posttoday

UAE สู้วิกฤตอาหารโลก นำ AI ประยุกต์ใช้ในฟาร์มเกษตรกรรม

19 กุมภาพันธ์ 2566

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถือเป็นหนึ่งในประเทศแห้งแล้ง ยากต่อการเพาะปลูก และต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศกว่าร้อยละ 90 ซึ่งผลพวงของสงครามและโรคระบาดทำให้ดินแดนอาหรับแห่งนี้กังวลว่าวิกฤตขาดแคลนอาหาร และขาดที่ดินทำกินจะมาถึงไวขึ้น

ปีที่ผ่านมา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต้องนำเข้าข้าวสาลีกว่า 1.7 ล้านเมตริกตัน โดย Sharjah เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งยังเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมนำเข้าข้าวสาลีแล้วกว่า 330,000 ตัน

UAE สู้วิกฤตอาหารโลก นำ AI ประยุกต์ใช้ในฟาร์มเกษตรกรรม

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร

ในปี 2022 ทางรัฐบาลจึงเปิดตัวฟาร์มขนาด 400 เฮกตาร์ในเมือง Mleiha ซึ่งเป็นฟาร์มที่ปลอดการใช้ยาฆ่าแมลง สารเคมี และเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม ใช้การกลั่นน้ำทะเลสำหรับการชลประทาน และปลูกข้าวสาลีเพื่อปรับปรุงความมั่นคงทางอาหาร ผลผลิตจากฟาร์มแห่งนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 1,600 ตันต่อปี ซึ่งถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ในการเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมของรัฐอ่าวอาหรับในอนาคต

ฟาร์มแห่งนี้มีการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และกล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging) เข้ามาใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลทางสภาพอากาศและดิน จากนั้นจะนำไปวิเคราะห์เพื่อควบคุมอัตราการให้น้ำและติดตามการเจริญเติบโต

UAE สู้วิกฤตอาหารโลก นำ AI ประยุกต์ใช้ในฟาร์มเกษตรกรรม

สำหรับฟาร์มในเมือง Mleiha ทางการคาดว่าจะขยายพื้นที่เพิ่มเป็น1,400 เฮกตาร์ให้ได้ภายในปี 2025 ก่อนจะขยายต่อไปเรื่อยๆให้ถึง 1,900 เฮกตาร์

Ibrahim Ramadan ผู้อำนวยการด้านการเกษตรกล่าวว่า “นี่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความพิเศษ เพราะสามารถกำหนดปริมาณการใช้น้ำสำหรับชลประทานได้ รวมถึงยังคำนวนได้อีกว่าวันพรุ่งนี้ต้องใช้น้ำจำนวนเท่าไหร่”

ทางการระบุว่า ต้นทุนด้านพลังงานในการกลั่นน้ำทะเลเพื่อการชลประทานจะอยู่ที่18,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งหากโครงการขยายใหญ่ขึ้น สัดส่วนตรงนี้จะลดลงตาม

UAE สู้วิกฤตอาหารโลก นำ AI ประยุกต์ใช้ในฟาร์มเกษตรกรรม

โครงการดังกล่าวกำลังทดลองปลูกข้าวสาลี 35 ชนิดจากทั่วโลกที่เพื่อดูว่าข้าวสาลีชนิดใดบ้างสามารถเจริญเติบโตและเข้ากันได้กับดินและสภาพอากาศของประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม COP28 ซึ่งกระบวนการผลิตอาหาร การรีไซเคิลน้ำและลดของเสียให้ได้มากที่สุด ถือเป็นเรื่องที่เจ้าภาพวางแผนไว้ว่าจะนำเสนอในที่ประชุม

UAE สู้วิกฤตอาหารโลก นำ AI ประยุกต์ใช้ในฟาร์มเกษตรกรรม

สงคราม พลังงาน เงินเฟ้อ สู่วิกฤตปากท้อง

หลังรัสเซียเปิดหน้ารุกรานยูเครนแบบเต็มสูบ นโยบายกีดกันทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับประเทศต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้วิกฤตอาหารโลกเลวร้ายยิ่งกว่าเดิมจากข้อจำกัดทางการค้า

ข้อมูลในเดือน ธันวาคม 2022 ชี้ว่า มี 19 ประเทศที่ได้ดำเนินการห้ามส่งออกอาหารถึง 23 ชนิด ส่วนอีก  8 ประเทศได้ดำเนินมาตรการจำกัดการส่งออก 12 ชนิด

รายงานจาก Global Report on Food Crisis 2022 Mid-Year Update คาดว่าจะมีประชาชนถึง 205 ล้านคนต้องเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างรุนแรง และต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนใน 45 ประเทศ

นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารในประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางยังส่งผลให้ประชากรเข้าถึงอาหารได้น้อยลงจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดได้แก่ แอฟริกา อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา เอเชียใต้ ยุโรป และเอเชียกลาง

ขณะที่องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อปกป้องเด็กที่อ่อนแอที่สุดใน 15 ประเทศซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตอาหารและโภชนาการอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน