ระหว่างการเดินทาง

\"เมืองเดินได้ ปั่นดี\"  นำแนวคิดเนเธอร์แลนด์ ออกแบบกรุงเทพฯ

และวันสุดท้าย กับไฮไลต์ การนำเสนอแนวคิดจากการทำกิจกรรมตลอดทั้ง 3 วัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง 60 ท่าน ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และหลักการที่จำเป็นในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างเครือข่าย การจัดการกับปัญหาและอุปสรรคสำหรับการสร้างเส้นทางปั่นจักรยานในกรุงเทพมหานคร 

โดยนำเสนอแนวคิดของผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 8 กลุ่ม ซึ่งแบ่งพื้นที่ในการจัดทำข้อมูลจากทางแยกจำนวน 8 ทางแยกสำคัญ ได้แก่ 

1. แยกอโศก ถนนสุขุมวิท-ถนนอโศกมนตรี 
2. แยกถนนเจริญกรุง- รองเมือง 
3. แยกประดิษฐ์มนูธรรม - ลาดพร้าว
4. แยกท่าพระ
5. แยกซอยสวัสดี-พร้อมจิตร
6. แยกถนนหลวง-บริพัตร
7. แยกนาคนิวาศ สังคมสงเคราะห์ 
8. แยกตลาดพลู

\"เมืองเดินได้ ปั่นดี\"  นำแนวคิดเนเธอร์แลนด์ ออกแบบกรุงเทพฯ

โดยแต่ละกลุ่มได้นำจุดอ่อนจุดแข็งของพื้นที่ต่าง ๆ มาออกแบบแนวคิดในการปรับปรุงเส้นทาง ทางแยก และจุดจอด เพื่อให้เกิดเส้นทางเดินและปั่นจักรยานที่สะดวกปลอดภัย ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะร่วมผลักดันให้นโยบายของกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้จักรยาน การทำให้ถนน ซอย และเส้นทางเลียบคลองต่างๆ มีทางเดิน-ปั่น สะดวก ปลอดภัย เชื่อมต่อระบบขนส่งและการสัญจรทางเลือกอื่น ๆ ได้สะดวกเกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม

ในการนี้มี พ.ต.อ.เรวัฏ นูมปันต์ ผู้กำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจจราจร, ร.ต.อ. ชัยสิทธิ์ เขมกปสิทธิ รองสารวัตร (สอบสวน) กก.4 กองปราบปราม ผู้แทน สน.สำราญราษฎร์, ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารของสำนักการจราจรและขนส่ง เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอจากผู้เข้าร่วมประชุม
\"เมืองเดินได้ ปั่นดี\"  นำแนวคิดเนเธอร์แลนด์ ออกแบบกรุงเทพฯ