posttoday

SACICT ดันคุณค่า งานหัตถกรรม กระจกเกรียบ งานโบราณที่เกือบหายสาบสูญ   

25 กุมภาพันธ์ 2563

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT สร้างความตระหนัก และเชิดชูคุณค่าแห่งงานศิลปหัตถกรรมที่ล้ำค่า หาชมยาก ซึ่งเป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาของไทย นำผลงาน กระจกเกรียบ จากครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2563 “รชต ชาญเชี่ยว” จัดแสดงให้ร่วมชื่นชมในงานอัตลักษณ์แห่งสยามครั้งที่ 11

งานประดับกระจกเกรียบ ที่ตกแต่งงดงาม ด้วยความระยิบระยับ และสีสันของกระจก เป็นมรดกภูมิปัญญาเชิงช่างไทยซึ่งสืบทอดมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี และยังเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เกือบสูญหายไป แต่ได้รับการนำกลับมาให้เป็นที่รู้จักอีกครั้ง ด้วยความทุ่มเท่ของ นายรชต ชาญเชี่ยว ครูช่างศิลปหัตถกรรมประจำปี 2563 จาก SACICT  ซึ่งถือเป็นช่างหุงกระจกที่ แทบหาไม่ได้แล้วในประเทศไทย  อีกทั้งยังผลักดันมุ่งให้ “งานกระจกเกรียบ” โบราณหลากสีที่เลือนหายไปแล้วกลับมามีลมหายใจเติมเต็มคุณค่างานประณีตศิลป์ไทยอย่างสง่างามขึ้นอีกครั้ง ด้วยการคิดค้นกรรมวิธีการผลิต (หรือการหุงกระจก) ด้วยตนเองทุกขั้นตอน ซึ่งลักษณะพิเศษของกระจกโบราณเหล่านี้เกิดจากภูมิปัญญาการผลิตแบบดั้งเดิมที่เรียกกันว่า ‘การหุงกระจก’ หรือกระบวนการหลอมวัสดุด้วยส่วนผสมทางเคมีต่างๆ ให้กลายเป็นน้ำกระจก โดยใช้ระยะเวลากว่า 4 ชั่วโมง ก่อนนำมาลงเบ้าหลอมอะลูมินา แล้วหุงต่อที่อุณหภูมิ 1,280 องศาเซลเซียส จนของเหลวเดือดแดงคล้ายลาวา ก็เข้าสู่กระบวนการรีดกระจกเป็นอันจบขั้นตอนสุดท้าย จนทำให้ได้กระจกเกรียบมีความบางเหมือนอย่างโบราณ มีลักษณะคล้ายข้าวเกรียบ

ปัจจุบัน ครูรชต ยังคงเป็นผู้ทำงานด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปี รวมทั้ง ได้รับการส่งเสริม สืบสานจาก SACICT ที่มุ่งให้ งานศิลปหัตถกรรมทรงคุณค่าเป็นที่รู้จัก และอยู่คู่กับประเทศไทยต่อไป

SACICT ดันคุณค่า งานหัตถกรรม กระจกเกรียบ งานโบราณที่เกือบหายสาบสูญ   

SACICT ดันคุณค่า งานหัตถกรรม กระจกเกรียบ งานโบราณที่เกือบหายสาบสูญ   

SACICT ดันคุณค่า งานหัตถกรรม กระจกเกรียบ งานโบราณที่เกือบหายสาบสูญ   

SACICT ดันคุณค่า งานหัตถกรรม กระจกเกรียบ งานโบราณที่เกือบหายสาบสูญ   

SACICT ดันคุณค่า งานหัตถกรรม กระจกเกรียบ งานโบราณที่เกือบหายสาบสูญ   

SACICT ดันคุณค่า งานหัตถกรรม กระจกเกรียบ งานโบราณที่เกือบหายสาบสูญ