posttoday

มอบโล่ 11 องค์กรผ่านการประเมินมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

03 กันยายน 2562

อพท.มอบโล่ 11 องค์กรจ.เชียงราย ผ่านการประเมินมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ยกระดับเป็น “อพท.น้อย” ปั้นท่องเที่ยวยั่งยืน

อพท.มอบโล่ 11 องค์กรจ.เชียงราย ผ่านการประเมินมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ยกระดับเป็น “อพท.น้อย” ปั้นท่องเที่ยวยั่งยืน

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผอ.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เป็นประธานเปิดพิธีและมอบประกาศนียบัตร "การส่งเสริมการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามมาตรฐาน” ให้กับ 11 องค์กรในจ.เชียงราย ที่ผ่านการประเมินมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Management Standard: STMS) หรือ “อพท. น้อย” ให้สามารถนำองค์ความรู้ไปช่วยชุมชนในพื้นที่การปกครองให้เกิดการบริหารจัดการการท่องเที่ยวได้ดียิ่งขึ้น ณ โรงแรม เดอะ ริเวอร์รี บายกะตะธานี จ.เชียงราย

มอบโล่ 11 องค์กรผ่านการประเมินมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

นายทวีพงษ์ กล่าวว่า โครงการ อพท.น้อยเกิดจากอพท. เพียงหน่วยงานไม่สามารถดำเนินงานได้ทัน กับความเปลี่ยนแปลงต่อสภาวะและผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะขยายการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไปยังองค์กรที่มีบทบาทในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล เป็นต้น จึงพัฒนามาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ STMS ให้เป็นเกณฑ์ที่ใช้พัฒนาให้แก่หน่วยงาน องค์กร ได้นำไปใช้นำไปปฏิบัติ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองในเรื่องของการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ 11 หน่วยงานที่ผ่านมาตรฐานการท่องเที่ยว หรือ STMS ได้เป็น อพท.น้อย ได้แก่ เทศบาลตําบลท่าสาย เทศบาลตําบลนางแล เทศบาลตําบลแม่ยาว เทศบาลตําบลเวียงเชียงแสน เทศบาลตําบลศรีดอนชัย เทศบาลตําบลห้วยไคร้ เทศบาลนครเชียงราย องค์การบรหารส่วนตําบลรอบเวียง องค์การบริหารส่วนตําบลห้วยไคร้ องค์การบริหารส่วนตําบลห้วยชมภู และบริษัท นิวเชียงแสน กรุ๊ป จํากัด

สำหรับ เมืองเชียงแสนเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง เป็นที่ตั้งแหล่งประวัติศาสตร์อารยธรรมก่อนล้านนาและล้านนา ที่ยังคงเหลือร่องรอยโบราณสถานให้เห็นจำนวนมาก ทั้งบริเวณเมืองเชียงแสนและแหล่งประวัติศาสตร์เชื่อมโยง สามารถเข้าถึงได้สะดวกทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และยังเชื่อมโยงทางการท่องเที่ยวกับเมืองสุวรรณโคมคำและเมืองหลวงพระบางในสปป.ลาว เมืองเชียงรุ้งในประเทศจีน และเมืองเชียงตุงในเมียนมาร์ ได้ตามเส้นทาง R3A เส้นทาง R3B และการล่องเรือแม่น้ำโขง พื้นที่ส่วนนี้จึงได้รับผลดีจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)

มอบโล่ 11 องค์กรผ่านการประเมินมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่าง อพท.น้อย กับ อพท. ที่มีอยู่เดิม คือ อพท.เดิมจะมีชุมชนเป็นเป้าหมายของการทำงาน ส่วน อพท.น้อย จะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเป้าหมายของการทำงาน เพราะ อพท. จะอบรมให้ความรู้แก่ตัวแทนที่มาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้นำชุมชน ให้มีความรู้ความเข้าใจตามมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปใช้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนท้องถิ่นต่อไป

อย่างไรก็ตามมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีเกณฑ์ 4 ด้าน ประกอบด้วย การจัดการสิ่งแวดล้อมในเมืองท่องเที่ยว แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แนวทางการส่งเสริมอาชีพให้กบประชาชน และการบริหารจัดการนักท่องเที่ยวให้กับประชาชน ผู้ที่จะผ่านการอบรมต้องมีผลการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 โดยโครงการ อพท.น้อย ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559