posttoday

คอนโดปัญหาอื้อโดนร้องเรียนมากสุด-สคบ.เร่งยกเครื่องกม.คุ้มครองผู้บริโภค

22 ธันวาคม 2561

สคบ.ชี้ อสังหาฯ ครองแชมป์ถูกร้องเรียนผ่านปีงบ 2561 กว่า 2,300 เรื่อง พบอาคารชุดปัญหามากที่สุด เร่งยกเครื่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

สคบ.ชี้ อสังหาฯ ครองแชมป์ถูกร้องเรียนผ่านปีงบ 2561 กว่า 2,300 เรื่อง พบอาคารชุดปัญหามากที่สุด เร่งยกเครื่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

นายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณระหว่างเดือน ต.ค. 2560-ก.ย. 2561 พบว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการร้องเรียนมากที่สุด 2,384 เรื่อง โดยพบว่าประเภทย่อยที่มี การร้องทุกข์เข้ามามากที่สุด คือ คอนโด มิเนียม 1,141 เรื่อง และบ้านจัดสรร 571 เรื่อง ประกอบด้วย อพาร์ตเมนต์ หอพัก ห้องเช่า บ้านเช่า 447 เรื่อง ว่าจ้างก่อสร้าง 109 เรื่อง ที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้าง 70 เรื่อง ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ 27 เรื่อง ที่ดิน 16 เรื่อง และเช่าพื้นที่ เช่าช่วง 10 เรื่อง ประเด็นที่ ร้องทุกข์เข้ามามากที่สุด คือ ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา การชำรุดหลังปลูกสร้าง ไม่ดำเนินการตามที่โฆษณา สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ ไม่คืนค่ามัดจำ และค่าจอง เป็นต้น

ขณะที่เรื่องปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงินมีร้องเรียนเข้ามาบ้าง แต่ไม่มากนัก มี 2-3 ลักษณะ เช่น บริษัทอสังหาฯ ที่เป็นเจ้าของโครงการสัญญาว่าจะเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ให้อีกประเด็น คือ ไม่มีข้อตกลงจากบริษัทในเรื่องการหาแหล่งเงินกู้ให้ โดยให้ลูกค้าไปหาแหล่งเงินกู้เอง ทำให้ลูกค้าไม่พอใจและขอเงินดาวน์ คืน แต่ผู้ประกอบการเหล่านั้นไม่ยอมคืน ผู้บริโภคจึงมาร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

สำหรับผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด ผ่าน คคบ. มี 3 บริษัท คือ 1.บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำนวน 52 เรื่อง 2.บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำนวน 46 เรื่อง และ 3.บริษัท แสนสิริ จำนวน 46 เรื่อง

ทั้งนี้ แนวโน้มการร้องเรียนจะมากขึ้น เพราะมีช่องทางการร้องเรียนผ่านระบบการสื่อสารที่มากขึ้นและยังจะเป็นคอนโดมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็น กทม.-ปริมณฑล ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน และส่วนใหญ่เกิน 50% จะเจรจาจบลงด้วยดี ส่วนที่เหลือจะเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดี

อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 หากผู้ประกอบการอสังหาฯ มีการพัฒนาโครงการขึ้นมามาก และมียอดขายที่ดี ปัญหาการร้องเรียนก็จะยิ่งมากขึ้น สำหรับชาวต่างชาติที่เป็นชาวยุโรปก็มีร้องเรียนเข้ามาเช่นกัน โดย สคบ.จะมีช่องทางการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษด้วย ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่อยู่พัทยา หัวหิน ส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับการก่อสร้างไม่เสร็จตามกำหนด

อย่างไรก็ดี สคบ.มีนโยบายที่จะนำรายชื่อผู้ประกอบการที่ถูกดำเนินคดี และมีรายชื่ออยู่บนเว็บไซต์ของ สคบ. นำมาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อประเภท ต่างๆ ด้วย เพื่อให้เป็นที่รับทราบในวงกว้าง แต่ทั้งนี้ต้องรอแก้ไขกฎหมายคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้แล้วเสร็จ เสียก่อน ขณะนี้ผ่านขั้นตอนกฤษฎีกาแล้ว ซึ่งจะนำเข้าสภาในปลายเดือน ธ.ค. 2561 นี้เพื่อรับหลักการ และตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นก็นำเข้าสภาในวาระ 2 และ 3 ต่อไป และจึงเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำพิจารณาโปรดเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้ต่อไป แต่คาดว่าจะไม่ทันรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และหากมีการเลือกตั้งในปีหน้า ซึ่งคงเสียเวลากับรัฐบาลใหม่

นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา คือ กฎหมายว่าด้วยความรับผิดจากสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง ซึ่งผ่าน ครม.แล้วอยู่ในขั้นกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค จะมีผู้มีส่วนได้เสียมาก ความคิดเห็นก็หลากหลาย ต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณา