posttoday

นายคมกฤช จันทร์ขจร รองเลขาธิการ กศน. เป็นประธานการประชุม คัดเลือกผลงานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล

20 พฤษภาคม 2565

เพื่อเป็น Best Practice ในการจัดการเรียนรู้ของสำนักงาน กศน. โดยมี นางเอื้อมพร สุเมธาวัฒนะ ผู้อำนวยการ กลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนะสกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาหลักสูตร นายกษิพัฒ ภูลังกา รักษาการ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุม ระหว่างวันที่ 19 - 20 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมบรรจง ชูสกุลชาติ ชั้น 6 สำนักงาน กศน.

ตามนโยบายขับเคลื่อนดำเนินกิจกรรม “กศน.ออนไลน์ เรียนงาน ได้ความรู้” เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการเรียนรู้  เพื่อนำพาสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญหาและสนองต่อคุณภาพชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้ผู้เรียนสามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล

นายคมกฤช จันทร์ขจร รองเลขาธิการ กศน. เป็นประธานการประชุม คัดเลือกผลงานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล

นายคมกฤช จันทร์ขจร รองเลขาธิการ กศน. กล่าวตอนหนึ่งว่า "การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ส่วนจะมีช่องทางที่จะสามารถจูงใจให้นักศึกษาเข้ามาเรียน และสามารถสร้าง Digital Content ได้ เพราะฉะนั้นส่วนกลางถือเป็นผู้จัดการศึกษา จึงต้องส่งเสริมเรื่องของการพัฒนา Digital Content เพราะในปัจจุบันโลกไม่ได้อยู่ที่คุณจะมีสิ่งปลูกสร้างสวยแค่ไหน คุณจะมีโต๊ะทำงานที่หรูหราขนาดไหน แต่อยู่ที่คุณมี Soft Skills มากน้อยเพียงใด และจะนำไปสู่การส่งเสริมครู กศน.ให้มีความสามารถในการที่จะพัฒนา Soft Skills อาจจะผ่านทางการนำเสนอบทความ เรื่องสั้น นิยาย ให้มีคุณธรรมอย่างไร ดังนั้นจึงต้องควรสร้างเงื่อนไขขึ้นมาและให้ผู้ประกวด ส่งผลงานไปช่องทาง กศน.ชาแนล ทุกคนก็จะได้เห็นภาพความเคลื่อนไหวนั้น โดยเริ่มต้นจากครู กศน.ของเราก่อน จากนั้นถึงนำไปสู่การมอบรางวัล มอบโล่ ซึ่งสามารถทำได้มากกว่าการกำหนดหัวข้อเป็น Best Practice ของ กศน. ยกตัวอย่างเช่น กำหนดหัวข้อ “ ชีวิตของครู กศน.” มาสร้างเป็นเรื่องสั้น ที่สามารถส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โดยเกิดจากการนำ Soft Skills ให้สร้างสรรค์เป็น Digital Content  เป็นต้น

นายคมกฤช จันทร์ขจร รองเลขาธิการ กศน. เป็นประธานการประชุม คัดเลือกผลงานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล

ดังนั้น ส่วนกลางจะมีการสร้างแรงจูงใจให้ครู กศน. อย่างไรให้มีการลงมือปฏิบัติ เพราะฉะนั้นจึงต้องสร้างความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางว่า Digital Content สามารถสร้างมูลค่าให้กับเราได้อย่างไร เพราะปัจจุบันยุคของ Platform ล้าสมัยแล้ว ดังจะเห็นได้ว่า Platform สามารถหาที่ไหนก็ได้ เมื่อเทียบกับ 2 ปีที่แล้ว ที่ Platform ยังมีความสำคัญ แต่ปัจจุบันนี้จะใช้ Platform เพื่อขายของออนไลน์ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ยกตัวอย่าง หลักสูตรดิจิทัลชุมชนที่มีการขายของออนไลน์ ให้เข้ากับยุคสมัย โดยจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ในยุคของดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงอยากให้สร้างรากฐานที่ดี และนำไปขยายผล โดยนำหลักเกณฑ์ในที่ประชุมในวันนี้ ตัดสินว่าผลงานชิ้นใดที่ตรงตามหลักเกณฑ์ และได้รับรางวัล ให้โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปทำขยายผลต่อยอดในอนาคต รวมถึงกระตุ้นให้ทั้งครูและนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม กศน.ชาแนล ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่จะส่งเสริมเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ความรัก ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ความกตัญญูต่อบุพการีและครอบครัว ซึ่งสามารถส่งเสริมให้ครู กศน.ได้ลงมือทำเรื่อง Digital Content ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ของเขา ให้เขาได้มีพื้นที่ในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ ใน กศน.ชาแนล เมื่อครู กศน.ได้ลงมือทำ กระบวนการของการมีส่วนร่วมก็จะเกิดขึ้นตามลำดับ ดังเช่น การริเริ่มโครงการนี้ เพื่อให้เป็นรากฐานในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ จึงให้ขยายโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง และนำไปต่อยอดในอนาคต โดยอาจประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมในการส่งผลงานเข้าประกวด โดยเนื้อหา Digital Content ที่สร้างสรรค์สังคมอย่างแท้จริง เพื่อที่จะต่อสู่กับข่าวสารที่ไม่ถูกต้องในปัจจุบัน และสำนักงาน กศน. ต้องจัดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงเท่าทันต่อโลกในยุคใหม่ เพราะโลกของยุคดิจิทัล มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา” รองเลขาธิการ กศน. กล่าว