posttoday

เทคโนโลยีกับการลงทุน หนทางไทยหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

28 มกราคม 2566

สกสว. จัดกิจกรรมขับเคลื่อนระบบการวิจัยและนวัตกรรมของไทย เพื่อพัฒนาต่อยอดคุณภาพคนในประเทศ พร้อมชี้ว่าปัจจุบันต่างชาติให้ความสนใจในโครงการด้านวิทยาศาสตร์ การเพิ่มเม็ดเงินลงทุนด้านการวิจัยจะช่วยให้ไทยเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

เทคโนโลยีกับการลงทุน หนทางไทยหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

27 มกราคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดกิจกรรมจัดกรรมเพื่อสื่อสารบทบาทหน้าที่ของ สกสว. ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ภายใต้พันธกิจขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนานโยบายสาธารณะและสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ประเทศพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน

เทคโนโลยีกับการลงทุน หนทางไทยหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

รศ.ดร.ปัทมาวดี  โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า ปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยมีการปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมครั้งสำคัญ ทั้งในมิติของการพัฒนาระบบวิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนากำลังคน ซึ่งสกสว.รับภารกิจสำคัญในการสนับสนุน และขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมของไทยให้ครอบคลุมทุกแขนงจนสามารถนำไปประยุกติใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

เทคโนโลยีกับการลงทุน หนทางไทยหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

ในปี 2564 ตัวเลขการลงทุนด้านงานวิจัยเพิ่มขึ้นแตะ 208,010 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง 1.33% จากปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ 1.14% (ข้อมูลจากสอวช.)  ขณะที่ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดย IMD World Competitiveness Center ประจำปี 2565 เผยว่าโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของไทยขยับจากอันดับ 39 (ปี 2563) มาอยู่ที่ 38 ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตระหนักและการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และหนึ่งในปัจจัยสำคัญมาจากค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งประเทศ ซึ่งหากได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากภาครัฐ อันดับของไทยจะยิ่งพัฒนาต่อยอดไปได้อีกเรื่อยๆ

ในทางกลับกัน ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของไทยขยับมาอยู่ที่อันดับ 53 จาก 64 ประเทศ (จากเดิมในปี 2564 อยู่ที่อันดับ 56) ซึ่งถือเป็นอันดับดีที่สุดในรอบ 5 ปี ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาในประเทศมีการพัฒนา แต่ถ้าหากเทียบกับประเทศอื่นๆแล้ว ความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศเรายังถือเป็นหนึ่งในจุดอ่อนที่ต้องเร่งทุ่มงบและพัฒนา

เทคโนโลยีกับการลงทุน หนทางไทยหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

ทางสกสว.จึงวางแนวทางยุทธศาสตร์เพื่อเสริมศักยภาพและยกระดับคุณภาพประชากร ดังนี้

1.การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มี ความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม 

2.การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม 

3.การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้า ที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต

4.การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืนโดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

เทคโนโลยีกับการลงทุน หนทางไทยหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง


นอกจากนี้ สกสว.ยังชี้ว่า การพลิกโฉมประเทศไทยให้ก้าวสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีความพร้อมสำหรับโลกอนาคต การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้ไทยหลุดพ้นจากกรอบประเทศรายได้ปานกลางไปได้